อำเภอพยุหะคีรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอพยุหะคีรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phayuha Khiri
สถานีรถไฟเนินมะกอก ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอพยุหะคีรี
สถานีรถไฟเนินมะกอก ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอพยุหะคีรี
คำขวัญ: 
สามหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตพระเครื่อง
นามกระเดื่องช่างฝีมือ เลื่องระบือเกษตรกรรม
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอพยุหะคีรี
แผนที่จังหวัดนครสวรรค์ เน้นอำเภอพยุหะคีรี
พิกัด: 15°29′14″N 100°8′24″E / 15.48722°N 100.14000°E / 15.48722; 100.14000
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
พื้นที่
 • ทั้งหมด740.8 ตร.กม. (286.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด60,506 คน
 • ความหนาแน่น81.68 คน/ตร.กม. (211.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 60130
รหัสภูมิศาสตร์6010
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรี เลขที่ 111 หมู่ที่ 3 ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พยุหะคีรี เป็น 1 ใน 15 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ เดิมมีพื้นที่กว่า 2,165.50 ตารางกิโลเมตร ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอตาคลี[1] อำเภอตากฟ้า และบางส่วนของอำเภอเมืองอุทัยธานี[2][3] ในจังหวัดอุทัยธานี และเป็น 1 ใน 4 อำเภอที่มีทางรถไฟสายเหนือผ่านพื้นที่ โดยมีสถานีรถไฟให้บริการ 3 สถานี ได้แก่ สถานีรถไฟหัวงิ้ว สถานีรถไฟเนินมะกอก และสถานีรถไฟเขาทอง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพยุหะคีรีมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

สถานีรถไฟเขาทอง

ประวัติ[แก้]

 พยุหะคีรี  เดิมเป็นเมืองหนึ่งขึ้นอยู่กับจังหวัดนครสวรรค์ มีหน้าที่เก็บเงินส่วยอากร ผู้มีหน้าที่เก็บส่วยอากรสมัยนั้นชื่อ หลวงภูมิ ได้ตั้งบุตรชายของตนชื่อ จันทร์ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองพยุหะคีรี มีที่ทำการอยู่ข้างวัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่บ้านสระเศรษฐี ตำบลน้ำทรง ตั้งที่ทำการแบบชั่วคราวมีจวนเจ้าเมือง บ้านราชการเรือนจำ (ล้อมด้วยไม้ไผ่) เจ้าเมืองคนต่อมา ชื่อ กัน และ อิ่ม ต่อมามีโจรกล่มหนึ่งคุมสมัครพรรคพวกประมาณ 40 คน เข้าทำการปล้นจวนเจ้าเมือง สถานที่ราชการ จึงได้ย้ายตัวเมืองพยุหะคีรีมาตั้งอยู่ที่คลองหลวงพิบูลย์ เมื่อสิ้นอายุเจ้าเมืองอิ่มแล้ว เจ้าเมืองคนต่อมาชื่อ ปุ้ย ได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านท่าแร่ สร้างที่ว่าการอำเภอพยุหะคีรีขึ้น ณ ตำบลพยุหะ[4]

  • วันที่ - 2460 ยกฐานะตำบลตาคลี อำเภอพยุหะคีรี ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอตาคลี ขึ้นกับอำเภอพยุหะคีรี
  • วันที่ 11 พฤศจิกายน 2466 ตั้งตำบลหัวหวาย แยกออกจากตำบลหนองโพ[5]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2480 โอนพื้นที่ตำบลหนองโพ อำเภอพยุหะคีรี ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอตาคลี[6]
  • วันที่ 2 สิงหาคม 2480 ยกฐานะตำบลตาคลี ตำบลสร้อยทอง ตำบลช่องแค ตำบลหัวหวาย ตำบลหนองหม้อ ตำบลจันเสน และตำบลหนองโพ กิ่งอำเภอตาคลี อำเภอพยุหะคีรี เป็น อำเภอตาคลี[1]
  • วันที่ 22 สิงหาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 1 บ้านเกาะตานิว (ในขณะนั้น) ของตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี ไปขึ้นกับตำบลโกรกพระ อำเภอโกรกพระ และโอนพื้นที่หมู่ 11 บ้านหนองพรมหน่อ (ในขณะนั้น) ของตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี ไปขึ้นกับตำบลเนินกว้าว อำเภอโกรกพระ[7]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลท่าน้ำอ้อย แยกออกจากตำบลพยุหะ[8]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2492 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลม่วงหัก ไปขึ้นกับตำบลท่าน้ำอ้อย[9]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลพยุหะ ในท้องที่บางส่วนของตำบลพยุหะ[10]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำอ้อย ในท้องที่ตำบลท่าน้ำอ้อย[11]
  • วันที่ 1 พฤษภาคม 2502 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ กับจังหวัดอุทัยธานี โดยโอนพื้นที่หมู่ 1–7 เฉพาะฝั่งตะวันตกของคลองอีเติ่ง (ในขณะนั้น) กับพื้นที่หมู่ที่ 8 เฉพาะด้านตะวันตกของสันเขาพะแวง ของตำบลน้ำทรง ไปขึ้นกับอำเภอเมืองอุทัยธานี[2]
  • วันที่ 2 มิถุนายน 2502 โอนพื้นที่หมู่ 7 เฉพาะฝั่งตะวันออกของคลองอีเติ่ง (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินแจง อำเภอเมืองอุทัยธานี ไปตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลน้ำทรง โอนพื้นที่หมู่ 8 เฉพาะด้านตะวันออกองสันเขาพะแวง (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินแจง อำเภอเมืองอุทัยธานี ไปรวมกับหมู่ 8 ของตำบลยางขาว และโอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลเนินแจง อำเภอเมืองอุทัยธานี ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลน้ำทรง[3]
  • วันที่ 17 พฤษภาคม 2503 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี[12]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2503 ตั้งตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว แยกออกจากตำบลเนินมะกอก[13]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลเขากะลา แยกออกจากตำบลเขาทอง[14]
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลสระทะเล แยกออกจากตำบลย่านมัทรี[15]
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าน้ำอ้อย ในท้องที่หมู่ 1 บ้านยายล่า หมู่ 2 บ้านวัดเหล็ก หมู่ 3 บ้านท่าดาน หมู่ 4 บ้านทุ่งอ้ายดอก หมู่ 5 บ้านท่าน้ำอ้อย หมู่ 6 บ้านท่าตราทอง หมู่ 7 บ้านท่าลานเตียน และหมู่ 8 บ้านเขาไม้เดน ตำบลท่าน้ำอ้อย กับหมู่ 1 บ้านบน หมู่ 2,4 บ้านม่วงหัก หมู่ 6 บ้านเขาไม้เดนบน หมู่ 7 บ้านม่วงหักบน และหมู่ 8 บ้านหางน้ำหนองแขม ตำบลม่วงหัก[16]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพยุหะ และสุขาภิบาลท่าน้ำอ้อย เป็นเทศบาลตำบลพยุหะ และเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย ตามลำดับ[17] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำอ้อย และองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงหัก รวมกับเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย[18]
  • วันที่ 27 มีนาคม 2556 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย เป็น เทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก[19]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพยุหะคีรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 125 หมู่บ้าน ได้แก่

1. พยุหะ (Phayuha) 9 หมู่บ้าน 7. เขาทอง (Khao Thong) 12 หมู่บ้าน
2. เนินมะกอก (Noen Makok) 12 หมู่บ้าน 8. ท่าน้ำอ้อย (Tha Nam Oi) 8 หมู่บ้าน
3. นิคมเขาบ่อแก้ว (Nikhom Khao Bo Kaeo) 16 หมู่บ้าน 9. น้ำทรง (Nam Song) 11 หมู่บ้าน
4. ม่วงหัก (Muang Hak) 10 หมู่บ้าน 10. เขากะลา (Khao Kala) 19 หมู่บ้าน
5. ยางขาว (Yang Khao) 9 หมู่บ้าน 11. สระทะเล (Sa Thale) 12 หมู่บ้าน
6. ย่านมัทรี (Yan Matsi) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอพยุหะคีรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพยุหะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพยุหะ
  • เทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงหักและตำบลท่าน้ำอ้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพยุหะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพยุหะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพยุหะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินมะกอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมเขาบ่อแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางขาวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลย่านมัทรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านมัทรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำทรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำทรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขากะลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขากะลาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระทะเลทั้งตำบล

คณะสงฆ์[แก้]

รายชื่อวัดในอำเภอพยุหะคีรี[แก้]

รายนามเจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี[20][แก้]

รายนาม วัด ปีที่ประจำตำแหน่ง
พระครูพยุหานุสาสน์ (เงิน) วัดพระปรางค์เหลือง พ.ศ. 2444
พระครูพยุหานุศาสก์ (สิทธิ์) วัดบ้านบน พ.ศ. 2451
พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) วัดหนองโพ  พ.ศ. 2458
พระครูพยุหานุศาสก์ (ชิต ชิตจิตฺโต) วัดยางขาว พ.ศ. 2477
พระครูนิยุตต์ธรรมกิจ (บุญธรรม ธมฺมปฺปสาโท) วัดเขาแก้ว พ.ศ. 2502
พระครูนิทัศน์ธรรมเวที (ปลด ปิยธโร) ป.ธ.๕) วัดเขาแก้ว พ.ศ. 2523
พระครูปภัสสรธรรม (ละมัย ปภสฺสโร ป.ธ.๕) วัดคลองบางเดื่อ พ.ศ. 2552
พระครูนิภาธรรมวงศ์ (ประเทือง อริยวํโส)[21] วัดเขาทอง พ.ศ. 2562

สถานศึกษา[22][แก้]

โรงเรียนของรัฐ[แก้]

  • โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม ต.เขากะลา[23]
  • โรงเรียนเขาทองพิทยาคม ต.เขาทอง
  • โรงเรียนพยุหะพิทยาคม ต.พยุหะ
  • โรงเรียนพยุหะศึกษาคาร ต.พยุหะ
  • โรงเรียนอนุบาลวัดพระปรางค์เหลือง ต.ม่วงหัก
  • โรงเรียนบ้านใหม่ศึกษา ต.สระทะเล
  • โรงเรียนบ้านย่านมัทรี ต.ย่านมัทรี
  • โรงเรียนสามแยกเจ้าพระยา ต.ย่านมัทรี
  • โรงเรียนประชาอุทิศ ต.ย่านมัทรี
  • โรงเรียนวัดหนองกลอย ต.เขากะลา

โรงเรียนของเอกชน[แก้]

การศึกษานอกระบบ[แก้]

  • ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพยุหะคีรี ต.พยุหะ[24]

มหาวิทยาลัย[แก้]


การขนส่ง[แก้]

ถนนพหลโยธินในตัวอำเภอพยุหะคีรี

สถานีรถไฟ[แก้]


สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 851–852. วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2480
  2. 2.0 2.1 "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (49 ก): (ฉบับพิเศษ) 4-6. วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลหมู่บ้านในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (58 ง): 1460–1461. วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2502
  4. "ประวัติอำเภอพยุหะคีรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30.
  5. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลหัวหวาย อำเภอกิ่งตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งแยกตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 135. วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนตำบลหนองโพ อำเภอพยุหคีรี ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอตาคลี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 826. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2480
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1753–1754. วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2481
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-30. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 66 (16 ง): 1176–1177. วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2492
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพยุหะ อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (60 ง): (ฉบับพิเศษ) 78-79. วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501
  12. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. ๒๕๐๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (41 ก): 373–382. วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว ในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (56 ง): 1651–1653. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก และอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (58 ง): 1639–1644. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (95 ง): 2801–2804. วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 24–26. วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2537
  17. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2547
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยม่วงหัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (ตอนพิเศษ 40 ง): 19. วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556
  20. http://nsn.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=192:2010-01-22-08-24-02&Itemid=361[ลิงก์เสีย]
  21. ทำเนียบพระครูสัญญาบัตร คณะสงฆ์ จังหวัดนครสวรรค์
  22. รายชื่อโรงเรียน พร้อมสถานที่ตั้ง ในจังหวัดนครสวรค์
  23. ข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. ในจังหวัดนครสวรรค์
  24. จำนวนนักเรียน กศน.นครสวรรค์
  25. "พาณิชย์ปั้นท่าข้าว "กำนันทรง" ศูนย์กลางตลาดรับเสรีอาเซียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-05-15.