สถานีมักกะสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีมักกะสัน (อังกฤษ: Makkasan Station) เป็นสถานีรถไฟทางไกลสายตะวันออก, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์, รถไฟฟ้าเอราวัน และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

สถานีรถไฟทางไกล สถานีมักกะสัน[แก้]

มักกะสัน

Makkasan
สถานีระดับที่ 1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งแขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย
พิกัด13°44′55″N 100°32′51″E / 13.7485°N 100.5474°E / 13.7485; 100.5474พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′55″N 100°32′51″E / 13.7485°N 100.5474°E / 13.7485; 100.5474
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย สายตะวันออก 
ชานชาลา3
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี3001 (มส.)
มักกะสัน
MAKKASAN
กิโลเมตรที่ 5.17
ราชปรารภ
Ratchaprarop
–0.58 กม.
อโศก
A Soke
+1.81 กม.
แม่น้ำ
Mea Nam
+4.60 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก

สถานีรถไฟมักกะสัน หรือสถานีรถไฟชุมทางมักกะสัน ตั้งอยู่ที่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออก

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

เที่ยวล่อง[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง มักกะสัน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ธ275 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 05.55 06.19 ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก 11.17
ธ285 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 07.15 ชุมทางฉะเชิงเทรา 08.56 บชส.76-เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์
ธ283 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 06.55 07.15 บ้านพลูตาหลวง 11.20 เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์
ธ281 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 08.00 08.15 กบินทร์บุรี 11.35
ธ367 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 10.10 10.28 ชุมทางฉะเชิงเทรา 11.45
พช389 กรุงเทพ (หัวลําโพง) 12:10 12.26 ชุมทางฉะเชิงเทรา 13:30 กซข.74-มีเดินทุกวัน
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์/รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สถานีมักกะสัน[แก้]

มักกะสัน
Makkasan
ARLbangkok.svg SRT Bangkok Commuter Rail Light Red Line Logo.svg
Bangkok City Air Terminal (I).jpg
สถานีมักกะสัน
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด
สาย สายซิตี้ 
 สายนครวิถี 
 สายเฉลิมรัชมงคล 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ทางรถไฟสายตะวันออก
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน (โครงการ)
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถไฟฟ้าสายสีฟ้า (โครงการ)
เรือโดยสารคลองแสนแสบ
ถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง)
เขต/อำเภอเขตราชเทวี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างอาคารผู้โดยสาร
รูปแบบชานชาลาด้านข้างแบบคู่ขนาน (HST และ Airport Express: เปิดซ้าย / City Line: เปิดขวา)
จำนวนชานชาลา4
(ปัจจุบันใช้งาน 2)
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีA6
ทางออก2
ลิฟต์3
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00 น.
ประวัติ
เปิดให้บริการ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์   สถานีต่อไป
สถานีราชปรารภ
มุ่งหน้า สถานีพญาไท
   แอร์พอร์ต เรล ลิงก์    สถานีรามคำแหง
มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สถานีกลางบางซื่อ
มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง
   HSR เชื่อม 3 สนามบิน    สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้ามหานคร   สถานีต่อไป
สถานีสุขุมวิท
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
   สายเฉลิมรัชมงคล เชื่อมต่อที่ สถานีเพชรบุรี   สถานีพระราม 9
มุ่งหน้า สถานีท่าพระ
(ผ่านสถานีบางซื่อ)
สถานีก่อนหน้า   เรือโดยสารคลองแสนแสบ   สถานีต่อไป
ท่า มศว ประสานมิตร
ปลายทาง ท่าวัดศรีบุญเรือง
  วัดศรีบุญเรือง - ประตูน้ำ
เชื่อมต่อที่ ท่าอโศก
  ท่านานาชาติ
ปลายทาง ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
ที่ตั้ง
Map
หมายเหตุ
ARL A6 Traditional station sign.svg
ชานชาลาที่ 1 ของรถไฟฟ้า AERA1 City มุ่งหน้าสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ภายในอาคารผู้โดยสาร สถานีมักกะสัน

สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (อังกฤษ: City Air Terminal, รหัส: A6) หรือ สถานีมักกะสัน เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) และในอนาคตจะยังเป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายเชื่อมระหว่างเมือง (Standard Line) และแอร์พอร์ตเอ็กซ์เพรส (Airport Express) ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ก่อนเดินทางไปทางทิศตะวันออกผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและไปสิ้นสุดที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา สถานีแห่งนี้เป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯ ที่มีจอแสดงผลข้อมูลเที่ยวบินตรงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิติดตั้งอยู่ และเป็นสถานีที่ผู้โดยสารสามารถมาเช็คอินและโหลดกระเป๋าได้

ที่ตั้ง[แก้]

บนแนวเส้นทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก ถัดจากสถานีรถไฟมักกะสัน และสถานีราชปรารภ บริเวณจุดตัดถนนกำแพงเพชร 7 กับถนนรัชดาภิเษก (อโศก-ดินแดง) ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

U4
ชานชาลา
ชานชาลา 1  แอร์พอร์ต เรล ลิงก์  มุ่งหน้า สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ชานชาลา 3, ชานชาลาด้านข้าง, HSR เชื่อม 3 สนามบิน ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1, ชานชาลาด้านข้าง, รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 3  HSR เชื่อม 3 สนามบิน  ไม่ได้ใช้งาน
ชานชาลา 4  HSR เชื่อม 3 สนามบิน  ไม่ได้ใช้งาน
ชานชาลา 4, ชานชาลาด้านข้าง, HSR เชื่อม 3 สนามบิน ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2, ชานชาลาด้านข้าง, รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 2  แอร์พอร์ต เรล ลิงก์  มุ่งหน้า สถานีพญาไท
U3
ชั้นขาออก
ชั้นขายบัตรโดยสาร ศูนย์บริการผู้โดยสาร, สถานีตำรวจรถไฟสุวรรณภูมิ
 HSR เชื่อม 3 สนามบิน 
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, จุดตรวจบัตรโดยสารการบิน, จุดจำหน่ายบัตรโดยสารการบิน
 แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 
ทางออก 1-4, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีเพชรบุรี
U2
ชั้นขาเข้า
- ทางออกสำหรับผู้โดยสาร HSR สายเชื่อมสนามบิน, จุดรับส่งผู้โดยสาร, ร้านค้า, ห้องกิจกรรม City Terminal Hall
G
ระดับถนน
- ทางออก 1-2, จุดรับส่ง (Drop-Off), ลานจอดรถยนต์
B
ชั้นใต้ดิน
- ลานจอดรถยนต์

ในแผนเดิมของระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สถานีมักกะสันจะเชื่อมต่อกับสถานีเพชรบุรีของรถไฟฟ้ามหานครที่ชั้น UB ของตัวอาคาร แต่เนื่องจากเมื่อสำรวจเส้นทางแล้ว พบว่าเส้นทางดังกล่าว มีท่อส่งน้ำมันของปตท. ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ท่อน้ำประปาของการประปานครหลวง และท่อน้ำทิ้งลงคลองแสนแสบของกรุงเทพมหานคร ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรื้อย้ายจากจุดเดิมเพื่อก่อสร้างสถานีเพชรบุรี ขวางอยู่จึงทำให้การขุดเจาะทางเชื่อมเข้าตัวสถานีรถไฟฟ้ามหานครไม่สามารถทำได้ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้เปลี่ยนแผนจากเดิมมาเป็นการก่อสร้าง Skywalk ระยะทาง 166 เมตร จากชั้น U3 ของสถานีฝั่ง City Line ไปสิ้นสุดที่ สถานีเพชรบุรี ทางออก 1 บริเวณลานจอดแล้วจรของสถานี โดยทางเชื่อมดังกล่าวแล้วเสร็จเปิดอย่างไม่เป็นทางการวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  • ลิฟต์ สำหรับผู้พิการและผู้โดยสาร จากชั้นใต้ดินและชั้นลานจอดรถ ไปยังชั้นผู้โดยสารขาออกและผู้โดยสารขาเข้าจำนวน 2 จุด
  • สะพานทางเชื่อมจากทางออก 2 ของสถานีซิตี้ไลน์ ไปยังฝั่งคอนโดมิเนียมไลฟ์ อโศก และสถานีเพชรบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน
  • ลานจอดรถ 500 คัน รองรับการจอดรถทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  • พื้นที่จัดกิจกรรม ซิตี้เทอร์มินัลฮอลล์ โดยใช้ประโยชน์จากชั้นอาคารผู้โดยสารขาเข้าที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน
  • เดิมมีแผนพัฒนาร้านค้าและศูนย์อาหารภายในอาคารหลัก แต่ปัจจุบันได้ยุติแผนดังกล่าว เหลือเพียงการพัฒนาร้านค้าในสถานีซิตี้ไลน์

จุดเช็คอินภายในเมือง[แก้]

ผู้โดยสารที่ต้องการต่อเครื่องบินเพื่อเดินทางภายในหรือต่างประเทศ สามารถเช็คอินได้ที่จุดเช็คอิน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของทางเข้าชานชาลาสาย Express Line โดยในช่วงแรกมีจุดเช็คอินของการบินไทย (TG) และการบินไทยสมายล์(WE) ให้บริการ ผู้โดยสารสามารถทำการเช็คอินไฟลต์บินทุกไฟลต์และโหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องของการบินไทยได้ที่นี่ยกเว้น เที่ยวบินที่จะไปสหรัฐอเมริกา (LAX) ผู้โดยสารที่มีน้ำหนักของกระเป๋าเกินขนาด ผู้โดยสารที่ต้องการขอความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และผู้โดยสารที่ต้องการเช็คอินไฟลต์ต่อเนื่องโดยเริ่มต้นจากไฟลต์ของการบินไทย ผู้โดยสารเหล่านี้จะต้องไปเช็คอินที่จุดเช็คอินในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเช่นเดิม โดยจุดเช็คอินที่สถานีจะเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 9:00 น. - 17:00 น. และจะปิดจุดเช็คอินก่อนเครื่องออก 3 ชั่วโมงเพื่อให้เดินทางไปถึงเกทได้ทัน และสามารถเช็คอินเที่ยวบินช่วงกลางคืน (ตั้งแต่ 0:00 น. - 1:20 น.) ได้ทุกเที่ยวบิน แต่เที่ยวบินตั้งแต่เวลา 5:00 น. - 9:50 น. จะไม่สามารถเช็คอินที่มักกะสันได้

ทั้งนี้ ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเป็นจำนวนเงิน 150 บาท ไม่ว่าจะเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยวิธีใดก็ตาม แม้กระทั่งไม่ขึ้นรถไฟฟ้าไป โดยผู้โดยสารจะต้องซื้อเหรียญโดยสารที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารและขอรับใบเสร็จก่อน จากนั้นให้นำใบเสร็จพร้อมเอกสารไปทำการเช็คอิน ผู้โดยสารจะได้รับใบเสร็จที่ประทับตราของสายการบินเสร็จสิ้นพร้อม Boarding Pass เมื่อการเช็คอินเสร็จสิ้นทั้งหมดแล้ว ผู้โดยสารจะต้องหยอดเหรียญเข้าระบบทันที แล้วเลือกว่าจะขึ้นรถไฟฟ้า หรือขอประทับตรา Re-Entry ในใบเสร็จ เพื่อที่จะสามารถเข้าระบบผ่านสวิงเกตได้อีกครั้ง แต่สำหรับผู้ที่มีบัตรโดยสาร ARL SmartPass ผู้โดยสารจะต้องแตะบัตรเพื่อให้ระบบหักเงินในบัตร 150 บาทก่อน แล้วจึงขอรับคูปองที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารเพื่อนำไปดำเนินการเช็คอินต่อไป

ปัจจุบัน จุดเช็คอินดังกล่าวได้ปิดทำการไปพร้อม ๆ กับการยุติการให้บริการสาย Express Line โดยภายหลังการเสร็จสิ้นการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน มีแผนฟื้นฟูจุดเช็คอิน และเปิดทำการใหม่อีกครั้ง เพื่อรองรับการเช็คอินไฟลต์บินของทั้งสามท่าอากาศยาน

ทางเข้า-ออก[แก้]

สถานีรถไฟธรรมดา
สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยาน
  • 1 ถนนอโศก-ดินแดง, ถนนรัชดาภิเษก
  • 2 ถนนจตุรทิศ, ทางพิเศษศรีรัช

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายเชื่อมท่าอากาศยาน
ชานชาลาที่ 1
A1 สุวรรณภูมิ จันทร์ - ศุกร์ 05:33 00:03
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:33 00:11
ชานชาลาที่ 2
A8 พญาไท จันทร์ - ศุกร์ 05:52 00:24
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
05:52 00:30

สถานีรถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี สถานีมักกะสัน[แก้]

สถานีมักกะสัน (อังกฤษ: Makkasan; รหัสสถานี: RE04) เป็นสถานีรถไฟยกระดับในเส้นทาง รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถีและเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Missing link สายสีแดง

มักกะสัน
Makkasan
SRT Bangkok Commuter Rail Light Red Line Logo.svg
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
สาย สายนครวิถี 
การเชื่อมต่อ สายสีฟ้า , HSR เชื่อม 3 สนามบิน และ  แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 
ถนนถนนกำแพงเพชร7
เขต/อำเภอเขตราชเทวี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาด้านข้าง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีRE04
ทางออก-
บันไดเลื่อน-
ลิฟต์-
เวลาให้บริการ-
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า   รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง   สถานีต่อไป
สถานีพญาไท
มุ่งหน้า สถานีศาลายา
   สายนครวิถี    สถานีศูนย์วิจัย
มุ่งหน้า สถานีหัวหมาก
สถานีก่อนหน้า   กรุงเทพมหานคร   สถานีต่อไป
สถานีดินแดง
มุ่งหน้า สถานีประชาสงเคราะห์
   สายสีฟ้า 
เชื่อมต่อที่ สถานีมักกะสัน
(โครงการ)
  สถานีเพชรบุรี
มุ่งหน้า สถานีช่องนนทรี
ที่ตั้ง
Map
เว็บไซต์รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.

ที่ตั้ง[แก้]

บริเวณข้างสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง[ต้องการอ้างอิง] ถนนกำแพงเพชร 7 ในพื้นที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 5  สายนครวิถี  มุ่งหน้า สถานีฉะเชิงเทรา
ชานชาลา 6  สายนครวิถี  มุ่งหน้า สถานีนครปฐม
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก , ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า,ทางเดินเชื่อมสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองและทางเดินไป สายสีฟ้า  สถานีมักกะสัน
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง,ถนนกำแพงเพชร 7

รูปแบบสถานี[แก้]

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform station)

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีแดงอ่อน
ชานชาลาที่ 5
RE16 ฉะเชิงเทรา จันทร์ - ศุกร์
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีแดงเข้ม -
ชานชาลาที่ 6
RW16 นครปฐม จันทร์ - ศุกร์
เสาร์ - อาทิตย์
นักขัตฤกษ์

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ศูนย์การค้าและโรงแรม[แก้]

  • โรงแรมสยาม
  • โรงแรมอมารี เอเทรียม กรุงเทพฯ
  • โรงแรมสวูเทล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาคารสำนักงาน[แก้]

  • อาคาร 253 อโศก
  • อาคารอโศก ทาวเวอร์
  • อาคารเค ทาวเวอร์
  • อาคารคิวเฮ้าส์ อโศก
  • อาคารบี.บี. บิวดิ้ง
  • อาคาร จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เพลส
  • อาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์
  • อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์
  • อาคารบางกอกทาวเวอร์
  • อาคารธนภูมิ
  • อาคารรสา ทู
  • อาคารโอเอไอ
  • อาคารดิ ออฟฟิศ แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

[1]