ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอบ้านกรวด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบ้านกรวด
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ban Kruat
คำขวัญ: 
เมืองโลหกรรมลือเลี่อง เครื่องเคลือบโบราณ
ตำนานแหล่งหินตัด ทิวทิศน์ช่องโอบกงามตา
เขื่อนเมฆาเย็นสบาย ชายแดนพนมดงรัก
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอบ้านกรวด
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอบ้านกรวด
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด583.9 ตร.กม. (225.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด76,967 คน
 • ความหนาแน่น131.82 คน/ตร.กม. (341.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 31180
รหัสภูมิศาสตร์3108
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบ้านกรวด เลขที่ 54
หมู่ที่ 4 ถนนมะลิกรอง ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 31180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บ้านกรวด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศใต้ เดิมเคยเป็นพื้นที่การปกครองของอำเภอประโคนชัย

ประวัติ

[แก้]

อำเภอบ้านกรวด เดิมเป็นท้องที่มีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอประโคนชัย ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยมีเขตการปกครอง 1 ตำบล คือตำบลบ้านกรวด และต่อมาได้มีพระราชกฤษฏีกายกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในช่วงปี พ.ศ. 2518 อยู่ในระหว่างเหตุการณ์ที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กำลังทำสงครามกองโจรหรือสงครามประชาชนกับกำลังของพลเรือน ตำรวจ ทหารของรัฐบาลไทย โดยกำลังของฝ่ายคอมมิวนิสต์ไทยร่วมกับกัมพูชา (เขมรแดง) เข้ามาก่อกวนเผาบ้านเรือนราษฎร วางกับระเบิดไว้ตามเส้นทางในหมู่บ้านหรือเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ทำกินของราษฎร เพื่อสกัดกั้นการเข้าปราบปรามของกำลังฝ่ายรัฐบาลไทย ซุ่มยิงกำลังฝ่ายรัฐบาลไทยและราษฎรที่เป็นฝ่ายของรัฐบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและราษฎรได้รับบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้ปรับสภาพหมู่บ้านขึ้นใหม่เป็นกลุ่ม ๆ ประมาณ 100 หลังคาเรือน แล้วฝึกราษฎรตามโครงการไทยอาสาป้องกันชาติ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - กัมพูชา ใช้กำลังราษฎรเหล่านั้นผสมกับกำลังพลเรือน ตำรวจภูธร ตำรวจตระเวนชายแดน ทหาร อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เข้าปราบปรามและตอบโต้การแทรกซึม บ่อนทำลายของคอมมิวนิสต์ รวมทั้งยับยั้งการรุกล้ำอธิปไตยของไทยจากฝ่ายเขมรแดง จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2525 เหตุการณ์ดังกล่าวจึงค่อยสงบลง และได้มีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 อำเภอบ้านกรวดเป็นอำเภอแรกในประเทศไทยที่มีการประกาศ "พื้นที่ประสบภัยพิบัติอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ" ทั้งอำเภอ จากความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอบ้านกรวดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอบ้านกรวดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 9 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านกรวด (Ban Kruat) 16 หมู่บ้าน 6. หินลาด (Hin Lat) 9 หมู่บ้าน
2. โนนเจริญ (Non Charoen) 11 หมู่บ้าน 7. บึงเจริญ (Bueng Charoen) 13 หมู่บ้าน
3. หนองไม้งาม (Nong Mai Ngam) 15 หมู่บ้าน 8. จันทบเพชร (Chanthop Phet) 13 หมู่บ้าน
4. ปราสาท (Prasat) 14 หมู่บ้าน 9. เขาดินเหนือ (Khao Din Nuea) 11 หมู่บ้าน
5. สายตะกู (Sai Taku) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านกรวดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลตลาดนิคมปราสาท ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปราสาท
  • เทศบาลตำบลบ้านกรวด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านกรวดและตำบลปราสาท
  • เทศบาลตำบลบ้านกรวดปัญญาวัฒน์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกรวด (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรวด)
  • เทศบาลตำบลหนองไม้งาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไม้งามทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลจันทบเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันทบเพชรทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโนนเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลโนนเจริญทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบึงเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงเจริญทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปราสาท ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปราสาท (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกรวดและเทศบาลตำบลตลาดนิคมปราสาท)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสายตะกู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายตะกูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาดินเหนือทั้งตำบล

สถานที่

[แก้]
  • เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่
    พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด เปิดทำการวันแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2550 ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร 144 หมู่ 4 ตำบลปราสาท สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวด เก็บรวบรวมเครื่องเคลือบโบราณอายุมากกว่าหนึ่งพันปีที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด และจัดแสดงให้นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ประชาชนผู้สนใจได้เข้าชม และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของอำเภอบ้านกรวด ซึ่งในอดีตอำเภอบ้านกรวดเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบโบราณที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอม
  • แหล่งหินตัด จังหวัดบุรีรัมย์ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กม. เป็นลานหินกว้างเกือบ 2,000 ไร่ ใกล้ชายแดนติดกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีร่องรอยการตัดหิน เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่าง ๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ
  • เตานายเจียน เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ และไหต่าง ๆ
  • เขื่อนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528
    เตาสวาย เป็เตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกใหญ่ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
  • จุดผ่อนปรนชายแดนช่องสายตะกู ตั้งอยู่ในเขต เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นตลาดค้าขายติดชายแดนบนเทือกเขาพนมดงรัก ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าบริเวณชายแดนได้
  • สวนป่าบ้านกรวด เป็นผืนป่าที่มีการปลูกขึ้น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สามารถชมธรรมชาติได้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติตาพระยา ส่วนหนึ่งของผืนป่ามรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
    ปราสาทถมอ ปราสาทหินเก่าแก่สันนิษฐานว่าเป็นธรรมศาลา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
  • เขื่อนห้วยเมฆา เป็นการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดนชายไทย-กัมพูชา บริเวณช่องเขาเมฆาเพื่อใช้น้ำในทางการเกษตรกร โดยได้รับงบประมาณจากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2528
  • พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย เป็นที่เก็บรวบรวมวัตถุโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตตำบลบึงเจริญ
  • ผึ้งร้อยรัง เป็นสถานที่ที่ผึ้งจะมาทำรังบนต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นร้อย ๆ รัง พร้อมทั้งสามารถเรีบนรู้วัฒนธรรมในชุมชน ในโครงการ OTOP นวัตวิถีระดับประเทศ
  • ปราสาททอง
    ปราสาทถมอ ปราสาทถมอ ปราสาทหินเก่าแก่สันนิษฐานว่าเป็นธรรมศาลา สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
  • ปราสาททอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาดสดเทศบาลตำบลบ้านกรวด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 16 มีการขุดพบทับหลังในสภาพสมบูรณ์
  • ปราสาทละลมทม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16
  • ปราสาทบายแบก ตั้งอยู่ที่บ้านสายโท 5 เทศบาลตำบลจันทบเพชร เป็นปราสาทขอมที่ติดชายแดนที่สุดในจังหวัดบุรีรัมย์ มีลักษณะพิเศษคือ เป็นปราสาทที่หันหน้าทางทิศตะวันตก

ประเพณี

[แก้]
  • งานเครื่องเคลือบพันปี ประเพณีบ้านกรวด จัดขึ้นในต้นเดือนเมษายนของทุกปี ที่สนามหน้าอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในงานมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ การประกวดเครื่องเคลือบจำลอง การแสดงวัฒนธรรม ท้องถิ่นไทย-กัมพูชา การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน

สมุดภาพ

[แก้]