อำเภอประโคนชัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอประโคนชัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Prakhon Chai |
![]() | |
คำขวัญ: วัฒนธรรมเลิศล้ำ เมืองต่ำปราสาทหิน ถิ่นข้าวมะลิหอม ปลาจ่อมรสดี ร้อยพันปักษี คนมีน้ำใจงาม | |
![]() แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอประโคนชัย | |
พิกัด: 14°36′24″N 103°7′18″E / 14.60667°N 103.12167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 890.121 ตร.กม. (343.678 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 134,839 คน |
• ความหนาแน่น | 151.48 คน/ตร.กม. (392.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 31140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3107 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอประโคนชัย ถนนโชคชัย-เดชอุดม ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 31140 |
![]() |
ประโคนชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด และเป็นอำเภอที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอประโคนชัยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลสองห้อง ตำบลเมืองฝาง ตำบลเสม็ด ตำบลสะแกซำ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และตำบลสำโรง ตำบลสะเดา ตำบลจันดุม ตำบลป่าชัน อำเภอพลับพลาชัย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลทุ่งมน ตำบลตานี อำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเขาดินเหนือ ตำบลหินลาด ตำบลบ้านกรวด ตำบลหนองไม้งาม ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด และตำบลตาจง อำเภอละหานทราย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลยายแย้มวัฒนา ตำบลตาเป๊ก ตำบลอีสานเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอประโคนชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 182 หมู่บ้าน
1. | ประโคนชัย | (Prakhon Chai) | 14 หมู่บ้าน | 9. | ไพศาล | (Phaisan) | 16 หมู่บ้าน | |||||||
2. | แสลงโทน | (Salaeng Thon) | 7 หมู่บ้าน | 10. | ตะโกตาพิ | (Tako Taphi) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
3. | บ้านไทร | (Ban Sai) | 12 หมู่บ้าน | 11. | เขาคอก | (Khao Khok) | 15 หมู่บ้าน | |||||||
4. | ละเวี้ย | (Lawia) | 13 หมู่บ้าน | 12. | หนองบอน | (Nong Bon) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
5. | จรเข้มาก | (Chorakhe Mak) | 18 หมู่บ้าน | 13. | โคกมะขาม | (Khok Makham) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
6. | ปังกู | (Pang Ku) | 14 หมู่บ้าน | 14. | โคกตูม | (Khok Tum) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
7. | โคกย่าง | (Khok Yang) | 9 หมู่บ้าน | 15. | ประทัดบุ | (Prathat Bu) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
8. | โคกม้า | (Khok Ma) | 9 หมู่บ้าน | 16. | สี่เหลี่ยม | (Si Liam) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอประโคนชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลประโคนชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลประโคนชัย
- เทศบาลตำบลแสลงโทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสลงโทนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลโคกม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกม้าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเขาคอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาคอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลประโคนชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประโคนชัย (นอกเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลละเวี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละเวี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้มาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้มากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปังกูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกย่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกย่างทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไพศาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะโกตาพิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโกตาพิทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกมะขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกมะขามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกตูมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประทัดบุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสี่เหลี่ยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสี่เหลี่ยมทั้งตำบล
การศึกษา[แก้]
โรงเรียนมัธยม[แก้]
1. | โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม | โรงเรียนประจำอำเภอแห่งที่ 1 | |
2. | โรงเรียนเมืองตลุงพิทยาสรรพ์ | โรงเรียนประจำอำเภอแห่งที่ 2 | |
3. | โรงเรียนไพศาลพิทยาคม | ||
4. | โรงเรียนแสลงโทนพิทยาคม | ||
5. | โรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ |
วิทยาลัยอาชีวศึกษา[แก้]
แหล่งท่องเที่ยวและประเพณี[แก้]
ปราสาทบ้านบุ[แก้]
ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ ตำบลจระเข้มาก การเดินทางใช้เส้นทางเดียวกับทางไป ปราสาทเมืองต่ำ โดยปราสาทบ้านบุจะอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 2221 ห่างจากทางแยกเข้าปราสาทเมืองต่ำไปทางประโคนชัย 1.5 กม.
ปราสาทเมืองต่ำ[แก้]
ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2478 และได้เข้ามาทำการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2539 ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งปราสาทหินเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ศิลปะขอมโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17 มีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็นปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มีองค์หนึ่งมาบดบัง ซึ่งเป็นรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาดเล็กกว่าทั้ง 4 มุม ปรางค์ประธาน ปัจจุบันมีสภาพให้เห็นเฉพาะฐานเท่านั้น โดยมีผนังเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมขนาด 7 x 7 เมตร โครงสร้าง โดยรวมนั้นมีลักษณะ เหมือนกับปรางค์บริวารทั้ง 4 องค์ จะต่างกันก็เพียงแต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้า ส่วนปรางค์บริวารไม่มี ปรางค์ประธานจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และเป็นด้านที่มีประตูเข้าสู่ภายในองค์ปรางค์เพียงด้านเดียว ส่วนที่เหลืออีก 3 ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกนั้น ทำเป็นรูปประตูหลอก จากการขุดค้นเพื่อทำการบูรณะ ปราสาทเมืองต่ำของกรมศิลปากร ได้ขุดพบหน้าบันและทับหลังของมุขปราสาทปรางค์ประธานทำจากหินทราย หน้าบันจำหลักเป็นรูปพระอินทร์ประทับนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ คือ นั่งชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายพับ เหนือช้างเอราวัณสามเศียรในซุ้มเรือนแก้วอยู่บน หน้ากาล ลักษณะของซุ้มหน้าบันนี้ เป็นศิลปะเขมรแบบบาปวน มีอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 16 ปราสาททั้ง 5 จะล้อมรอบด้วยระเบียงคดซึ่งมีทับหลังและซุ้มประตูแกะสลักด้วยหินทรายอย่างงดงาม มีสระน้ำ หรือบาราย กรุด้วยศิลาแลง ทั้ง 4 ทิศ มุมสระมีพญานาคหินทราย 5 เศียร ทอดตัวยาวรอบขอบสระน้ำ ชั้นนอกปราสาทมีกำแพงศิลาแลงอีกชั้น
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน[แก้]
ห่างจากตัวอำเภอประโคนชัยเพียง 3กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย ประโคนชัย - บุรีรัมย์ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์ที่ สวยงาม เป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินเก่า มีพื้นที่ประมาณ 3,568 ไร่ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เป็นที่จอดเครื่องบินเพื่อส่งเสบียงอาหาร และเมื่อสงครามยุติทางราชการจึงให้พื้นที่นี้เป็นสาธารณประโยชน์ และที่พักผ่อนของชาวอำเภอประโคนชัย มีนกน้ำชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พบนกที่หาได้ยากในธรรมชาติ ได้แก่ นกอ้ายงั่ว ห่านเกรย์เลกหรือห่านเทาปากสีชมพู นกกาบบัว นกเป็ดหงษ์ เป็ดดำหัวดำ ฯลฯ เป็นแหล่งดูนกน้ำที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย เป็น พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติ
เมืองโบราณแสลงโทน[แก้]
เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ในเขตบ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงหมายเลข 2445 สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทาง 25 กิโลเมตร ทางหลวงตัดผ่ากลางชุมชนโบราณ มองเห็นคันดินเป็นแนวสูงประมาณ 5-7 เมตร อยู่สองข้างทาง เมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็นรูปกลมรีวางตามแนวตะวันออก ตะวันตก มีพื้นที่ในเขตเมืองโบราณโดยประมาณทั้งสิ้น 1.19 ตารางกิโลเมตร มีคูเมืองโอบอยู่นอกคันดิน 3 ชั้น ปัจจุบันเหลือเพียงชั้นเดียว ใกล้คันดินด้านที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสลงโทนในปัจจุบัน มีเนินดินซึ่งมีก้อนหินศิลาแลงกระจัดกระจายเข้าใจว่าเคยมีศาสนสถาน แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อแสลงโทน เรียกว่า ศาลปู่เจ้าหรือกระท่อมเนียะตา เป็นศาลเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแสลงโทนและชาวบ้านใกล้เคียง สร้างด้วยไม้ระแนง หลังคามุงกระเบื้องและพื้นเป็นปูนซีเมนต์ ทั้งคูน้ำคันดิน (ที่เหลืออยู่ริมทางหลวง) และเนินดินศาลเจ้าพ่อแสลงโทน ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว นอกจากนี้ยังพบหลักฐานอื่นที่สำคัญ คือ สระน้ำโบราณรูปสี่เหลี่ยมในเขตวัดแสลงโทน 2 สระ พบเศษภาชนะดินเผา โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เทวรูปเก่าและใบเสมาเก่า ซึ่งเข้าใจว่าบริเวณนี้เคยเป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชนโบราณ
ประเพณีแห่ตาปู่แสลงโทนและประเพณีสงกรานต์โบราณแสลงโทน[แก้]
เป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดกันมาเป็น 100 ปี ซึ่งพิธีบูชาศาลเจ้าพ่อแสลงโทน หรือชาวบ้านนิยมเรียกว่าตาปู่ หรือ กระท่อมเนี๊ยะตา จัดขึ้นในช่วงประมาณเดือน เม.ย. - พ.ค. ของทุกปี เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจเป็นสิริมงคลแก่ ให้แก่ชาวบ้านรวมทั้งผู้ที่ทำเกี่ยวกับการเกษตรในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกในแต่ละปี เพื่อบันดาลให้ฝนตกมา น้ำท่าอุดมสมบูรณ์และอยู่เย็นเป็นสุข โดยงานดังกล่าวได้อัญเชิญเจ้าพ่อแสลงโทนหรือตาปู่ แห่รอบตัวหมู่บ้าน 3 วัน พร้อมทั้งมีการละเล่นที่สนุกสนานผนวกรวมกันกับประเพณีสงกรานต์โบราณ
ประเพณีแห่เทียนพรรษาประโคนชัย[แก้]
ความเป็นมาของงานแห่เทียนเข้าพรรษาของอำเภอประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ มีความเป็นมาช้านานกว่า78ปี ช่วงแรกเริ่มจะเป็นการแห่เทียนพรรษาโดยเกวียนก่อนจะแทนที่ด้วยโดยกระบะ แล้วมาเป็นรถ6ล้อหรือ10ล้อ จนปัจจุบันได้กลายมาเป็นรถห้วตัด ช่วงแรกรางวัลชนะเลิศจะเป็นน้ำมันก๊าช1ปี๊ป แห่เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ช่วงหลังมานี้เริ่มมีการแข่งขันกันสูงแต่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวอำเภอประโคนชัยไว้ ว่ากันว่างานแห่เทียนเข้าพรรษาอำเภอประโคนชัยเที่ยบชั้นงานแห่เทียนระดับประเทศ จากการจัดอันดับของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยกให้งานแห่เทียนพรรษาอำเภอประโคนชัยยิ่งใหญ่เป็นอันดับ3ของประเทศ รองจากงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่ จ.อุบลราชธานี และงานแห่เทียนเข้าพรรษาที่ จ.นครราชสีมา
อุทยานน้ำหนองระแซซัน[แก้]
เป็นบึงน้ำและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนในพื้นที่ เส้นทางโดยรอบเปิดตลอด 24 ชั่วโมง พื้นที่ออกกำลังที่เกาะกลางบึง จะเปิดปิดเป็นเวลา เช้าและเย็น หรือ หากมีการใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรม เส้นทางรอบบึงน้ำ มีความร่มรื่น โดยรอบมีร้านอาหาร
อ้างอิง[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |