มีชัย กิจบุญชู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ก่อนหน้ายวง นิตโย
ถัดไปเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู

25 มกราคม พ.ศ. 2472 (95 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศสยาม
เชื้อชาติไทย
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
บุพการี
  • ยอแซฟ ยู่ฮง กิจบุญชู (บิดา)
  • มารีอา เคลือบ กิจบุญชู (มารดา)
ที่อยู่อาศัยบ้านฮับราฮัม (สามพราน)

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นพระคาร์ดินัลชาวไทยคนแรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกกิตติคุณมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เป็นอดีตนายกสภาวิทยาลัยแสงธรรม[1]

พื้นเพ[แก้]

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เกิดวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2472 ณ หมู่บ้านโบสถ์นักบุญเปโตร อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยเป็นบุตรของ ยอแซฟ ยู่ฮง และมารีอา เคลือบ กิจบุญชู มีพี่น้องทั้งหมดแปดคน เป็น ชายเจ็ดคน เป็นหญิงหนึ่งคน ตนเป็นบุตรคนที่ห้าของครอบครัว

การศึกษา[แก้]

ตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ[แก้]

เขตมิสซังกรุงเทพฯ[แก้]

สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย[แก้]

  • พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2525 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2533 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
  • พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2540 — ดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ
  • นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการฝ่ายต่างๆ ของสภาประมุขบาทหลวงฯ อีกหลายฝ่ายด้วยกัน

กรุงโรม[แก้]

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมณกระทรวงประกาศพระวรสารสู่ปวงชน (Member of the Pontifical Missionary Societies for the Propagation of the Faith ) นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล พระคุณเจ้าได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อหลังจากที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาของสมณกระทรวงฯ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิก “สภาที่ปรึกษาด้านการเงิน และเศรษฐกิจของสันตะสำนัก 4”

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

มีชัย กิจบุญชู ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1973 และได้รับการอภิเษกเป็นอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ สืบตำแหน่งต่อจากพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย ได้รับการอภิเษกที่เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดยพระคุณเจ้ายอแซฟ ยวง นิตโย เป็นผู้อภิเษก เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ.1973

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกคณะพระคาร์ดินัล (นับเป็นพระคาร์ดินัลองค์แรกของประเทศไทย) เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1983 และมีพิธีสถาปนาสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม นครรัฐวาติกัน ท่ามกลางคณะพระคาร์ดินัล คณะทูตานุทูต และคริสต์ศาสนิกชน โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัลบาทหลวงประจำโบสถ์นักบุญลอเรนซ์ในปานิสแปร์นา (Cardinal-Priest of San Lorenzo in Panisperna)[2] ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้เข้าร่วมพิธีปลงพระศพสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 และในฐานะพระคาร์ดินัล ได้เข้าร่วมการเลือกตั้งสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่ (สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16) ประมุขพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตรเป็นลำดับที่ 265 ในระหว่างวันที่ 5 - 25 เมษายน ค.ศ. 2005

พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ลาเกษียณจากตำแหน่งประมุขมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 2009 ต่อมาเมื่อ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2016 พระคาร์ดินัลเปาลู เอวาริสตู อาร์นส์ มรณภาพ พระคาร์ดินัลมีชัยจึงกลายเป็นพระคาร์ดินัลบาทหลวงที่อาวุโสที่สุด (Cardinal Protopriest)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. งานกตเวทิตาจิตแด่ พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
  2. "Michael Michai Cardinal Kitbunchu". Catholic-Hierarchy. 11 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "A new protopriest as Paul VI has one cardinal left". In Caelo et in Terra. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [สำนักนายกรัฐมนตรี], เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒๓ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑ ลำดับ ๖
ก่อนหน้า มีชัย กิจบุญชู ถัดไป
โรเบิร์ต รัตน์ บำรุงตระกูล ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
((สมัยที่ 1) พ.ศ. 2522 — พ.ศ. 2525
(สมัยที่ 2) พ.ศ. 2528 — พ.ศ. 2534
(สมัยที่ 3) พ.ศ. 2537 —พ.ศ. 2540
(สมัยที่ 4) พ.ศ. 2543 — พ.ศ. 2549)
ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค (หลังสมัยที่ 1)
ยอร์ช ยอด พิมพิสาร (หลังสมัยที่ 2-4)
ยอแซฟ ยวง นิตโย อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ
(พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2552)
ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช