สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา | |
---|---|
Chitralada Technology Institute | |
![]() | |
ชื่อย่อ | สจด. / CDTI |
คติพจน์ | จงรักภักดี ใฝ่รู้ สู้งาน สื่อสารเป็น |
สถาปนา |
วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา (เอกชน) 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (4 ปี) สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (ในกำกับของรัฐ) 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (0 ปี) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ |
นายกสภาฯ | สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
ที่ตั้ง | สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 |
ประเทศ |
![]() |
สีประจำสถาบัน | ████ สีเหลือง สีฟ้า |
เว็บไซต์ | www.cdtc.ac.th |
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา (อังกฤษ: Chitralada Technology Institute) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[1] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 ดำเนินการโดยมูลนิธิสยามบรมราชกุมารี เพื่อโรงเรียนจิตรลดา
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา ก่อตั้งขึ้นโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์บริหารโรงเรียนจิตรลดา มีพระราชประสงค์จะขยายโอกาสการเรียนรู้ทางสายวิชาชีพจากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไปเป็นระดับอุดมศึกษา กระทั่งมูลนิธิสยามบรมราชกุมารี เพื่อโรงเรียนจิตรลดา ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประเภทวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
กระทั่งวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมได้มีมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอโดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้คือให้ควบรวมวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดาและโรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ) เข้าด้วยกันและยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดามีสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
ต่อมาในวันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๑ ที่ประชุมได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาในวาระแรกด้วยคะแนนเห็นด้วย 166 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 5 เสียง
ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๕/๒๕๖๑ ที่ประชุมได้เห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ให้ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดาประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนนเห็นด้วย 199 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง
ต่อมาในวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก ๙๐ วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 [2]
คณะ[แก้]
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เปิดทำการเรียนการสอน 2 คณะ[3] ได้แก่
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
- เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
- คณะบริหารธุรกิจ
- บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด
- บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาธุรกิจอาหาร
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา เล่มที่ 131 ตอนพิเศษ 39ง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2557
- ↑ พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา พ.ศ. ๒๕๖๑
- ↑ เปิดประวัติ 'โรงเรียนจิตรลดา' รับวิทยาลัยแห่งใหม่ 'วิทยาลัยเทคโนโลยีจิตรลดา'
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|