อำเภอนครชัยศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอนครชัยศรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nakhon Chai Si
ลำน้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำนครชัยศรี คือแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดนครปฐม แต่เดิมเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลายเคยเป็นที่ตั้งมณฑลนครชัยศรี ดังนั้นแม่น้ำที่ไหลผ่านบริเวณดังกล่าว จึงมีผู้นิยมเรียกกันว่า "แม่น้ำนครชัยศรี"
ลำน้ำนครชัยศรีหรือแม่น้ำนครชัยศรี คือแม่น้ำท่าจีนตอนที่ไหลผ่านพื้นที่จังหวัดนครปฐม แต่เดิมเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลายเคยเป็นที่ตั้งมณฑลนครชัยศรี ดังนั้นแม่น้ำที่ไหลผ่านบริเวณดังกล่าว จึงมีผู้นิยมเรียกกันว่า "แม่น้ำนครชัยศรี"
คำขวัญ: 
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวสวย
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอนครชัยศรี
แผนที่จังหวัดนครปฐม เน้นอำเภอนครชัยศรี
พิกัด: 13°48′4″N 100°16′18″E / 13.80111°N 100.27167°E / 13.80111; 100.27167
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่
 • ทั้งหมด284.031 ตร.กม. (109.665 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด111,723 คน
 • ความหนาแน่น393.35 คน/ตร.กม. (1,018.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 73120
รหัสภูมิศาสตร์7303
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี เลขที่ 7
หมู่ที่ 1 ตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครชัยศรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม

สถานีรถไฟนครชัยศรี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ได้ดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการประชาชนที่ใช้บริการของการรถไฟแห่งประเทศไทย มานานกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีการอนุรักษ์อาคารอยู่ในสภาพที่ดีมาก
วัดกลางบางแก้ว เดิมชื่อว่าวัดคงคาราม คนทั่วไปแถบบริเวณนครชัยศรีนี้ มักเรียกว่า วัดกลาง เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหรือตอนปลายของยุคอู่ทอง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอนครชัยศรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

วัดบางพระ สร้างราวปี พ.ศ. 2220 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากรพิจารณาดินเผาของพระอุโบสถ อยู่ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ส่วนพระประธานที่เป็นพระปฏิมากรหินทรายแดงจัดให้อยู่ในสมัยอโยธยาสุพรรณภูมิ (อู่ทอง)

ประวัติ[แก้]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พื้นที่อำเภอนครชัยศรีเคยเป็นที่ตั้งเมืองนครชัยศรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111) โปรดให้สร้างเมืองใหม่ แขวงเมืองราชบุรีจึงถูกแบ่งพื้นที่บางส่วนรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงเมืองสุพรรณบุรี ตั้งเป็นเมืองนครชัยศรี เพื่อรองรับพลเมืองไทยที่หนีสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089) ไปอยู่ตามป่าเขา ให้กลับเข้ามาเป็นกำลังของพระนครยามมีศึก มีตัวเมืองอยู่ใต้ปากคลองบางแก้ว (ห่างจากตัวอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร) เดิมนั้นสังกัดกรมมหาดไทย ภายหลังได้โอนไปสังกัดกรมท่า

เมืองนครชัยศรีมีความสำคัญมากในยุคนั้น ดังจะเห็นได้จากมีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ทะลุจากแม่น้ำเจ้าพระยามายังแม่น้ำนครชัยศรี และขุดคลองเจดีย์บูชา เพื่อให้สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ที่เมืองนครปฐมเมื่อครั้งยังเป็นมณฑลนครชัยศรี นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ไปถึงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งแล้วเสร็จในสมัยรัชการที่ 6 โดยในเขตอำเภอนครชัยศรี มีสถานีรถไฟถึง 3 สถานี คือ สถานีรถไฟวัดงิ้วราย สถานีรถไฟนครชัยศรี (บ้านเขมร) และสถานีรถไฟท่าแฉลบ ไม่นับรวมสถานีรถไฟคลองมหาสวัสดิ์ สถานีรถไฟวัดสุวรรณ และสถานีรถไฟศาลายา ในเขตอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งแยกออกไปจากอำเภอนครชัยศรี เมื่อปี พ.ศ. 2534

ครั้นเมื่อมีการปรับปรุงการปกครองใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2437 ในรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้น และจัดรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล เมืองนครชัยศรีได้โอนไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย และตั้งมณฑลขึ้นโดยรวมเมืองนครชัยศรี เมืองสมุทรสาคร และเมืองสุพรรณบุรีไว้ในมณฑลเดียวกัน เรียกว่า มณฑลนครชัยศรี (เดิมเขียนเป็น มณฑลนครไชยศรี) มีที่ตั้งอยู่ ณ เมืองนครชัยศรี ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยุบมณฑลนครชัยศรีลง เมืองนครชัยศรีเดิมถูกเปลี่ยนเป็นอำเภอนครชัยศรี ขึ้นอยู่กับจังหวัดนครปฐม

  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองนครไชยศรี เป็น อำเภอนครไชยศรี[1]
  • วันที่ 16 มกราคม 2458 รวมท้องที่มณฑลนครไชยศรี และมณฑลราชบุรี เรียกว่า มณฑลภาคตะวันตก[2]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474 ยุบเลิกมณฑลนครไชยศรี และรวมเมืองนครไชยศรี เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสมุทรสาคร รวมเข้ากับมณฑลราชบุรี[3]
  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลท่ามอญ อำเภอนครชัยศรี เป็น ตำบลขุนแก้ว[4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลวัดแค แยกออกจากตำบลนครชัยศรี และตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลท่าเรือ แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลวัดสำโรง แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลดอนแฝก แยกออกจากตำบลห้วยพลู ตั้งตำบลบางแก้วฟ้า แยกออกจากตำบลห้วยพลู และตำบลบางพระ ตั้งตำบลวัดละมุด แยกออกจากตำบลบางพระ ตั้งตำบลศรีมหาโพธิ์ แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลแหลมบัว แยกออกจากตำบลสัมปทวน ตั้งตำบลท่าพระยา แยกออกจากตำบลศีรษะทอง ตั้งตำบลพะเนียด แยกออกจากตำบลศีรษะทอง ตั้งตำบลโคกพระเจดีย์ แยกออกจากตำบลบางระกำ ตั้งตำบลท่ากระชับ แยกออกจากตำบลบางแก้ว ตั้งตำบลท่าตำหนัก แยกออกจากตำบลบางแก้ว ตั้งตำบลบางกระเบา แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลขุนแก้ว แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลไทยาวาส แยกออกจากตำบลนครชัยศรี ตั้งตำบลมหาสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลงิ้วราย ตั้งตำบลคลองโยง แยกออกจากตำบลศาลายา และตำบลห้วยพลู[5]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี ในท้องที่หมู่ 1–2 ตำบลนครชัยศรี หมู่ 2–3 ตำบลบางกระเบา หมู่ 2–3 ตำบลท่าตำหนัก และหมู่ 1–2 ตำบลวัดแค[6]
  • วันที่ 16 ตุลาคม 2505 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครชัยศรี เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[7] โดยให้เขตสุขาภิบาลนครชัยศรีครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลนครชัยศรี ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง ตำบลมหาสวัสดิ์ ตำบลบางกระเบา ตำบลวัดแค ตำบลท่าตำหนัก ตำบลบางแก้ว ตำบลท่ากระชับ ตำบลขุนแก้ว ตำบลท่าพระยา ตำบลพะเนียด ตำบลบางระกำ ตำบลโคกพระเจดีย์ ตำบลศีรษะทอง ตำบลแหลมบัว ตำบลศรีมหาโพธิ์ ตำบลสัมปทวน ตำบลวัดสำโรง ตำบลดอนแฝก ตำบลห้วยพลู ตำบลวัดละมุด ตำบลบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า ตำบลท่าเรือ ตำบลงิ้วราย และตำบลไทยาวาส
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี เป็น ตำบลลานตากฟ้า และเปลี่ยนแปลงชื่อตำบลท่าเรือ อำเภอนครชัยศรี เป็น ตำบลงิ้วราย[8]
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2519 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครชัยศรี เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น[9] โดยปรับขนาดลงให้ครอบคลุมท้องที่หมู่ 1–2 ตำบลนครชัยศรี หมู่ 2–3 ตำบลบางกระเบา หมู่ 2–3 ตำบลท่าตำหนัก หมู่ที่ 1 ตำบลบางแก้ว และหมู่ 1–2 ตำบลวัดแค
  • วันที่ 30 ตุลาคม 2522 จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู ในท้องที่บางส่วนตำบลห้วยพลู[10]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 (ในขณะนั้น) เฉพาะเขตพื้นที่ที่พุทธมณฑลตั้งอยู่ ของตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน มาขึ้นกับตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรี[11]
  • วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลศาลายา ตำบลคลองโยง และตำบลมหาสวัสดิ์ ของอำเภอนครชัยศรี ไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพุทธมณฑล[12] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครชัยศรี
  • วันที่ 22 เมษายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา ในท้องที่หมู่ 3–6 ของตำบลศาลายา[13]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี เป็น อำเภอพุทธมณฑล[14]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครชัยศรี และสุขาภิบาลห้วยพลู เป็นเทศบาลตำบลนครชัยศรี และเทศบาลตำบลห้วยพลู ตามลำดับ[15] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 31 มกราคม 2556 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขุนแก้ว เป็น เทศบาลตำบลขุนแก้ว[16]
  • วันที่ 17 เมษายน 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะทอง เป็น เทศบาลตำบลศีรษะทอง[17]
แม่น้ำนครชัยศรี มุมมองจากฝั่งตำบลนครชัยศรี
"ส้มโอหวาน" ท่อนแรกของคำขวัญจังหวัดนครปฐม หรือส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งของนครชัยศรี เป็นผลไม้เลื่องชื่อที่จำหน่ายอยู่ตามริมถนนสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ริมถนนเพชรเกษม รวมทั้งตลาดในอำเภอนครชัยศรี
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย เป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่อยู่คู่ประเทศไทยมามากกว่า 20 ปี เป็นอาคารสองชั้นจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสที่มีความสวยงามและสมจริง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนแก้ว
พิพิธภัณฑ์จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาส ภายในอาคารมีการจัดแสดง ด้วยกันสองชั้นคือ ชั้นล่าง จัดแสดงหุ่นชุดต่างๆ เช่น ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงค์จักรี เป็นต้น

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอนครชัยศรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 24 ตำบล 108 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[18]
1 นครชัยศรี Nakhon Chai Si
3
3,815
2 บางกระเบา Bang Krabao
3
5,038
3 วัดแค Wat Khae
4
2,456
4 ท่าตำหนัก Tha Tamnak
4
9,525
5 บางแก้ว Bang Kaeo
4
3,826
6 ท่ากระชับ Tha Krachap
4
3,988
7 ขุนแก้ว Khun Kaeo
4
7,852
8 ท่าพระยา Tha Phraya
5
3,834
9 พะเนียด Phaniat
4
3,822
10 บางระกำ Bang Rakam
4
4,873
11 โคกพระเจดีย์ Khok Phra Chedi
5
4,699
12 ศีรษะทอง Sisa Thong
5
7,108
13 แหลมบัว Laem Bua
8
7,250
14 ศรีมหาโพธิ์ Si Maha Pho
5
4,266
15 สัมปทวน Sampathuan
6
3,761
16 วัดสำโรง Wat Samrong
4
1,829
17 ดอนแฝก Don Faek
4
3,036
18 ห้วยพลู Huai Phlu
5
4,701
19 วัดละมุด Wat Lamut
5
5,584
20 บางพระ Bang Phra
4
2,788
21 บางแก้วฟ้า Bang Kaeo Fa
5
2,976
22 ลานตากฟ้า Lan Tak Fa
5
8,516
23 งิ้วราย Ngio Rai
4
2,946
24 ไทยาวาส Thaiyawat
4
2,888

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอนครชัยศรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 25 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครชัยศรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนครชัยศรี ตำบลบางกระเบา ตำบลวัดแค ตำบลท่าตำหนัก และตำบลบางแก้ว
  • เทศบาลตำบลห้วยพลู ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลห้วยพลู
  • เทศบาลตำบลขุนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขุนแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลศีรษะทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศีรษะทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครชัยศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครชัยศรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดแค (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตำหนัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระเบาและตำบลท่าตำหนัก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้ว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครชัยศรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ากระชับทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าพระยาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพะเนียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพะเนียดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพึ้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกพระเจดีย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลศรีมหาโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีมหาโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสัมปทวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสัมปทวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนแฝกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยพลู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยพลู (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยพลู)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดละมุดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพระทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้วฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลานตากฟ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไทยาวาส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทยาวาสทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอพระปฐมและอำเภอเมืองนครไชยศรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ก): 378. วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456
  2. "ประกาศ ตั้งมณฑลภาคตะวันตก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 417. วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2458
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 576–578. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2474
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2482
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-88. วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (93 ง): 2168–2196. วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2505
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (98 ก): 774–777. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-27. วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2511
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (126 ง): 2831–2832. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (184 ง): 3890–3891. วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2522
  11. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอสามพราน กับอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (206 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2526
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพุทธมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (15 ง): (ฉบับพิเศษ) 1067. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19. วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2534
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศาลายา กิ่งอำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): (ฉบับพิเศษ) 52-54. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  14. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2013-08-19. วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  15. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-02-26. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  16. "จัดตั้งเทศบาลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลขุนแก้ว เป็น เทศบาลตำบลขุนแก้ว". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help) วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลตำบลศีรษะทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 90 ง): 9. วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563
  18. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.