สถานีบางกรวย-กฟผ.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางกรวย-กฟผ.
Bang Kruai - EGAT
SRT Bangkok Commuter Rail Light Red Line Logo.svg
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ให้บริการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด
สาย สายนครวิถี 
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง
ถนนจรัญสนิทวงศ์
เขต/อำเภออำเภอบางกรวย
จังหวัดนนทบุรี
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
รูปแบบชานชาลาด้านข้าง
จำนวนชานชาลา2
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีRW04
เวลาให้บริการ06.00 - 24.00น.
ที่ตั้ง
เว็บไซต์รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.

สถานีบางกรวย-กฟผ. (อังกฤษ: Bang Kruai - EGAT Station; รหัสสถานี: RW04) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงสถานีเดียวที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี ยกระดับตามแนวเส้นทางรถไฟสายใต้ บริเวณเชิงสะพานพระราม 6 และสะพานพระราม 7 ฝั่งธนบุรี ใกล้จุดตัดทางรถไฟถนนจรัญสนิทวงศ์ ทางแยกถนนบางกรวย-ไทรน้อย และทางเข้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เขตเทศบาลเมืองบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ที่มา[แก้]

สถานีแห่งนี้เป็นสถานีที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมในโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ภายหลังจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ได้ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ขอให้พิจารณาก่อสร้างสถานีเพิ่มเติมบริเวณเชิงสะพานพระราม 7 ฝั่งธนบุรี เพื่อรองรับการใช้บริการของพนักงานและข้าราชการสังกัด กฟผ. รวมถึงประชาชนบริเวณใกล้เคียง ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้มีมติเห็นชอบ และทาง สนข. จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการต่อไป คาดว่าจะใช้วงเงินก่อสร้างประมาณ 450 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือ 4,000 ล้านบาทจากวงเงินค่าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ทั้งหมด 13,113 ล้านบาท จึงไม่กระทบต่อวงเงินรวมของโครงการ โดย รฟท. จะว่าจ้างกลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิค-ซุนวู จอยท์ เวนเจอร์ ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างในโครงการนี้ให้ดำเนินงานเพิ่มเติม[1] อย่างไรก็ตามกลับไม่ได้มีการใช้วงเงินในการก่อสร้างจริง เนื่องจากเมื่อโครงการส่วนหลักแล้วเสร็จ รฟท. ยังไม่สามารถเดินรถไฟฟ้าได้ จึงต้องกันงบประมาณส่วนนี้เพื่อซ่อมบำรุงโครงการไปพลางก่อน

สาเหตุที่ไม่มีสถานีบางกรวยในแผนงานเดิม เนื่องมาจากแนวคิดเดิมของโครงการต้องการให้การเดินรถไฟจากชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่ต้องการให้มีสถานีมากเกินไป แต่จากการทบทวนแผนการก่อสร้างและจำนวนประชากร พบว่าบริเวณสถานีอยู่ใกล้เขตเมือง มีประชากรหนาแน่น ตั้งอยู่ระหว่างงสถานีบางซ่อนและบางบำหรุ ซึ่งห่างกันถึง 7 กิโลเมตร และสามารถเชี่อมต่อกับการขนส่งทางน้ำได้ที่สะพานพระราม 7 จึงมีการอนุมัติให้ก่อสร้างเฉพาะสถานีบางกรวยเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ คาดว่าสถานีจะรองรับประชาชนย่านบางกรวยถึงวันละ 150,000 คน ประกอบด้วยประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลเมืองบางกรวย 45,000 คน พนักงานและบุคคลภายนอกที่เข้าไปติดต่องานที่ กฟผ. ประมาณ 10,000 คน และประชาชนที่อาศัยโดยรอบ[1]

ต่อมา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ครม.ได้อนุมัติให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา และสถานีเพิ่มเติม 3 สถานี ซึ่งรวมถึงสถานีบางกรวย-กฟผ.ด้วย

ที่ตั้ง[แก้]

ถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณเชิงสะพานพระราม 7 ฝั่งธนบุรี ใกล้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 5  สายนครวิถี  มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
ชานชาลา 6  สายนครวิถี  มุ่งหน้า สถานีตลิ่งชัน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
- ถนนเลียบทางรถไฟ

รายละเอียดของสถานี[แก้]

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (side platform) ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

    • ลิฟต์ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา
    • ที่จอดรถยนต์ จำนวน 100 คัน

สถานที่ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "คมนาคมชงครม.อนุมัติเพิ่มสถานีบางกรวยรถสายสีแดง" เก็บถาวร 2009-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีบางบำหรุ
มุ่งหน้า สถานีตลิ่งชัน
   สายนครวิถี 
โครงการสถานีบางกรวย-กฟผ.
  สถานีพระราม 6
มุ่งหน้า สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์