สถานีเตาปูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตาปูน
Tao Poon
MRT (Bangkok) Purple logo.svg  MRT (Bangkok) logo.svg
Tao Poon stn. 2018 JAN.jpg
สถานีเตาปูน
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (สายสีม่วง)
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สายสีน้ำเงิน)
สาย สายฉลองรัชธรรม 
 สายเฉลิมรัชมงคล 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี
แขวง/ตำบลบางซื่อ
เขต/อำเภอบางซื่อ
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลา สายฉลองรัชธรรม  เกาะกลาง
 สายเฉลิมรัชมงคล  ด้านข้าง
(ชานชาลาต่างระดับ)
จำนวนชานชาลา4
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีMRT PP16.svg (สายสีม่วง) MRT BL10.svg (สายสีน้ำเงิน)
ทางออก4
บันไดเลื่อน22
ลิฟต์5
เวลาให้บริการ06:00–24:00 น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (สายสีม่วง)
11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (สายสีน้ำเงิน)
ที่ตั้ง
Map
แผนที่จากเว็บไซต์บีอีเอ็ม

สถานีเตาปูน (อังกฤษ: Tao Poon station; รหัส: PP16/BL10) เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับเหนือทางแยกเตาปูน (จุดตัดระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 2 กับถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี) เป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้ามหานคร 2 สาย ได้แก่ คือสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางรถไฟฟ้า (interchange station) เพียงสถานีเดียวระหว่างเส้นทางรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 2 สายในปัจจุบัน เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อให้บริการเฉพาะสายสีม่วง และเปิดให้บริการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ–เตาปูน และวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ท่าพระ

ในอนาคต หลังการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน สถานีเตาปูนจะเป็นสถานีที่สามารถโดยสารรถไฟฟ้าไปยังปลายทางได้ทั้ง 4 ทิศทาง ได้แก่ ท่าพระ–หลักสอง (สายสีน้ำเงิน) และคลองบางไผ่–ครุใน (สายสีม่วง)

ประวัติ[แก้]

ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการสถานีเตาปูน (6 สิงหาคม พ.ศ. 2559 – 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560) รถไฟฟ้าสายสีม่วงเป็นรถไฟฟ้าที่ไม่มีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังคงเปิดให้บริการเดินรถในช่วงหัวลำโพง–บางซื่อ และส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ท่าพระ ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าเพื่อเดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานครชั้นใน จำเป็นต้องโดยสารรถโดยสารปรับอากาศเชื่อมต่อ (shuttle train) ที่ ขสมก. ให้บริการ ระหว่างสถานีเตาปูนถึงสถานีบางซื่อ หรือรถไฟสปรินเทอร์เชื่อมต่อ (shuttle train) ที่ รฟท. ให้บริการ (เฉพาะช่วงเวลาเร่งด่วน วันจันทร์–วันเสาร์) ระหว่างสถานีบางซ่อน (ที่หยุดรถไฟบางซ่อนของ รฟท.) – สถานีบางซื่อ (สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ของ รฟท.)[1]

จนกระทั่งวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในขณะนั้นได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557[2][3] ให้ดำเนินการเร่งรัดการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ–เตาปูน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร โดยให้ รฟม. เจรจาร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ให้เป็นผู้เดินรถตลอดสาย และได้เปิดให้บริการในระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 นับจากวันนั้น สถานีเตาปูนก็ได้กลายเป็นสถานีปลายทางของระบบรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 2 สายในปัจจุบัน โดยผู้โดยสารสามารถเดินทางต่อเนื่องได้ทันที โดยไม่ต้องแตะบัตรโดยสารออกจากระบบ จึงได้ยกเลิกรถไฟสปรินเทอร์เชื่อมต่อเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 และยกเลิกรถโดยสารปรับอากาศเชื่อมต่อเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ในช่วง พ.ศ. 2560–2562 สถานีเตาปูนเคยทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) แทนสถานีบางซื่อ แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางอีกต่อไป เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดใช้งาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงเตาปูน-ท่าพระ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562 แต่ทั้งนี้ สถานีเตาปูนยังคงทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางสำหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ต่อไป จนกว่าการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ จะแล้วเสร็จ

ที่ตั้ง[แก้]

ทางแยกเตาปูน (จุดบรรจบระหว่างถนนประชาราษฎร์ สาย 2 กับถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี) ในพื้นที่แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

ป้ายสถานีรถไฟฟ้า MRT เตาปูน (สายสีน้ำเงิน)
ป้ายสถานีรถไฟฟ้า MRT เตาปูน (สายสีม่วง)
U4
ชานชาลาสายสีม่วง
ชานชาลา 3  สายฉลองรัชธรรม  มุ่งหน้า สถานีคลองบางไผ่ (15:00–23:24 น.)
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4  สายฉลองรัชธรรม  มุ่งหน้า สถานีคลองบางไผ่ (06:00–15:00 น.)
U3
ชานชาลาสายสีน้ำเงิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีบางโพสถานีสิรินธรสถานีท่าพระ
(มุ่งหน้าสถานีปลายทางท่าพระ)
ชานชาลา 1  สายเฉลิมรัชมงคล  มุ่งหน้า สถานีบางซื่อสถานีเพชรบุรีสถานีสุขุมวิท
(มุ่งหน้าสถานีปลายทางหลักสอง)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, ป้ายรถตู้รับส่ง เกตเวย์ แอท บางซื่อ, ตลาดสดมณีพิมาน

เนื่องจากสถานีเตาปูนทำหน้าที่เป็นทั้งสถานีชุมทางสำหรับตัดระยะในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า (เฉพาะวันจันทร์–ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 07:00–09:00 น.) ของสายสีน้ำเงิน[4] และสถานีปลายทางสำหรับสายสีม่วง การใช้งานสถานีจึงมีการบริหารจัดการดังต่อไปนี้

  • ชานชาลาสายสีน้ำเงิน เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีเตาปูน และสถานีท่าพระ เฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีเตาปูน จะใช้ชานชาลาที่ 2 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีท่าพระ จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถขบวนถัดไปที่ชานชาลาฝั่งตรงข้าม
  • ชานชาลาสายสีม่วง เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง เมื่อขบวนรถจากสถานีคลองบางไผ่มาถึงสถานีเตาปูนแล้ว ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากสถานีรายทางจะต้องลงจากขบวนรถทั้งหมด และเนื่องจากเป็นชานชาลาเกาะกลาง ผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองบางไผ่จะใช้ชานชาลาร่วมกับผู้โดยสารจากสถานีรายทาง โดยผู้โดยสารที่จะโดยสารไปยังสถานีคลองบางไผ่จะต้องรอจนกว่าผู้โดยสารจากสถานีรายทางลงจากขบวนรถทั้งหมด และรอให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบสภาพของรถไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จะปรับรูปแบบการเดินรถเทียบชานชาลาเป็นช่วงเวลา ดังนี้ เวลา 06:00–15:00 น. ขบวนรถจะจอดรับ-ส่ง ที่ชานชาลาหมายเลข 4 และเวลา 15:00–23:24 น. ขบวนรถจะจอดรับ-ส่ง ที่ชานชาลาหมายเลข 3 [5]

รายละเอียดสถานี[แก้]

รูปแบบ[แก้]

เป็นสถานีลอยฟ้า โดยชานชาลาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเป็นชานชาลากลาง (station with central platform) ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะเป็นชานชาลาแบบข้าง (station with side platform) โดยชานชาลาของรถไฟฟ้าทั้งสองสายจะวางในแนวตั้งฉากกันตามทิศทางการเดินรถไฟฟ้าทั้งสองสาย

ทางเข้า-ออก[6][7][แก้]

  • 1 ซอยนำชัย, ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ฝั่งมุ่งหน้าทางแยกบางโพ (ลิฟต์)
  • 2 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 1 (ลิฟต์)
  • 3 ซอยกรุงเทพฯ-นนทบุรี 2, ตลาดมณีพิมาน (ลิฟต์)
  • 4 ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 ฝั่งมุ่งหน้าทางแยกประชาชื่น

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย

  • 4 ชั้นชานชาลาที่ 3 และ 4 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • 3 ชั้นชานชาลาที่ 1 และ 2 สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเฉลิมรัชมงคล
ชานชาลาที่ 1
MRT BL38.svg หลักสอง
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์–ศุกร์ 05:56 23:30
เสาร์–อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:53 23:30
ชานชาลาที่ 2
MRT BL01.svg ท่าพระ จันทร์–ศุกร์ 05:56 00:07
เสาร์–อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:59 00:07
สายฉลองรัชธรรม
ชานชาลาที่ 3 และ 4
MRT PP01.svg คลองบางไผ่ จันทร์–ศุกร์ 06:02 23:19
เสาร์–อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
06:18 23:24

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

  • ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ฝั่งไปทางแยกประชาชื่น) สาย 50 65 66 97
  • ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 (ฝั่งไปทางแยกบางโพ) สาย 16 30 66 505
  • ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี สาย 16 30 50 65 97 505

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วันนี้ที่รอคอย! "รถไฟฟ้าสายสีม่วง" ความหวังใหม่ของคนชานเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-07. สืบค้นเมื่อ 2019-07-07.
  2. "คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 78/2559 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-10. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |year= (help)
  3. ‘บิ๊กตู่’ใช้ ม.44 ไฟเขียวจ้างเดินรถขาดช่วงเตาปูน-บางซื่อ ได้ทันที
  4. รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน แจ้งรูปแบบการให้บริการเดินรถไฟฟ้า[ลิงก์เสีย]
  5. ประชาสัมพันธ์ การปรับรูปแบบการใช้งานชานชาลาสถานีเตาปูน สายสีม่วง , สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2563
  6. "แผนผังสถานีเตาปูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.
  7. "รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 2020-04-20.

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีบางซ่อน
มุ่งหน้า สถานีคลองบางไผ่
   สายฉลองรัชธรรม    สถานีปลายทาง
สถานีบางโพ
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
   สายเฉลิมรัชมงคล    สถานีบางซื่อ
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง