บุหรี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุหรี่สมัยใหม่สองมวน โดยมวนบนถูกจุดและเผาไหม้ไปแล้ว

บุหรี่หมายถึงทรงกระบอกที่ภายในบรรจุวัตถุติดไฟ ซึ่งส่วนใหญ่คือใบยาสูบ ห่อด้วยกระดาษบาง เพื่อใช้สำหรับการสูบบุหรี่ บุหรี่นั้นจุดที่ปลายฝั่งหนึ่งซึ่งจะเกิดการเผาไหม้โดยช้าโดยปราศจากเปลวเพลิง (smolder) ทำให้ควันจากบุหรี่ถูกดูดกลืนเข้าไปผ่านทางปากจากปลายอีกฝั่งหนึ่ง การสูบบุหรี่เป็นวิธีการบริโภคใบยาสูบที่เป็นที่นิยมมากที่สุด บุหรี่ต่างจากซิการ์ด้วยลักษณะของบุหรี่ที่มักมีขนาดเล็กกว่า มักใช้ใบยาสูบที่ผ่านกระบวนการแล้ว และวิธีการห่อด้วยกระดาษซึ่งมักเป็นสีขาว บุหรี่ส่วนใหญ่ในยุคสมัยใหม่มีไส้กรอง ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อการกรองสารเคมีอันตรายและสารก่อมะเร็ง

รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของบุหรี่มีลักษณะคล้ายกันกับซิการ์ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนบุหรี่ มีหลักฐานปรากฏการสูบบุหรี่ในเม็กซิโกและอเมริกากลางย้อนไปถึงอย่างน้อยศตวรรษที่ 9 ในรูปของท่อเพื่อสูบควัน อารยธรรมมายาและแอซเท็กสูบใบยาสูบและสารมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทเพื่อประโยชน์ในพิธีกรรมทางศาสนา ในภาพแกะสลักโบราณมักปรากฏผู้นำศาสนาหรือเทพเจ้าสูบบุหรี่[1] ภายในทศวรรษ 1830 บุหรี่ได้เข้ามาถึงฝรั่งเศสและได้รับชื่อเรียกว่า cigarette ซึ่งคำนี้ต่อมาถ่ายทอดไปในภาษาอังกฤษในทศวรรษ 1840s[2]

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าบุหรี่มีผลกระทบต่อสุชภาพ อันตรายเหล่านี้เกิดมาจากสารเคมีอันเป็นพิษจำนวนมากที่พบในใบยาสูบตามธรรมชาติ ไปจนถึงที่เกิดขึ้นในควันจากการเผาไหม้ของใบยาสูบ[3] สารเคมีนิโคติน ซึ่งเป็นสารมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทตัวหลักในบุหรี่ มีฤทธิ์ทำให้เกิดการเสพติดอย่างรุนแรงซึ่งทำให้เกิดการเสพติดบุหรี่[4] เช่นเดียวกับยาเสพติด บุหรี่ "ถูกสร้างมาเพื่อให้เสพติด" (strategically addictive) โดยมีคุณสมบัติความเสพติดเป็นองค์ประกอบหลักในแผนธุรกิจของผู้ผลิตบุหรี่[5] ผู้สูบบุหรี่ราวครึ่งหนึ่งเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องมาจากการสูบบุหรี่[6][7][8] การสูบบุหรี่เป็นพิษต่อแทบทุกอวัยวะของร่างกาย และโดยส่วนมากนำไปสู่โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ[9] ตับ ปอด นอกจากนี้ บุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดหัวใจล้มเหลว, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง (COPD) และมะเร็ง[9][10][11][12][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Robicsek, Francis Smoke; Ritual Smoking in Central America pp. 30–37
  2. Oxford English Dictionary, s.v.
  3. Centers for Disease Control and Prevention. (March 5, 2018). 2014 SGR: The Health Consequences of Smoking—50 Years of Progress. Retrieved November 25, 2019, from Centers for Disease Control and Prevention website: https://www.cdc.gov/tobacco/data_statistics/sgr/50th-anniversary/index.htm เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Why is it so hard to quit?". Heart.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2012. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012.
  5. Day, Ruby. "Strategically Addictive Drugs". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2020. สืบค้นเมื่อ September 4, 2020.
  6. Doll, R.; Peto, R.; Boreham, J.; Sutherland, I. (2004). "Mortality in relation to smoking: 50 years' observations on male British doctors". BMJ (Clinical Research Ed.). 328 (7455): 1519. doi:10.1136/bmj.38142.554479.AE. PMC 437139. PMID 15213107.
  7. World Health Organization. (July 26, 2019). Tobacco. Retrieved November 25, 2019, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tobacco เก็บถาวร กรกฎาคม 9, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 29, 2009. สืบค้นเมื่อ November 13, 2009.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 Benowitz, Neal L. (June 17, 2010). "Nicotine Addiction". The New England Journal of Medicine. 362 (24): 2295–2303. doi:10.1056/NEJMra0809890. ISSN 0028-4793. PMC 2928221. PMID 20554984.
  10. "WHO Framework Convention on Tobacco Control" (PDF). World Health Organization. February 27, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 6, 2005. สืบค้นเมื่อ January 12, 2009. Parties recognize that scientific evidence has unequivocally established that exposure to tobacco has the potential to cause death, disease and disability
  11. Office on Smoking Health (US) (June 27, 2006). "The Health Consequences of Involuntary Exposure to Tobacco Smoke: A Report of the Surgeon General". Surgeon General of the United States. PMID 20669524. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2017. สืบค้นเมื่อ June 16, 2014. Secondhand smoke exposure causes disease and premature death in children and adults who do not smoke
  12. Board (June 24, 2005). Proposed Identification of Environmental Tobacco Smoke as a Toxic Air Contaminant (Report). California Environmental Protection Agency. สืบค้นเมื่อ January 12, 2009 – โดยทาง University of California San Francisco: Center for Tobacco Control Research and Education.
  13. Tobacco Smoke and Involuntary Smoking (PDF). International Agency for Research on Cancer. 2004. ISBN 9789283215837. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2018. สืบค้นเมื่อ January 12, 2009. There is sufficient evidence that involuntary smoking (exposure to secondhand or 'environmental' tobacco smoke) has the potential to cause lung cancer in humans