มหิดลสิทธาคาร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มหิดลสิทธาคาร | |
---|---|
Prince Mahidol Hall | |
ข้อมูลทั่วไป | |
เมือง | ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม |
ประเทศ | ไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2552 - 2556 |
เจ้าของ | มหาวิทยาลัยมหิดล |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | A49 |
ข้อมูลอื่น | |
ความจุ | 2,016 ที่นั่ง |
เว็บไซต์ | |
http://www.mahidol.ac.th/princemahidolhall |
มหิดลสิทธาคาร (อังกฤษ: Prince Mahidol Hall) เป็นโถงคอนเสิร์ตและหอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ศาลายา ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557[1] โดยสามารถใช้เป็นหอแสดงดนตรี โรงละคร หอประชุม และสถานที่ประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย
มหิดลสิทธาคาร เป็นอาคารหอประชุมอเนกประสงค์ มีพื้นที่ใช้สอย 26,470 ตารางเมตร ความจุ 2,016 ที่นั่ง[2] ใช้งบประมาณก่อสร้าง 1,450 ล้านบาท ออกแบบโดยใช้แนวคิดโครงสร้างเชิงกายภาพของมนุษย์ โดยใช้ดอกกันภัยมหิดลเป็นต้นแบบ หลังคามี 2 ชั้น ชั้นในใช้วัสดุพิเศษเพื่อป้องกันเสียงจากภายนอก ส่วนหลังคาชั้นนอกใช้วัสดุทองแดง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 30 ปีหลังจากก่อสร้างเสร็จ จะค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีเขียว คล้ายกับสีของโดมบนพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต การวางระบบวิศวกรรมสวนศาสตร์ (Acoustical engineering) ของมหิดลสิทธาคารนับได้ว่าดีที่สุดในประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "มหิดลสิทธาคาร" อาคารใหม่ถอดด้าม ระบบเสียง "ท็อป" ของโลก เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
- ↑ มหิดลสิทธาคาร Thailand Philharmonic Orchestra
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหิดลสิทธาคาร
- โครงการก่อสร้างอาคารหอประชุมใหญ่ มหิดลสิทธาคาร เก็บถาวร 2014-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล
- ศูนย์ประชุมและศูนย์แสดงสินค้าในประเทศไทย
- สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2552
- สถานที่จัดงานที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2557
- สิ่งก่อสร้างในอำเภอพุทธมณฑล
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถานที่ที่ตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
- โรงละครในประเทศไทย
- สถานที่จัดแสดงดนตรีในประเทศไทย
- บทความเกี่ยวกับ สถานที่ ที่ยังไม่สมบูรณ์