ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8975211 สร้างโดย 124.122.136.35 (พูดคุย) ใช้ชื่ออังกฤษตามเว็บมหาวิทยาลัย
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 84: บรรทัด 84:


* [[นิคเนอร์เนค จิตเอกชัยกาญนนท์ ]] นักร้อง นักแสดง
* [[นิคเนอร์เนค จิตเอกชัยกาญนนท์ ]] นักร้อง นักแสดง
* [[ศ.ดร.นพ.นนทชัย เอกจิต]] อธิการบดี[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนครบาลพิเศษเจ้าคุณนนท์ภาคตะวันตก]]
* [[ศ.ดร.นพ.นนทชัย เอกจิต]] อธิการบดี[[มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช]]
* [[แมนทชัย สาระดี]] พ.ศ. 2551-2555
* [[แมนทชัย สาระดี]] พ.ศ. 2551-2555
* [[นนทชัย เอกจิตพิสัย]] นักการเมือง นักแสดง
* [[นนทชัย เอกจิตพิสัย]] นักการเมือง นักแสดง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:52, 1 สิงหาคม 2563

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
ไฟล์:RMUTP Logo-2.png
ชื่อย่อRMUTP
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548 (19 ปี)
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ไชยยศ เหมะรัชตะ
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ สุภัทรา โกไศยกานนท์[1]
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ สุภัทรา โกไศยกานนท์[1]
ที่ตั้ง
ศูนย์เทเวศร์
เลขที่399 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ศูนย์โชติเวช
เลขที่ 168 ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
ศูนย์พณิชยการพระนคร
เลขที่ 88 ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
เลขที่ 517 ถนนนครสวรรค์ แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

ศูนย์พระนครเหนือ
เลขที่ 1381 ถ.พิบูลสงคราม แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
สี██ สีม่วง
มาสคอต
บัวฉลองขวัญ
(ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย)
เว็บไซต์www.rmutp.ac.th
ไฟล์:RMUTP Logo-3.png

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon) เน้นการจัดการศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า แฟชั่น อาหาร การบริหารจัดการ และทักษะด้านธุรกิจ สามารถปฏิบัติงานได้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้สามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพ

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ประวัติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ในสายตาของคนทั่วไป แต่ความจริงแล้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และจัดเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพมาเป็นเวลาช้านาน จากเดิมที่รวมอยู่กับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสายวิชาชีพ อันประกอบด้วยวิทยาเขตต่าง ๆ มากกว่า 35 วิทยาเขตทั่วประเทศ และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนสถานภาพจาก สถาบัน มาเป็น มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้มีการรวมกลุ่มวิทยาเขตในสังกัดแยกออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย และหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่แยกอิสระออกมา ก็คือ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร”

จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยวิทยาเขตเดิม 5 แห่ง ที่มีพื้นที่ไม่ห่างไกลกันนัก ได้แก่

  • วิทยาเขตเทเวศร์ ปัจจุบันคือ ศูนย์เทเวศร์ เป็นที่ตั้งของ สำนักงานอธิการบดี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
  • วิทยาเขตโชติเวช ปัจจุบันคือ ศูนย์โชติเวช เป็นที่ตั้งของ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
  • วิทยาเขตพณิชยการพระนคร ปัจจุบันคือ ศูนย์พณิชยการพระนคร เป็นที่ตั้งของ คณะบริหารธุรกิจ และคณะศิลปศาสตร์
  • วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ปัจจุบันควบรวมเข้ากับศูนย์พณิชยการพระนคร เป็นที่ตั้งของ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
  • วิทยาเขตพระนครเหนือ ปัจจุบันคือ ศูนย์พระนครเหนือ เป็นที่ตั้งของ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์

รายนามอธิการบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ดวงสุดา เตโชติรส 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[2] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ผศ.จุฑามาศ พีรพัชระ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
รศ.ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
2. รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 (รักษาราชการแทน)
1 ธันวาคม พ.ศ. 2557[3] - ปัจจุบัน

คณะ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร แบ่งการจัดการเรียนการสอน ออกเป็น 9 คณะ ได้แก่

มหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ในอันดับที่ 4,041 และอันดับที่ 33 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[4]

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัย

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร