ฟอร์จูนทาวน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟอร์จูนทาวน์
ฟอร์จูนทาวน์ logo
แผนที่
ที่ตั้ง1,3,5,7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
เปิดให้บริการพ.ศ. 2534 (ฟอร์จูนอาร์เขต, เยาฮัน)
พ.ศ. 2542 (ไอทีมอลล์ ฟอร์จูน, โลตัส)
26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (บูรณะส่วนศูนย์การค้าทั้งหมด)
ผู้บริหารงานกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซี.พี.ทาวเวอร์ โกรท
จำนวนชั้น2 ชั้น (ห้างสรรพสินค้าโลตัส ชั้น 1-2)
7 ชั้น (พื้นที่จอดรถ ชั้น 4-10)
5 ชั้น (พลาซา ชั้น G-4)
ขนส่งมวลชน สถานีพระราม 9
เว็บไซต์www.fortunetown.co.th

ฟอร์จูนทาวน์ (อังกฤษ: Fortune Town) เป็นศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน และโรงแรมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่หัวมุมถนนรัชดาภิเษก ติดถนนอโศก-ดินแดง และตรงข้ามกับเซ็นทรัล พระราม 9 เป็นทั้งศูนย์การค้า และศูนย์ไอทีแบบครบวงจรแห่งเดียวบนถนนรัชดาภิเษก ภายใต้การบริหารงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมีแนวคิด "ศูนย์กลางแห่งวิวัฒนาการเทคโนโลยีชั้นสูง" แห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ แต่เดิมเป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมถนนรัชดาภิเษก ประกอบไปด้วย 4 ส่วนสำคัญคือ ส่วนโรงแรมที่ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า โรงแรมฟอร์จูน ก่อนจะเปลี่ยนมาบริหารโดย แกรนด์เมอร์เคียว ในกลุ่ม Accor Hotel ส่วนอาคารสำนักงานที่รู้จักกันในชื่อ ซีพีทาวเวอร์ 2 ส่วนพลาซา เป็นพลาซาขนาดกลาง และส่วนห้างสรรพสินค้าที่บริหารงานโดย เยาฮัน แต่พอหลังจากเยาฮันถอนตัวออกไป ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ. 2540 ที่ขณะนั้นเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซีพีแลนด์จึงทำการปรับปรุงชั้น 2 - 4 ของศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ใหม่ และเปิดขึ้นในชื่อ "ไอทีมอลล์ ฟอร์จูนทาวน์" หลังจากนั้นโลตัสก็ได้เข้ามาเปิดทำการตามมา

ปัจจุบันศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ได้แบ่งพื้นที่ในการบริหารงานใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งได้เป็นดังนี้

  • IT Mall (ร้อยละ 70) ศูนย์รวมร้านค้าไอที อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี ครบวงจรและทันสมัยครบทุกการเชื่อมต่อ ร้านค้าจึงหลากหลายชั้น
  • Food Mall (ร้อยละ 12) ศูนย์รวมอาหารและเครื่องดื่มรสเลิศหลากสไตล์ พร้อมบรรยากาศที่มีเอกลักษณ์ ส่วนผสมระหว่าง Inter Brand กับเอกลักษณ์เฉพาะตัวของรสชาติและบริการ ลูกค้าจึงจะเห็น สินค้าที่โดดเด่นถึงรสชาติและบริการ
  • Lifestyle Mall (ร้อยละ 18) ศูนย์รวมร้านค้าตอบโจทย์ลีลาชีวิต อาทิ แฟชั่น สุขภาพ ความงาม สถาบันการศึกษา ความบันเทิง ฯลฯ

หลังจากนั้นไม่นานซีพีแลนด์ก็ได้เปิดตัวรูปแบบใหม่ของฟอร์จูนทาวน์ในความคิด IT Lifestyle Mall และก็ได้เริ่มทำการปรับปรุงศูนย์การค้าใหม่ทั้งหมดเรื่อยมา โดยเริ่มต้นจากบริเวณกล้องดิจิทัลและโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากนั้นก็ได้ปรับปรุงในส่วนไอทีมอลล์ใหม่ทั้งหมด จนกระทั่งสุดท้ายก็ได้ปรับปรุงด้านหน้าศูนย์การค้าใหม่ทั้งศูนย์ รวมไปถึงส่วนโรงแรมด้วย ปัจจุบันปรับปรุงในส่วนศูนย์การค้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงส่วนโรงแรมที่ยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

ฟอร์จูนทาวน์ ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • โลตัส สาขาฟอร์จูนทาวน์
  • ซีพี ฟู้ดมาร์เก็ต
  • เซเว่น อีเลฟเว่น
    • ออลคาเฟ่ โดยเซเว่น
  • ไอทีซิตี้
  • อาคารสำนักงานซีพีทาวเวอร์ 2
  • โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน กรุงเทพ

พื้นที่ในอดีต[แก้]

การคมนาคม[แก้]

1.ถนนรัชดาภิเษก

  • 73: อู่สวนสยาม-สะพานพุทธ
  • 136: อู่คลองเตย-อู่หมอชิต 2
  • 137: วงกลมรัชดาภิเษก-รามคำแหง
  • 179: อู่พระราม 9-ท่าเรือพระราม 7
  • 185: อู่รังสิต-อู่คลองเตย
  • 206: อู่เมกาบางนา-รพ.วิภาวดี
  • 514: อู่มีนบุรี-สีลม
  • 517: อู่กำแพงเพชร-สจล.
  • 529E / 4-29E: วัดพันท้ายนรสิงห์-สถานีขนส่งหมอชิต 2

2.ถนนพระราม 9

  • 34E / 1-2E (TSB): หมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปี-กองบินตำรวจ(ทางด่วน)-หัวลำโพง
  • 73: อู่สวนสยาม-สะพานพุทธ
  • 168: อู่สวนสยาม-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เกาะดินแดง)
  • 514: อู่มีนบุรี-สีลม
  • 517 / 1-56 (TSB): สจล. (คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม)-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เกาะดินแดง)
  • 555 / S6 (TSB): สถานีดับเพลิงสุวรรณภูมิ-สถานีขนส่งหมอชิต 2
  • 1-63: โรงเรียนเบญจมินทร์-สวนหลวงพระราม 8
  • 3-26E: สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-องค์การเภสัชกรรม
  • 3-55: ซอยจรัญสนิทวงศ์ 95/2-ท่าเรือคลองเตย

3.ถนนอโศก-ดินแดง

  • 136: อู่คลองเตย-อู่หมอชิต 2
  • 185: อู่รังสิต-อู่คลองเตย
  • 206: อู่เมกาบางนา-รพ.วิภาวดี
  • 3-55: ซอยจรัญสนิทวงศ์ 95/2-ท่าเรือคลองเตย