อำเภอเมืองพะเยา
อำเภอเมืองพะเยา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Phayao |
พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่กว๊านพะเยา | |
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอเมืองพะเยา | |
พิกัด: 19°11′30″N 99°52′42″E / 19.19167°N 99.87833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | พะเยา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 842 ตร.กม. (325 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 116,579 คน |
• ความหนาแน่น | 138.46 คน/ตร.กม. (358.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 56000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5601 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยา หมู่ที่ 11 ถนนพหลโยธิน ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
เมืองพะเยา (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง การบริหารราชการ การศึกษา และเศรษฐกิจ ความเจริญ ของจังหวัดพะเยา
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอเมืองพะเยาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 700 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่ใจ อำเภอภูกามยาว และ อำเภอป่าแดด (จังหวัดเชียงราย)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอภูกามยาวและอำเภอดอกคำใต้
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้ และอำเภองาว (จังหวัดลำปาง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังเหนือ (จังหวัดลำปาง)
ประวัติ
[แก้]พะเยาเป็นเมืองเก่าเมืองหนึ่ง ในอดีตมีชื่อว่าเมืองภูกามยาวหรือเมืองพยาว เดิม อำเภอพะเยา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย และในปี พ.ศ. 2520 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น อำเภอพะเยาจึงได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมืองพะเยา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
- วันที่ 23 ธันวาคม 2460 ยุบอำเภอดอกคำใต้ รวมกับอำเภอพะเยา[1]
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลเมืองพะเยา ในท้องที่บางส่วนของตำบลแม่ต๋ำ และตำบลเวียง[2]
- วันที่ 16 มีนาคม 2491 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลแม่ต๋ำ[3]
- วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2506 แยกพื้นที่ตำบลดอกคำใต้ ตำบลห้วยลาน และตำบลบ้านปิน อำเภอพะเยา มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอดอกคำใต้ ขึ้นกับอำเภอพะเยา[4]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลดอกคำใต้ ในท้องที่บางส่วนของตำบลดอกคำใต้[5]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอดอกคำใต้ อำเภอพะเยา เป็น อำเภอดอกคำใต้[6]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลห้วยแก้ว แยกออกจากตำบลดงเจน[7]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 แยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงราย ตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอพะเยา เป็น อำเภอเมืองพะเยา[8] และจัดตั้งศาลจังหวัดพะเยา ในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา[9]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลท่าวังทอง แยกออกจากตำบลดงเจน ตั้งตำบลแม่ใส แยกออกจากตำบลแม่นาเรือ[10]
- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลบ้านสาง แยกออกจากตำบลบ้านตุ่น[11]
- วันที่ 17 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลท่าจำปี แยกออกจากตำบลบ้านต๊ำ[12]
- วันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลแม่อิง แยกออกจากตำบลดงเจน[13]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2536 ตั้งตำบลสันป่าม่วง แยกออกจากตำบลบ้านต๋อม[14]
- วันที่ 23 สิงหาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลดงเจน ในท้องที่บางส่วนของตำบลดงเจน และตำบลแม่อิง[15]
- วันที่ 25 มิถุนายน 2540 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว ตำบลดงเจน และตำบลแม่อิง อำเภอเมืองพะเยา มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูกามยาว ขึ้นกับอำเภอเมืองพะเยา[16]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลดงเจน เป็นเทศบาลตำบลดงเจน
- วันที่ 1 มกราคม 2545 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา โดยให้ตำบลแม่กามีเขตการปกครองรวม 17 หมู่บ้าน ตำบลจำป่าหวายมีเขตการปกครองรวม 13 หมู่บ้าน[17]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอภูกามยาว อำเภอเมืองพะเยา เป็น อำเภอภูกามยาว[18]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอเมืองพะเยาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 15 ตำบล 172 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[19] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เวียง | Wiang | — | 4,456 | 10,258 | |
2. | แม่ต๋ำ | Mae Tam | — | 2,977 | 7,841 | |
3. | แม่นาเรือ | Mae Na Ruea | 18 | 3,388 | 8,971 | |
4. | บ้านตุ่น | Ban Tun | 11 | 1,784 | 5,015 | |
5. | บ้านต๊ำ | Ban Tam | 13 | 2,667 | 7,282 | |
6. | บ้านต๋อม | Ban Tom | 18 | 6,137 | 12,325 | |
7. | แม่ปืม | Mae Puem | 18 | 2,989 | 9,217 | |
8. | แม่กา | Mae Ka | 18 | 4,939 | 19,325 | |
9. | บ้านใหม่ | Ban Mai | 9 | 1,650 | 4,896 | |
10. | จำป่าหวาย | Cham Pa Wai | 13 | 2,873 | 8,473 | |
11. | ท่าวังทอง | Tha Wang Thong | 14 | 7,661 | 14,598 | |
12. | แม่ใส | Mae Sai | 12 | 2,155 | 6,358 | |
13. | บ้านสาง | Ban Sang | 9 | 1,506 | 4,410 | |
14. | ท่าจำปี | Tha Champi | 11 | 1,372 | 4,054 | |
15. | สันป่าม่วง | San Pa Muang | 8 | 1,068 | 3,761 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอเมืองพะเยาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองพะเยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงและตำบลแม่ต๋ำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าวังทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวังทองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแม่กา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแม่ปืม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ปืมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านต๋อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านต๋อมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านต๊ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านสาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านสางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าจำปี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าจำปีทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสันป่าม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันป่าม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นาเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่นาเรือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านตุ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจำป่าหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำป่าหวายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ใส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ใสทั้งตำบล
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]อำเภอเมืองพะเยามีพื้นที่ประมาณ 842 ตารางกิโลเมตรหรือ 526,250 ไร่ มีเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกคือ "ดอยหลวง" มีลักษณะพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูงและลาดต่ำมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้ บริเวณกลางมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ซึ่งกรมการประมงได้จัดให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดและเป็นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดพะเยา คือ "กว๊านพะเยา" มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ
[แก้]อำเภอเมืองพะเยามีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้
โบราณสถานและโบราณวัตถุ
[แก้]- วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง เทศบาลเมืองพะเยา ชาวบ้านเรียกว่า "วัดพระเจ้าตนหลวง" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067 ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร ในวันวิสาขบูชาจะมีการจัดงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเรียกว่างานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง
- วัดพระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนดอยจอมทอง ตรงข้ามกับวัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง เป็นปูชนียสถานโบราณคู่เมืองพะเยา บริเวณโดยรอบมีป่าไม้ปกคลุมเป็นสวนรุกขชาติ สามารถมองเห็นตัวเมืองและกว๊านพะเยา
- วัดอนาลโยทิพยาราม ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัม หมู่บ้านสันบัวบก ตำบลสันป่าม่วง มีถาวรวัตถุที่สวยงาม เช่น หอพระแก้วประดิษฐานพระแก้วมรกต พระบุษราคัม พระเงิน พระทอง และพระนาค จากยอดดอยสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและตัวเมืองได้ชัดเจน
- วัดลี ตั้งอยู่ในตัวเมืองพะเยาหลังโรงเรียนเทศบาล 3 ตำบลแม่ต๋ำ เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งที่มีโบราณวัตถุที่น่าสนใจอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปหินทราย
- วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่ถนนท่ากว๊าน เป็นวัดที่มีเจดีย์สมัยเชียงแสนที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก และเป็นวัดที่ประดิษฐานพระคู่เมืองพะเยาอีกองค์หนึ่งนามว่า "หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์" แต่ชาวบ้านเรียกว่า "พระเจ้าล้านตื้อ" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะภูกามยาวโดยเฉพาะ
- โบราณสถานบ้านร่องไฮ เป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ริมกว๊านพะเยาและเนินซากโบราณสถานบางส่วนอยู่ในกว๊านพะเยา จากหลักฐานการขุดแต่งพบพระพุทธรูปหินทราย ชิ้นส่วนจารึก สันนิษฐานมีอายุราว 500 ปี ชุมชนแห่งนี้ยังสืบสานภูมิปัญญา วิถีชีวิตความสัมพันธ์กับกว๊านพะเยาจนถึงทุกวันนี้
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ
[แก้]- กว๊านพะเยา อยู่ในเขตตัวเมือง อำเภอเมืองพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีธรรมชาติงดงามอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากอย่างงามตา คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่าง ๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยามีส่วนทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
- อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พะเยา) ลำดับที่ 9 ระหว่างปี พ.ศ. 1801-1841 ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมืองเป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายกษัตริย์เมืองเชียงรายและพระเจ้าร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งกษัตริย์ทั้งสามได้ทรงปฏิญญาสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณ น้ำแม่อิง พ่อขุนงำเมืองเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ กล่าวกันว่าเมื่อพระองค์เสด็จไปทางไหน "แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ จักให้แดดก็แดด จักให้บดก็บด" จึงได้พระนามว่า "งำเมือง"
- ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี ตั้งอยู่ ณ ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 723 ตำบลแม่กา ห่างจากตัวเมือง 14 กิโลเมตร เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลาง การอบรมอาชีพด้านอุตสาหกรรมในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับให้แก่ประชาชน ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณี ศึกษาดูงานการเจียระไนเพชร พลอย การทำเครื่องประดับเงิน จัดแสดงและจำหน่ายอัญมณีเครื่องประดับ และสินค้าหัตถกรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดพะเยาอีกด้วย
- หอวัฒนธรรมนิทัศน์ ตั้งอยู่บริเวณวัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงโบราณวัตถุเอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวพะเยา เปิดให้เข้าชมในวันพุธ-วันอาทิตย์ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.
- พระตำหนักกว๊านพะเยา ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ริมถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 734 - 735 เป็นสถานที่จัดแสดงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อครั้งเสด็จมาประทับทรงงานที่จังหวัดพะเยา การนำเสนอวิวัฒนาการของปลาบึกซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและพันธุ์ปลาอื่น ๆ ที่อยู่ในกว๊านพะเยา จัดแสดงพันธุ์ปลาสวยงามที่หาดูได้ยาก และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
- น้ำตกห้วยแม่เหยี่ยน เป็นน้ำตกที่เกิดจากต้นน้ำแม่เหยี่ยน ตั้งอยู่บ้านท่ากลอง หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 2 ชั่วโมง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาประมาณ 30 กิโลเมตร สภาพน้ำเป็นชั้น ๆ จำนวน 9 ชั้น ตกจากที่สูงประมาณ 20-30 เมตร สวยงามมากทั้งบริเวณเหมาะแก่การตั้งแคมป์พักแรมเป็นอย่างยิ่ง
- น้ำตกจำปาทอง อยู่ในเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติดอยหลวง มีทางรถยนต์เข้าถึงโดยสะดวกเป็นทางลูกรังบางตอน ฉะนั้นจึงได้รับการปรับปรุงเรื่องสถานที่ให้สวยงามอยู่ตลอดเวลา ปรับเข้ากับสภาพธรรมชาติได้ดีและยังมีบ้านรับรองซึ่งเป็นที่พักของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาพักได้ด้วย ทุกวันนี้จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวอยู่เสมอ
- อ่างเก็บน้ำแม่ปืม อ่างเก็บน้ำแม่ปืมเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่กรมชลประทานเข้าดำเนินการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บกักน้ำไว้แจกจ่ายในพื้นที่ 2 อำเภอ 6 ตำบล คือ อำเภอแม่ใจและอำเภอเมืองพะเยา ตำบลบ้านเหล่า ตำบลแม่ใจ ตำบลแม่ปืม ตำบลบ้านต๊ำ ตำบลท่าจำปี โดยแจกจ่ายน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 20,000 ไร่ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่อีกด้วย ในด้านการท่องเที่ยว อ่างเก็บน้ำแม่ปืมมีทัศนียภาพที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง อ่างเก็บน้ำแม่ปืมตั้งอยู่ระหว่างบ้านสันทราย หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ปืม และบ้านป่าตึง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ใจ ระยะทางระหว่างที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาประมาณ 21 กิโลเมตร มีทางรถยนต์เข้าถึงที่ตั้งอ่างโดยสะดวก
สถานศึกษา
[แก้]- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ศูนย์การศึกษาพะเยา
- สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค (เอกชน)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีประชาพัฒน์
- วิทยาลัยเทคนิคพะเยา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีพะเยา (เอกชน)
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพะเยา
- โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา
- โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
- โรงเรียนไชยพันธ์พงษ์พิทยา (เอกชน)
- โรงเรียนบุญสิษฐ์วิทยา (เอกชน)
- โรงเรียนพินิตประสาธน์ (เอกชน)
- โรงเรียนพะเยาประสาธน์วิทย์
- โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม
- โรงเรียนประชาบำรุง (เอกชน)
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
- โรงเรียนอนุบาลดรุณวิทยา (เอกชน)
- โรงเรียนปิยมาตย์ (เอกชน)
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
[แก้]- ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา
- ปลาส้ม
- ครกหิน
- มีด
- เครื่องประดับอัญมณี
- ผ้าปักบ้านตุ่น
- สุรากลั่นและไวน์ลิ้นจี่
- น้ำพริกท่าวังทอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้ยุบอำเภอแม่ใจและอำเภอดอกคำใต้
- ↑ [2]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดเชียงราย พุทธศักราช ๒๔๘๐
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและตั้งตำบลในเขตเทศบาล
- ↑ [4] เก็บถาวร 2012-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอดอกคำใต้ อำเภอเมืองเชียงราย กิ่งอำเภอแม่ใจ อำเภอพาน กิ่งอำเภอจุน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ,กิ่งอำเภอเด่นชัย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และกิ่งอำเภอดอนตาล อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม)
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอกคำใต้ กิ่งอำเภอดอกคำใต้ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย
- ↑ [6] เก็บถาวร 2008-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพะเยา อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
- ↑ [8] เก็บถาวร 2012-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐
- ↑ [9]พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดพะเยา พ.ศ. ๒๕๒๐
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ↑ [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา และอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
- ↑ [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ↑ [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดงเจน อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
- ↑ [16] เก็บถาวร 2009-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูกามยาว
- ↑ [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา (ตำบลแม่กา ตำบลจำป่าหวาย)
- ↑ [18] เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เทศบาลตำบลท่าวังทอง เก็บถาวร 2013-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน