ข้ามไปเนื้อหา

มรรคมีองค์แปด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธรรมจักรทั้งแปด นิมิตมรรคมีองค์แปด

อริยมรรคมีองค์แปด (บาลี: อริย อฏฺฐงฺคิก มคฺค; สันสกฤต: อารฺยาษฺฏางฺคมารฺค)[1][2][3] หรือ มรรคมีองค์แปด (บาลี: อฏฺฐงฺคิกมคฺค; สันสกฤต: อษฺฏสมฺยงฺมารฺค)[1][4] คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่นิโรธหรือนำไปถึงความดับทุกข์ เรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา[5] (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4

เนื้อหา

[แก้]

ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 หรือ อัษฎางคิกมรรคนี้เป็นทางสายกลาง[6] คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น[7]

ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้[8]

  1. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
  2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
  3. สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
  4. สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม
  5. สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ
  6. สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
  7. สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
  8. สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4

ในจูฬเวทัลลสูตร พระพุทธเจ้าทรงจัดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เข้าในสีลขันธ์ ทรงจัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์ และทรงจัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าในเป็นปัญญาขันธ์[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ทองย้อย แสงสินชัย (2020-07-05). "อารยอัษฎางคิกมรรค (บาลีวันละคำ 2,945) – ธรรมธารา". สืบค้นเมื่อ 2024-11-05.
  2. Brekke, Torkel. "The Religious Motivation of the Early Buddhists". Journal of the American Academy of Religion, Vol. 67, No. 4 (Dec. 1999), p. 860
  3. www.wisdomlib.org (2018-10-18). "Aryashtangamarga, Arya-ashtanga-marga, Āryāṣṭāṅgamārga: 6 definitions". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  4. www.wisdomlib.org (2019-07-05). "Samyag-marga, Samyagmārga, Samyanc-marga: 2 definitions". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-24.
  5. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 575. ISBN 978-616-7073-80-4
  6. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
  7. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), มรรคมีองค์ 8, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  8. วิภังคสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
  9. จูฬเวทัลลสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]