สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) | |
---|---|
![]() | |
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
สถาปนา | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร |
พรรษา | 75 |
สถิต | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร |
ศาสนา | พุทธ |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
ประสูติ | 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 จังหวัดราชบุรี ประเทศสยาม อัมพร ประสัตถพงศ์ |
พระชนก | นับ ประสัตถพงศ์ |
พระชนนี | ตาล ประสัตถพงศ์ |
ลายพระนาม | ![]() |
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม อัมพร ประสัตถพงศ์ ฉายา อมฺพโร เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[1] โดยทรงเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม[2] เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต แม่กองงานพระธรรมทูต และนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระประวัติ[แก้]

พระชาติกำเนิด[แก้]
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อเวลารุ่งเช้าของวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ บ้านเลขที่ 28 หมู่ 1 ตำบลบางป่า อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พระชนก(บิดา) มีนามว่า นายนับ ประสัตถพงศ์ (แซ่ตั๊ง) พระชนนี (มารดา) มีนามว่า ตาล ประสัตถพงศ์ สกุลเดิม วรกี เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน คือ 1 นางสุนีย์ บูรพาพร (เสียชีวิต) 2 สมเด็จพระสังฆราชฯ 3 นางสุมนรัตน์ อ่อนโยน (เสียชีวิต) 4 พระพรหมมงคลวัชราจารย์ (ไสว วฑฺฒโน) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร จังหวัดราชบุรี 5 นางเพ็ญศรี วิเชียรทอง (เสียชีวิต) 6 นายสวัสดิ์ ประสัตถพงศ์ 7 นพ.สุนันท์ ประสัตถพงศ์ 8 นางเตือนจิตต์ มิ่งคำเลิศ และ 9 นางพิณรัตน์ เปี่ยมราศีสกุล
ในวัยเยาว์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย พระชนกพระชนนี มีบุตรธิดามาก จึงได้ฝากท่านได้เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี กับ นาวาอากาศโท ทรัพย์ วรกี ผู้เป็นลุง ซึ่งมารับราชการทหารอากาศ อยู่ที่ลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดพเนินพลูจนจบชั้น ป. 4 ในปี พ.ศ. 2480
การบรรพชาอุปสมบท[แก้]
เมื่อ พ.ศ. 2483 พระองค์ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี (เงิน นนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์[3] แล้วย้ายไปอยู่วัดตรีญาติเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม โดยมีพระครูศรีธรรมานุศาสน์ (โสตถิ์ สุมิตฺตเถร) เป็นพระอาจารย์คอยอบรมพระธรรมวินัย
ต่อมาได้ทรงเข้าพิธีผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ณ พัทธสีมาวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเทพโมลี (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระจินดากรมุนี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษาพระปริยัติธรรม[แก้]
ขณะจำพรรษาที่วัดตรีญาติ ตำบลพงสวาย สามเณรอัมพร ประสัตถพงศ์ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีในปี พ.ศ. 2483 สอบได้นักธรรมชั้นโทในปีต่อมา ถึงปี พ.ศ. 2486 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 3 ประโยค และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยคในปี พ.ศ. 2488
เมื่อ พ.ศ. 2490 ทรงย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระจินดากรมุนี นำมาฝากกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพโมลี และภายหลังอุปสมบท พระองค์ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมต่อในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จน พ.ศ. 2491 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค และ พ.ศ. 2493 สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
หลังเป็นเปรียญ 5 ประโยค พระองค์ได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นนักศึกษารุ่นที่ 5 จบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2500 และทรงเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ปี พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์
ปี พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ[4]
สมเด็จพระสังฆราช[แก้]
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชพิธีสถาปนาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 16.50 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[5]โดยนิมนต์สมเด็จพระราชาคณะ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัดทั่วราชอาณาจักร เข้าร่วมพระราชพิธี
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชฯ เสด็จลงพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ประมุขแห่งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกและนครรัฐวาติกัน ซึ่งเสด็จเยือนราชอาณาจักรไทยอย่างเป็นทางการ[6]
ตำแหน่งปัจจุบัน[แก้]
พระกรณียกิจด้านการปกครอง
- พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2550 เจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน กรรมการมหาเถรสมาคมคณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
พระกรณียกิจด้านการศึกษา
- พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พระกรณียกิจด้านการเผยแพร่
- พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน แม่กองงานพระธรรมทูต
พระเกียรติยศและพระเกียรติคุณ[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก | |
---|---|
![]() ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม พะย่ะค่ะ/เพคะ |
สมณศักดิ์[แก้]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี[7]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี ศรีปริยัติวราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ สุนทรธรรมานุนายก วิสุทธิสาธกสาธุกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรวาสนวงศวิวัฒ ศรีปริยัติกิจจานุกิจ ปาพจนวิภูษิตคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[12]
- 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปริณายก ตรีปิฎกธราจารย อัมพราภิธานสังฆวิสุต ปาพจนุตตมสาสนโสภณ กิตตินิรมลคุรุฐานียบัณฑิต วชิราลงกรณนริศรปสันนาภิสิตประกาศ วิสารทนาถธรรมทูตาภิวุฒ ทศมินทรสมมุติปฐมสกลคณาธิเบศร ปวิธเนตโยภาสวาสนวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิบูลสีลสมาจารวัตรวิปัสสนสุนทร ชินวรมหามุนีวงศานุศิษฏ บวรธรรมบพิตร สมเด็จพระสังฆราช[5]
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์[แก้]
ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ที่มหาวิทยาลัยทูลถวาย เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกมีดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2552 : ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2553 : พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2560 : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2560 : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2561 : ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
- พ.ศ. 2561 : ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- พ.ศ. 2563 : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- พ.ศ. 2564 : ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2561 :
เครื่องอิสริยาภรณ์ปัทมศรี (Padma Shri) จากรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย[13][14][15][16]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ โปรดเกล้าฯ “สมเด็จพระมหามุนีวงศ์” เป็นสังฆราช องค์ที่ 20
- ↑ "กรรมการมหาเถรสมาคม". มหาเถรสมาคม. 25 สิงหาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-27. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 248-9. ISBN 974-417-530-3
- ↑ "พิธีบำเพ็ญกุศลสมโภชสุพรรณบัฏและถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 25 สิงหาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 5.0 5.1 "พระราชโองการ ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช [สมเด็จพระมหามุนีวงศ์]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "โป๊ปเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชมีพระราชดำรัส 'โรมันคาทอลิก-พุทธจักรไทย' แน่นแฟ้นงดงาม". ไทยโพสต์. 21 พ.ย. 2562. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 88, ตอนที่ 151, วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2514, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 98, ตอนที่ 206, วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2524, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 107, ตอนที่ 242, วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2533, หน้า 2-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 112, ตอนพิเศษ 47ง, 13 ธันวาคม 2538, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 117, ตอนที่ 28 ข, 28 ธันวาคม 2543, หน้า 7-9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 127, ตอนที่ 7 ข, 9 กรกฎาคม 2553, หน้า 1-3
- ↑ Full list of Padma awardees 2018
- ↑ Padma awards 2018: Ilayaraja, Ghulam Mustafa Khan get Padma Vibhushan
- ↑ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ถวายอิสริยาภรณ์ ปัทมศรี แด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช
- ↑ เครื่องอิสริยาภรณ์ปัทมศรี อินเดียถวาย ‘พระสังฆราช’
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร), ลานธรรมจักร
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) | ![]() |
![]() สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |
สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) | ![]() |
![]() เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต (2560–ปัจจุบัน) |
![]() |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) | ![]() |
![]() เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (พ.ศ. 2551–ปัจจุบัน) |
![]() |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2470
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
- สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
- พระสาสนโสภณ
- เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- แม่กองงานพระธรรมทูต
- เจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
- เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- เปรียญธรรม 6 ประโยค
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยพาราณสี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
- บุคคลจากอำเภอเมืองราชบุรี
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยพะเยา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ภิกษุจากจังหวัดราชบุรี