ราชการ
![]() | มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร) |
ราชการ (สำหรับประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข[ต้องการอ้างอิง]) หรือ รัฐการ[หมายเหตุ 1] (สำหรับประเทศที่ไม่ได้มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข[1][2]) เป็นระบบการทำงานอย่างหนึ่งของรัฐ หมายถึง การงานของพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล รวมไปถึงของทหารและตำรวจซึ่งอาจเรียกแยกเฉพาะว่า "ราชการฝ่ายทหาร" หรือ "รัฐการฝ่ายทหาร" แล้วแต่กรณี
ราชการไทย[แก้]
ข้าราชการไทย[แก้]
ข้าราชการไทย เป็นบุคลากรในระบบราชการของประเทศไทย ประกอบด้วยข้าราชการหลายประเภทตามที่มาและบทบัญญัติของกฎหมาย อาทิ ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตุลาการ ข้าราชการอัยการ ข้าราชการพลเรือน[3] ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
พนักงานอื่นของรัฐ[แก้]
นอกจากนี้ยังมีพนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกันกับข้าราชการ
ตราพระราชทาน[แก้]
ราชการในประเทศไทยมีสัญลักษณ์ในเอกสารเป็นรูป "ครุฑ" (ครุฑพ่าห์) เป็นสัญลักษณ์หมายถึงพระราชบัลลังก์ และตราประจำแผ่นดินของไทย ใช้ประทับบนหัวจดหมายราชการ การบริหารราชการขึ้นอยู่แต่ละส่วนราชการ ภายใต้พระราชบัญญัติบริหารส่วนราชการแต่ละส่วน เช่น พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน มีระเบียบบริหารราชการ อัตราเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทนเป็นบัญชีต่างๆกันไป อีกทั้งมีการกำหนดเกณฑ์การเลื่อนลำดับชั้น งานหนังสือและสารบรรณ การเกษียณอายุ การเชิดชูเกียรติ เช่น การติดยศ การรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่เฉพาะต่างกันไป งบประมาณ ที่ใช้ในระบบราชการ ส่วนหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินซึ่งนำจากการเก็บภาษีจากประชาชน
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ ศัพท์นิติศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๗) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ดูเพิ่ม[แก้]
- ข้าราชการไทย
- ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)
- ราชการส่วนภูมิภาค (ประเทศไทย)
- ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ วงศ์สุรวัฒน์, โกวิท (2016-11-23). "ทำไมสหรัฐอเมริกาจึงเลือกใช้ระบบคณะผู้เลือกตั้ง(Electoral College)เลือกตั้งประธานาธิบดี : โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์". มติชนออนไลน์.
- ↑ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (krisdika.go.th) หน้า 6
- ↑ ":: ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ::". www.personnel.moi.go.th.
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |