โรงเรียนอมตวิทยา

พิกัด: 15°44′13″N 102°47′36″E / 15.7370192°N 102.79332°E / 15.7370192; 102.79332
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนอมตวิทยา
Amata Wittaya School

Amata Wittaya School
ที่ตั้ง
121 ถนนประชาพัฒนา หมู่ที่ 4 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น 40190
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.ม. / A.M.
ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญ"เรียนดี กีฬาเด่น มุ่งเน้นคุณธรรม"
สุวิชาโน ภวํ โหติ
(ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ)
สถาปนาพ.ศ. 2500
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
กระทรวงศึกษาธิการ
ผู้อำนวยการดร.รัตนาภรณ์ สมบูรณ์
สี   สีขาว สีแดง
เพลงมาร์ชอมตวิทยา
เว็บไซต์www.amt.ac.th

โรงเรียนอมตวิทยา (อังกฤษ: Amata Wittaya School) โรงเรียนอมตวิทยาเป็นโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยนายหรู อมตวงศ์ เป็นผู้รับใบอนุญาต ในระยะเริ่มแรกได้ไปอาศัยศาลาการเปรียญวัดรัตนนิมิตเป็นที่ทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2503 กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 นายหรู อมตวงศ์ ถึงแก่กรรม บุตรสาว คือ นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ ได้รับโอนกิจการดำเนินการแทน ปัจจุบันโรงเรียนอมตวิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 121 หมู่ 4 ถนนประชาพัฒนา ตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น บนพื้นที่จำนวน 32 ไร่ เปิดสอน 3 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา ขนาดกลาง ปีการศึกษา 2543 ระดับมัธยมศึกษา ขนาดกลาง ปีการศึกษา 2546 ระดับก่อนประถมศึกษา ปีการศึกษา 2548 ระดับมัธยมศึกษา ขนาดกลาง ปีการศึกษา 2550 และระดับก่อนประถมศึกษา ปีการศึกษา 2552[1]

สัญลักษณ์โรงเรียน[แก้]

อักษรย่อของโรงเรียน[แก้]

  • ใช้อักษรย่อภาษาไทยว่า อ.ม. ซึ่งย่อมาจาก “โรงเรียนอมตวิทยา”
  • ใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษว่า A.M. ซึ่งย่อมาจาก “AMATA WITTAYA SCHOOL”

สีประจำโรงเรียน[แก้]

   สีขาว สีแดง

  •   สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ มีกริยามารยาทที่เรียบร้อย
  •   สีแดง หมายถึง ความเป็นผู้นำที่เก่งกล้า และมีความสามารถในด้านต่าง ๆ

ต้นไม้ประจำโรงเรียน[แก้]

  • ต้นคูณ หมายถึง ความเป็นศิริมงคล ค้ำจุน กิจการของโรงเรียน ให้มีความเจริญ ก้าวหน้า ความยั่งยืน ความมั่นคงสืบไป[2]

อมตวิทยาจะแบ่งออกเป็น 4 สี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลประวัติโรงเรียนอมตวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-14. สืบค้นเมื่อ 2017-08-11.
  2. "ข้อมูลปสัญลักษณ์โรงเรียนอมตวิทยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-22. สืบค้นเมื่อ 2017-08-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

15°44′13″N 102°47′36″E / 15.7370192°N 102.79332°E / 15.7370192; 102.79332