คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐประศาสนศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Graduate School of Public Administration, National Institude of Development Administration
สถาปนาพ.ศ. 2498
คณบดีผศ.ดร.ไพโรจน์ ภัทรนรากุล
ที่อยู่
118 ถ.เสรีไทย แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
วารสารวารสารรัฐประศาสนศาสตร์ และ วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
สีสีเขียว
เว็บไซต์gspa.nida.ac.th

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็น 1 ใน 4 คณะที่ก่อตั้งขึ้นพร้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เมือปี พ.ศ. 2509

ประวัติ[แก้]

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ เป็นบัณฑิตวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 จากความริเริ่มของนักวิชาการไทย นำโดย ดร.มาลัย หุวะนันทน์ และนายเชาว์ พัฒนจรูญ

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ขึ้น และได้กำหนดให้คณะรัฐประศาสนศาสตร์เป็นคณะ ในสังกัดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ทำการเรียนการสอนเพื่อผลิตพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์เรื่อยมา ต่อมาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้เริ่มเปิดการศึกษาขั้นปริญญาเอกทางการบริหารการพัฒนาขึ้นในปีการศึกษา 2527 และได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทภาคพิเศษขึ้นเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2530

ในปี พ.ศ. 2535 คณะฯ เริ่มขยายการศึกษาระดับปริญญาโทภาคพิเศษออกไปยังส่วนภูมิภาค โดยได้ร่วมมือกับวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ และวิทยาลัยครูนครราชสีมา เปิดการสอนหลักสูตรพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต ในส่วนภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2534 ได้ขยายการสอนไปที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดลำปาง จังหวัดสงขลา ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ขยายการเปิดสอนไปยังจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดอุดรธานี จนมีศูนย์การศึกษากระจายตามจังหวัดต่าง ๆ รวม 8 จังหวัด คือ ลำพูน พิษณุโลก นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และ สงขลา

ปัจจุบันเหลือเพียง 6 ศูนย์ คือ พิษณุโลก นครราชสีมา อุดรธานี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และ สงขลา

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

ระดับปริญญาโท[แก้]

  • รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • การจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิต (รอ.ม.)

ระดับปริญญาเอก[แก้]

  • Doctor of Philosophy Program in Development Administration (นานาชาติ)
  • รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.)

แหล่งข้อมูอื่น[แก้]