อำเภอพลับพลาชัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอพลับพลาชัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phlapphla Chai |
คำขวัญ: ตำนานหลักหิน ถิ่นมโหรี มีผ้าไหมงาม ลุ่มลำตาเตียว | |
![]() แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอพลับพลาชัย | |
พิกัด: 14°43′48″N 103°10′6″E / 14.73000°N 103.16833°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 306.67 ตร.กม. (118.41 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 44,971 คน |
• ความหนาแน่น | 146.64 คน/ตร.กม. (379.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 31250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3115 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพลับพลาชัย หมู่ที่ 9 ถนนประโคนชัย-กระสัง ตำบลสะเดา อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 31250 |
![]() |
พลับพลาชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจาก มีพื้นที่กว้างขวางอยู่ห่างไกลจากอาเภอเดิมมีประชากรจานวนมากยากแก่การปกครองและพัฒนาและ เป็นชุมชนที่มีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญต่อไปในอนาคตและเพื่อเป็นการอานวยความความสะดวกและ ให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ และมีสถานที่เพียงพอที่จะจัดตั้ง สถานที่ราชการได้ สภาตาบลในขณะนั้น ซึ่งประกอบด้วย ตำบลจันดุม ตำบลสะเดา ตำบลโคกขมิ้น ตำบลป่าชัน และตำบลสำโรง จึงได้มีความคิดริเริ่ม ในการขอจัดตั้งกิ่งอำเภอ โดยเรียกชื่อว่า “กิ่งอำเภอพลับพลาชัย”
ประวัติและความเป็นมา[แก้]
อำเภอพลับพลาชัย ตั้งอยู่ระหว่าง บ้านสะเดากับบ้านพลับพลา คำว่า “พลับพลา” เป็นชื่อต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งขึ้นตามริมคลอง บึง เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง คำว่า “พลับพลา” อีกความหมายหนึ่ง บางประวัติได้อธิบายว่า กษัตริย์แห่งกรุงธนบุรีได้ส่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพและนำทัพหลวง มาสร้างพลับพลาที่พักในเขตบริเวณบ้านพลับพลาได้ปักหลักหินแสดงการขยายอาณาเขตที่บ้านมะมัง– บ้านโคกกี่ คำว่า “พลับพลาชัย” เป็นการนำคำว่า “พลับพลา” ซึ่งมาจากชื่อหมู่บ้าน “บ้านพลับพลา” มาผนวกกับคำว่า “ชัย” ซึ่ง เป็นนามคำท้ายของอำเภอประโคนชัย ซึ่งเป็นอำเภอเดิมนำมารวมกันเป็น “พลับพลาชัย”
กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2532 และจังหวัดบุรีรัมย์ได้ทำพิธีเปิดป้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอพลับพลาชัย เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2532 โดยใช้ สถานที่คือ ศาลาการเปรียญวัดบ้านสะเดา เป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอพลับพลาชัย (ชั่วคราว) และต่อมา เมื่อวันที่ 4 กรกฎา คม 2537 ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอพลับพลาชัย
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอพลับพลาชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด เดิมเคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอประโคนชัย ตั้งชื่อตามที่ตั้งของอำเภอคือบริเวณบ้านพลับพลา และนำคำว่าชัย ซึ่งเป็นท้ายชื่อของประโคนชัย มาต่อท้าย เป็น '''อำเภอพลับพลาชัย''' มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์และอำเภอกระสัง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอประโคนชัย
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอพลับพลาชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 67 หมู่บ้าน
1. | จันดุม | (Chan Dum) | 18 หมู่บ้าน | ||||||
2. | โคกขมิ้น | (Khok Khamin) | 15 หมู่บ้าน | ||||||
3. | ป่าชัน | (Pa Chan) | 10 หมู่บ้าน | ||||||
4. | สะเดา | (Sadao) | 13 หมู่บ้าน | ||||||
5. | สำโรง | (Samrong) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอพลับพลาชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพลับพลาชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสะเดา
- เทศบาลตำบลจันดุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันดุมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขมิ้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าชันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลาชัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
การศึกษา[แก้]
โรงเรียนมัธยมศึกษา[แก้]
โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม (โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ)
โรงเรียนประถมศึกษา[แก้]
ตำบลจันดุม
1. | โรงเรียนวัดบ้านจันดุม (คุรุธำรงราษฎร์อนุสรณ์) | |
2. | โรงเรียนบ้านแพงพวย | |
3. | โรงเรียนบ้านปลัด | |
4. | โรงเรียนบ้านปราสาท | |
5. | โรงเรียนวัดบ้านโคกเจริญ | |
6. | โรงเรียนบ้านตะแบก | |
7. | โรงเรียนบ้านโคกชุม |
ตำบลสำโรง
1. | โรงเรียนพุทธบารมี | |
2. | โรงเรียนวัดสำโรง | |
3. | โรงเรียนบ้านตะโกรี | |
4. | โรงเรียนบ้านประดู่ | |
5. | โรงเรียนบ้านเสม็ด |
ตำบลสะเดา
1. | โรงเรียนอนุบาลบ้านสะเดา | |
2. | โรงเรียนบ้านบุญช่วย | |
3. | โรงเรียนวัดพลับพลา | |
4. | โรงเรียนบ้านโคกโพธิ์ |
ตำบลโคกขมิ้น
1. | โรงเรียนบ้านโคกขมิ้น | |
2. | โรงเรียนวัดบ้านแสลงคง | |
3. | โรงเรียนบ้านตาแก | |
4. | โรงเรียนเขว้าศึกษา |
ตำบลป่าชัน
1. | โรงเรียนบ้านป่าชัน | |
2. | โรงเรียนบ้านมะมัง | |
3. | โรงเรียนบ้านประทัดบุวิทยา |
(รวม 23 โรงเรียน)
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |