อำเภอมายอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอมายอ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mayo
คำขวัญ: 
มายอเมืองสงบ เคารพกฎหมาย
หลายหลากอาชีพ แหล่งผลิตบาติกสวย
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอมายอ
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอมายอ
พิกัด: 6°43′7″N 101°24′36″E / 6.71861°N 101.41000°E / 6.71861; 101.41000
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด216.1 ตร.กม. (83.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด61,395 คน
 • ความหนาแน่น284.11 คน/ตร.กม. (735.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94140,
94190 (เฉพาะตำบลลางา
และหมู่ที่ 1-4 ตำบลกะหวะ)
รหัสภูมิศาสตร์9405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอมายอ ถนนยะรัง-มายอ ตำบลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี 94140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มายอ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอมายอตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ย่านเขตเทศบาลตำบลมายอ
ชุมชนในตำบลถนน
ทุ่งนาในเขตตำบลตรัง
ทิวทัศน์ภูเขาในเขตตำบลลุโบะยิไร
ชุมชนในเขตตำบลลุโบะยิไร
ถนนและการคมนาคมในเขตตำบลลุโบะยิไร

ประวัติ[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2443 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงบริเวณ 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ปรากฏชื่ออำเภอมายอขึ้นในสมัยนั้น เรียกว่า “อำเภอระเกาะ” โดยเรียกชื่อตามคลองน้ำที่อยู่ใกล้ ๆกับที่ว่าการอำเภอ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะจัน คำว่า “ระเกาะ” เป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า แรเกาะ เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า “คด” หมายถึง ลำคลองที่มีลักษณะคดเคี้ยวไปมา และมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในเขตของแขวงเมืองยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการพิจารณาเห็นว่าบริเวณสถานที่ตั้งอำเภอไม่เหมาะสม จึงย้ายอาคารที่ว่าการอำเภอมาสร้างใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น บริเวณเนินเขาในเขตเทศบาลตำบลมายอ และในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ทางกระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “อำเภอระเกาะ” มาเป็น “อำเภอมายอ”[1] เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ จวบจนถึงปัจจุบัน คำว่า “มายอ” ภาษามลายู หมายถึง “ต้นมะตูม” ภาษามลายูกลางอ่านว่า “มายา” สอดคล้องกับชื่อเมืองหมันยาในบทละครเรื่องอิเหนา หมายถึง “ต้นมะตูม” และยังได้สันนิษฐานว่า "มายอ" คำมาลายูอาจกลายเสียงจากคำเดิมในภาษาไทย คือ ชื่อหมู่บ้านในอดีตที่เป็นชุมชนใหญ่ เรียกว่า “เมืองยอน”

  • วันที่ 20 มิถุยายน 2452 สร้างสะพานข้ามคลองระเกาะ และสะพานข้ามพรุตำบลมายอ[2] ในอำเภอระเกาะ แขวงเมืองยะหริ่ง
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอระเกาะ จังหวัดปัตตานี เป็น อำเภอมายอ[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลเกาะจัน แยกออกจากตำบลมายอ ตั้งตำบลปากู แยกออกจากตำบลน้ำดำ ตั้งตำบลปะโด แยกออกจากตำบลตรัง ตั้งตำบลสะกำ แยกออกจากตำบลลางา ตั้งตำบลสาคอบน แยกออกจากตำบลสาคอ[4]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลมายอ ในท้องที่หมู่ 1,2 ของตำบลมายอ[5]
  • วันที่ 24 สิงหาคม 2516 จัดตั้งสภาตำบลน้ำดำ สภาตำบลตะโละแมะนา สภาตำบลปากู สภาตำบลมายอ (เฉพาะนอกเขตสุขาภิบาลมายอ) สภาตำบลกระหวะ สภาตำบลกระเสาะ สภาตำบลเกาะจัน สภาตำบลปานัน สภาตำบลสาคอใต้ สภาตำบลสาคอบน สภาตำบลปะโด สภาตำบลถนน สภาตำบลสะกำ และสภาตำบลลางา[6]
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2517 จัดตั้งสภาตำบลพิเทน สภาตำบลลุโบะยิไร และสภาตำบลตรัง[7]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2520 แยกพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา ตำบลน้ำดำ ตำบลปากู และตำบลพิเทน จากอำเภอมายอ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอทุ่งยางแดง[8] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอมายอ
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอมายอ เป็น อำเภอทุ่งยางแดง[9]
  • วันที่ 25 ธันวาคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลลางา สภาตำบลลุโบะยิไร สภาตำบลเกาะจัน สภาตำบลปะโด สภาตำบลกระหวะ สภาตำบลสะกำ สภาตำบลถนน สภาตำบลกระเสาะ สภาตำบลตรัง และสภาตำบลสาคอบน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลางา องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะยิไร องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน องค์การบริหารส่วนตำบลปะโด องค์การบริหารส่วนตำบลกระหวะ องค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ องค์การบริหารส่วนตำบลถนน องค์การบริหารส่วนตำบลกระเสาะ องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง และองค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน[10]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมายอ เป็นเทศบาลตำบลมายอ[11] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบสภาตำบลปานัน รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปะโด และยุบสภาตำบลสาคอใต้ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน[12] กับยุบสภาตำบลมายอ รวมกับเทศบาลตำบลมายอ[13]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอมายอแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 59 หมู่บ้าน ได้แก่

1. มายอ (Mayo) 3 หมู่บ้าน 8. เกาะจัน (Ko Chan) 5 หมู่บ้าน
2. ถนน (Thanon) 4 หมู่บ้าน 9. ปะโด (Pado) 5 หมู่บ้าน
3. ตรัง (Trang) 4 หมู่บ้าน 10. สาคอบน (Sakho Bon) 3 หมู่บ้าน
4. กระหวะ (Krawa) 5 หมู่บ้าน 11. สาคอใต้ (Sakho Tai) 4 หมู่บ้าน
5. ลุโบะยิไร (Lubo Yirai) 8 หมู่บ้าน 12. สะกำ (Sakam) 4 หมู่บ้าน
6. ลางา (La-nga) 7 หมู่บ้าน 13. ปานัน (Panan) 2 หมู่บ้าน
7. กระเสาะ (Kraso) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอมายอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมายอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมายอทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลถนน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถนนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระหวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระหวะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลุโบะยิไร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุโบะยิไรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลางา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลางาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเสาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเสาะทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะจันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปะโด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะโดและตำบลปานันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสาคอบน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาคอบนและตำบลสาคอใต้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกำทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างสะพานข้ามคลองระเกาะ และข้ามพรุตำบลมายอ รวม ๒ สะพาน ในท้องที่อำเภอระเกาะ เมืองยะหริ่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 422. June 20, 1909.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. April 29, 1917.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลมายอ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-62. January 7, 1957.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. August 24, 1973.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. May 22, 1974.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทุ่งยางแดง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (44 ง): 2177. May 24, 1977.
  9. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1994.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. December 24, 1996.
  11. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 1999.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. September 15, 2004.
  13. [1] เก็บถาวร 2019-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาลตำบล