อำเภอชุมแพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอชุมแพ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chum Phae
โรงพยาบาลชุมแพ
คำขวัญ: 
หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่า
อารยธรรมโนนเมือง ลือเลื่องเศรษฐกิจ
ติดตาผานกเค้า เข้าชมถ้ำผาพวงบวงสรวงปู่หลุบ
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอชุมแพ
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอชุมแพ
พิกัด: 16°32′39″N 102°5′59″E / 16.54417°N 102.09972°E / 16.54417; 102.09972
ประเทศ ไทย
จังหวัดขอนแก่น
พื้นที่
 • ทั้งหมด510.9 ตร.กม. (197.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด122,730 คน
 • ความหนาแน่น240.22 คน/ตร.กม. (622.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 40130,
40290 (เฉพาะตำบลโนนหัน นาหนองทุ่ม หนองเขียด และโนนสะอาด)
รหัสภูมิศาสตร์4005
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอชุมแพ หมู่ที่ 1
ถนนมลิวรรณ ตำบลชุมแพ
อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น 40130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชุมแพ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น โดยนับว่าเป็นพื้นที่ 1 ใน 4 อำเภอที่มีเศรษฐกิจเติบโตรองจากตัวเมืองขอนแก่น เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง โดยแยกออกมาตั้งเป็นอำเภอตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2486[1] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอชุมแพตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นประมาณ 82 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ลักษณะบ้านเรือนของชาวบ้านชุมแพในอดีต

บ้านชุมแพเริ่มก่อตั้งมาเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๒๗๐ ตามหนังสือที่นายเคน พุทธาศรี อดีตกำนันตำบลชุมแพสืบค้นเขียนไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๐ แต่วัดโพธิ์ธาตุ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๒๑ และมีเจ้าอาวาสรูปแรกคือ พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช (๒๒๒๑-๒๒๔๘) ตามหนังสือทะเบียนวัดภาคเก้า กรมการศาสนาและเว็บไซต์พระสังฆาธิการ พระพุทธศาสนา ซึ่งขัดต่อหนังสือที่นายเคน พุทธาศรีได้สืบค้นไว้ ซึ่งก็ยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ ช่วงเวลาต่างกันประมาณ ๔๙ ปี จึงได้สันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นวัดและชุมชนเก่ามาก่อน มีหลักฐานคือเจดีย์(ธาตุ)เก่าและวัตถุโบราณต่างๆรอบบริเวณ คนยุคนั้นคงจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใดนั้นก็ไม่ทราบปล่อยให้เป็นวัดร้างและชุมชนร้าง ก่อนที่กลุ่มของบรรพบุรุษบ้านชุมแพจะมาตั้งบ้านถิ่นฐาน

เมื่อนานมาแล้วมีพระธุดงค์รูปหนึ่ง นามว่า พระญาคูหงส์ หงฺสเตโช ได้เดินธุดงค์มาพบเจดีย์(ธาตุ)โบราณ ทั้งหมด ๓ องค์ องค์ใหญ่มีลักษณะรูปทรงคล้ายใบโพธิ์ สูงตั้งเด่นเป็นสง่าแลดูงามตายิ่งน่าเคารพเลื่อมใสและยังได้ค้นพบโบราณวัตถุต่างๆ จึงตั้งชื่อวัดว่า "วัดโพธิ์ธาตุ" (เพราะว่ามีธาตุที่มีลักษณะรูปทรงคล้ายใบโพธิ์) ประกอบกับโดยรอบมีพื้นที่เป็นโคกเป็นดอน(เนิน)ส่วนทางฝั่งทิศตะวันตกมีลำห้วย ทิศตะวันออกมีหนองน้ำขนาดใหญ่ ทางทิศตะวันตกเป็นที่ลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตร โดยรอบอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับตั้งบ้านตั้งถิ่นฐาน พระญาคูหงส์จึงได้กลับไปชักชวนญาติพี่น้องญาติโยม ได้แก่ย่าขาว สามีชื่อศรีสุทอและเพื่อนบ้านย้ายถิ่นฐานตั้งบ้านใหม่(ย้ายออกมาจากกลุ่มบ้านกุดแห่ที่พึ่งตั้งหมู่บ้านได้ไม่นานในเวลาไล่เรี่ยกัน) โดยได้ตั้งบ้านเรือนที่แรกอยู่ที่คุ้มกลางฝั่งทางทิศตะวันตกของวัดโพธิ์ธาตุ ปีเริ่มแรกมีเพียง ๖ หลังคาเรือน พื้นที่โดยรอบบ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์ นานเข้าจึงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อยๆจากทั่วทุกสารทิศ

ทางฝั่งทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีลำห้วยขนาดใหญ่ ภาษาพื้นบ้านเรียก "กุด" กุดมีน้ำใสไหลเย็นและน้ำลึก ริมตลิ่งทั้งสองฝั่งมีต้นกอไผ่ขึ้นหนาแน่น มีจระเข้ชุกชุม โดยรอบเป็นพื้นที่ป่าทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย อาทิ ควายป่า วัวป่า อง มั่ง อีเก้ง หมูป่า ฯลฯ และมีสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลามากมาย สมัยก่อนนั้นชาวบ้านจะจับปลาด้วยหอกแหลมหลาวไม่มีแหน้ำลึกเพราะไม่สะดวกในการจับปลา ชาวบ้านต้องตัดลำไผ่นำมาทำเป็นแพหลายๆลำแล้วตีวงล้อมเข้าหากันเป็นกลุ่ม ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า "ซุมแพ" (คือการรวมแพเข้าหากัน) นานเข้าจึงเรียกลำห้วยนี้ว่า กุดซุมแพ แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ บ้านชุมแพ จนถึงปัจจุบัน อีกตำราบ้างก็ว่าชาวบ้านตัดลำไผ่มาทำเป็นแพประมาณ ๒๐-๓๐ ลำ ทำเป็น ๒ ชั้น ๓ ชั้น แพลำหนึ่งคนสามารถบรรทุกคนได้ ๓-๔ คน เอาล่องลงไปตามลำห้วยเพื่อหาปลา หลายคนทำหลายแพแล้วนำมาพักมาจอดซุมกันเป็นจุด (คือการจอดรวมแพเป็นจุด) นานเข้าจึงเรียก "กุดซุมแพ" แต่มีการเรียกเพี้ยนไปตามยุคสมัยภาษาไทยกลางเป็น "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"

ทางฝั่งทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีหนองน้ำขนาดใหญ่ น้ำใสและมีบัวขึ้นชุกชุม ใช้เป็นสถานที่จัดเทศกาลต่างๆในหมู่บ้าน เช่น เทศกาลลอยกระทง การจัดการแข่งขันพายเรือเนื่องในวันออกพรรษา การจัดมหรสพหมอลำกลอน หมอลำเพลิน รำวงย้อนยุค ชกมวย ฉายหนังกลางแปลง และอื่นๆ ชาวบ้านเรียกว่า หนองอีเลิง เหตุผลที่เรียกหนองอีเลิงก็เพราะว่า หนองน้ำมีลักษณะเป็นเลิ้งตามธรรมชาติทางฝั่งทิศตะวันออกเป็นป่าทึบ (ภาษาพื้นบ้านเรียก "หนองอี่เลิง" หรือ หนองอีเลิง ในปัจจุบัน เพี้ยนไปตามยุคตามสมัยภาษาไทยกลาง) ปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ สมัยขุนราชาเป็นกำนันตำบลชุมแพ ได้เกณฑ์ชาวบ้านปิดกั้นเป็นคันคูกักเก็บไว้บริโภคใช้สอย โดยนักธรณีวิทยาเคยมาสำรวจ พบว่าหนองอีเลิงและหนองน้ำในบริเวณใกล้เคียงเคยเป็นหลุมเกลือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปัจจุบันหนองอีเลิงมีพื้นที่คับแคบลงเนื่องจากได้ทับถมเป็นพื้นที่ใช้สอยสาธารณะ

ทางฝั่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน มีหนองน้ำขนาดกลาง  มักมีนกเป็ดน้ำอาศัยชุกชุมหากินมากมาย มีลักษณะเป็นโสกร่องน้ำใส เมื่อในยามหน้าแล้งน้ำลด พบว่าคูโสกยังมีหลุมน้ำลึกลงไปอีกชั้น เหมือนเป็นคูน้ำ 2-3 ชั้น พอหมู่บ้านชุมแพขยายไปยังทิศเหนือมากขึ้น บ้านเรือนก็หนาแน่นขึ้น ชาวบ้านทางคุ้มเหนือขาดน้ำใช้สอยจึงได้ไปตักน้ำที่คูโสกใช้อุปโภคบริโภค สมัยคุณราชาเป็นกำนันตำบลชุมแพได้เกณฑ์ชาวบ้านปิดกั้นเป็นคันคูน้ำน้ำกักเก็บไว้อุปโภคบริโภค

เดิมสุขาภิบาลชุมแพได้ตราประจำประกอบด้วยสัญญาลักษณ์เป็นเจดีย์ใบโพธิ์ และคลื่นฟองน้ำอยู่ภายในวงกลม ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลชุมแพขึ้นอีก เปลี่ยนตราประจำสำนักงานเทศบาลตามที่กรมศิลปากรออกแบบให้ตราใหม่มีสัญลักษณ์เป็นวงกลม มีรูปเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีประทับอยู่บนแพ มือขวาถือลูกธนู มือซ้ายถือคันธนู มีนายทหารคนสนิท 2 นาย นั่งถือธงปลายหอกอยู่คนละข้าง (ประกาศเทศบาลตำบลชุมแพ วันที่ 23 มีนาคม 2530)สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปปราบฮ่อในเมืองพวนเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหกดังนี้ 1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นแม่ทัพฝ่ายใต้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองหนองคาย 2. เจ้าหมื่นไวยวรนาถ (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เป็นแม่ทัพฝ่ายเหนือยกกองทัพขึ้นไปทางหลวงพระบาง โดยให้ยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2428 (ยงศิลป และโขมพัตร เรืองศุข 2540 : 180) จากประวัติการยกทัพครั้งนี้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกกองทัพขึ้นไปทางเมืองพิชัย เมืองน่าน เมืองหลวงพระบาง เมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ตลอดจนถึงเมืองสิบสองจุไทย แสดงว่าไม่ได้ยกกองทัพผ่านบ้านชุมแพเลย

บ้านชุมแพตั้งอยู่บนทำเลที่อุดมสมบูรณ์จึงมีผู้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นเรื่อยๆ เดิมบ้านชุมแพเป็นชุมชนขนาดใหญ่ หมู่บ้านชุมแพแบ่งได้เป็น ๓ คุ้มมี ๓ วัด ได้แก่ วัดเหนือ โดยมี พระอาจารย์พุทธา นำพาชาวบ้านสร้างวัด(ปัจจุบันเป็นที่ทำการประปาส่วนภูมิภาคสาขาชุมแพและรอบบริเวณ) วัดกลาง(วัดโพธิ์ธาตุ) และ วัดใต้ โดยมี พระอาจารย์คล้อย(ฮ้อย) อาจารย์ซาจวงและพ่อพานสิงห์ นำพาชาวบ้านสร้างวัด (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนบ้านชุมแพ) วัดเหนือได้ถูกรื้อถอนไปนานแล้วส่วนวัดใต้ได้ถูกทิ้งร้างเหลือคงไว้แค่โบราณสถาน(โนนกู่)ปัจจุบันอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านชุมแพ

การกระจายหมู่บ้านของบ้านชุมแพ ประมาณปีชวดพุทธศักราช ๒๔๕๕ ในวันเพ็ญเดือน ๔ เวลาประมาณเที่ยงวันได้มีไฟไหม้ต้นกอไผ่บริเวณทิศใต้ของหนองอีเลิง ติดรังมดแดงใหญ่ลมพัดรังมดแดงไปติดปลายต้นไม้เชือกแห้งบริเวณร้านซินไล่ฮะในปัจจุบัน ลมได้พัดเศษไฟไปตกหลังคาเรือนหลังคายุ้งฉางที่มุงหญ้าของนายสีหาค้งหลังแรก ทำให้ไฟลุกลามไปทางคุ้มเหนือตลอดจนไปถึงวัดเหนือและลุกลามไปทางคุ้มใต้ ชาวบ้านที่ถูกไฟไหม้บ้านเรือนเดือดร้อนมากเพราะไม่มีที่อยู่อาศัย การที่จะสร้างบ้านเรือนใหม่ต้องใช้ทรัพยากรและเวลานาน จึงแยกไปอยู่ตามไร่นาของใครของมัน บ้างผู้ที่มีนาอยู่ทางบ้านโคกก็ไปอยู่บ้านโคก ผู้มีนาอยู่ทางบ้านวังหูกวางก็ไปอยู่บ้านวังหูกวางผู้มีนาอยู่ทางบ้านหนองหว้าก็ไปอยู่บ้านหนองหว้า ผู้มีนาอยู่ทางบ้านหนองใสก็ไปอยู่บ้านหนองใส ผู้มีนาอยู่ทางบ้านนาโพธิ์ก็ไปอยู่บ้านนาโพธิ์ ชาวบ้านชุมแพได้แตกแยกกันไปที่หัวไร่ปลายนาของตน บ้างก็ไปอยู่กับหมู่บ้านอื่นๆ เช่น บ้านวังหินลาด ฯลฯ บ้างก็แยกอยู่รวมกลุ่มใกล้กันจนตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ อาทิเช่น บ้านหนองไผ่ใต้ บ้านกุดเข้ บ้านสว่างวารี บ้านศรีมงคล บ้านหัวหนอง บ้านพรานราษฎร์ บ้านหนองตาไก้ เป็นต้น

ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น) ได้มาตรวจที่ ประกอบกับระยะนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอชุมแพ โดยยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่

การเสนอการจัดตั้งจังหวัดชุมแพ[แก้]

ภาพพื้นที่โครงการจัดตั้งจังหวัดชุมแพ แยกออกจากจังหวัดขอนแก่น

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 มีมติเห็นชอบรายงานเรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงมหาดไทยเสนอ แต่ก็ไม่ได้มีการจัดตั้งจังหวัด

ต่อมาประชาชนในพื้นทียื่นคำขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดภูเวียง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อแยก อำเภอภูเวียง (ปัจจุบันแยกเป็น 2 อำเภอ คือ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า) อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ อำเภอภูผาม่าน และอำเภอหนองนาคำ รวมกันขึ้นเป็น จังหวัดภูเวียง โดยมีผู้เข้าชื่อเสนอร่างจำนวนประมาณ 70,000 คน ซึ่งเกินจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่ปัจจุบันยังไม่ได้รับการพิจารณา

ก่อนหน้านี้ มึความพยายามผลักดันให้มีการก่อตั้งจังหวัดชุมแพ แต่เมื่อถึงขั้นตอนลงประชามติ พบว่ามีผู้ลงชื่อไม่ถึงจำนวน 5 หมื่นคน ทำให้ พรบ.จัดตั้งจังหวัดชุมแพตกไป[2] ในเวลาต่อมาจึงได้มีความพยายามผลักดันให้อำเภอภูเวียงเป็นศูนย์กลางของจังหวัดใหม่อีกครั้ง[3][4]

ในปี พ.ศ. 2555 นายสุชาย ศรีสุรพล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดชุมแพ พ.ศ. ... ต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสาระสำคัญในการยกฐานเป็นจังหวัดชุมแพ ประกอบด้วย อำเภอชุมแพ อำเภอภูเวียง อำเภอเวียงเก่า อำเภอสีชมพู อำเภอหนองนาคำ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ[5] แต่ในปี 2563 กรมการปกครองได้ออกหนังสือชี้แจง กรณีการแชร์ข้อความการจัดตั้งจังหวัดใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางสังคมออนไลน์ ว่าการจัดตั้งจังหวัดใหม่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด กรมการปกครองขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด[6]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอชุมแพแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 12 ตำบล 148 หมู่บ้าน ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน ระยะทางจาก
ที่ว่าการอำเภอ
(กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2562)
จำนวนหมู่บ้าน
(ธันวาคม 2562)
ชุมแพ Chum Phae - 21,708 18
โนนหัน Non Han 14 6,712 10
หนองเขียด Nong Khiat 20 7,075 10
โนนสะอาด Non Sa-at 12 8,327 9
ขัวเรียง Khua Riang 16 9,124 12
หนองไผ่ Nong Phai 4 21,752 19
ไชยสอ Chai So 3 9,058 10
วังหินลาด Wang Hin Lat 14 8,959 12
นาเพียง Na Phiang 20 8,547 14
นาหนองทุ่ม Na Nong Thum 32 9,295 13
หนองเสาเล้า Nong Sao Lao 26 31,353 10
โนนอุดม Non Udom 18 6,808 11
ทั้งหมด 124,079 148

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอชุมแพประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองชุมแพ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลชุมแพ ตำบลหนองไผ่ และตำบลไชยสอ
  • เทศบาลตำบลโนนหัน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนหันและตำบลโนนสะอาด
  • เทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนอุดมและตำบลขัวเรียง[7]
  • เทศบาลตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ (นอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)
  • เทศบาลตำบลหนองเสาเล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเสาเล้าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนาเพียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเพียงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโนนสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสะอาด (นอกเขตเทศบาลตำบลโนนหัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมแพ (นอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนหัน (นอกเขตเทศบาลตำบลโนนหัน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหนองทุ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนอุดม (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขัวเรียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขัวเรียง (นอกเขตเทศบาลตำบลโคกสูงสัมพันธ์)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไชยสอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไชยสอ (นอกเขตเทศบาลเมืองชุมแพ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังหินลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหินลาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเขียด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเขียดทั้งตำบล

ทำเนียบรายนามนายอำเภอชุมแพ[แก้]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายพิชญ์ พรหมนาท 3 ส.ค.2486 - 4 ก.ย.2489
2 นายสมัย เวชพันธุ์ 1 ม.ค.2490 - 10 เม.ย.2495
3 ร.ต.ท.มุข ประเสริฐวงษ์ 8 ส.ค.2495 - 3 มี.ค.2498
4 นายเติม สาสนะสิทธิ์ 8 มี.ค.2498 - 1 มิ.ย.2505
5 นายจอม แสงพันธุ์ 1 มิ.ย.2505 - 1 ก.ค.2507
6 นายเปรมศักดิ์ วิเชียรภักดี 1 ก.ค.2507 - 23 ก.พ.2509
7 นายบุญธรรม ใจรักพันธุ์ 3 มิ.ย.2509 - 3 พ.ค.2512
8 นายศานิต คำหงษา 5 พ.ค.2512 - 28 พ.ค.2515
9 นายเล็ก ราฃมณี 28 พ.ค.2515 - 1 มิ.ย.2519
10 ร.ต.ถวัลย์ พิทักษ์วงค์ 1 มิ.ย.2519 - 30 พ.ย.2522
11 นายจำนูญ กาวิละ 1 ธ.ค.2522 - 31 พ.ค.2524
12 ร.ท.วินัย บุณยรัตผลิน 1 มิ.ย.2524 - 4 ต.ค.2527
13 ร.ต.ทรงศักดิ์ คุณอุดม 8 ต.ค.2527 - 19 เม.ย.2529
14 นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ 20 เม.ย.2529 - 2 ธ.ค.2531
15 นายบุญเลิศ เนินทอง 6 ธ.ค.2531 - 3 ธ.ค.2533
16 นายประจญ ชนะโรค 3 ธ.ค.2533 - 13 ต.ค.2539
17 นายสงคราม สุขสะอาด 14 ต.ค.2539 - 3 พ.ค.2541
18 นายศิลป์ ชื่นนิรันดร์ 4 พ.ค.2541 - 30 ก.ย.2546
19 นายวีระพล สุพรรณไชยมาตย์ 6 ต.ค.2546 - 23 ต.ค.2550
20 นายสมชาย มีสิงห์ 24 ต.ค.2550 - 30 ก.ย.2552
21 นายปิยิน ตลับนาค 25 ม.ค. 2553 - 12 ม.ค 2557
22 นายอาทิตย์ นพคุณวงศ์ 13 ม.ค. 2557 - 6 พ.ย. 2558
23 นายพันธ์เทพ เสาโกศล 7 พ.ย. 2558 - 14 พ.ย. 2561
24 นางสุภาวดี ศรีสุขวัฒน์ 15 พ.ย. 2561 - ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

อำเภอชุมแพมีเนื้อที่ทั้งหมด 318,750 ไร่ พื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง ทิศเหนือมีภูเขาสูงและที่ราบสูงลาดเอียงไปทางทิศใต้ บริเวณทางทิศใต้มีลำน้ำเชิญเป็นเส้นกั้นอาณาเขตระหว่างอำเภอชุมแพกับอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ทางทิศเหนือบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง พื้นที่ทางทิศตะวันตกบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลาน รวมพื้นที่ป่าสงวนในเขตอำเภอชุมแพทั้งหมด 90,250 ไร่

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอชุมแพ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

  1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30.13 องศาเซลเซียส
  2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 845 มิลลิเมตร
  3. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23.48 องศาเซลเซียส

แม้ฤดูฝนจะมีระยะเวลา 6 เดือนดังกล่าว แต่โดยทั่วไปจะมีสภาวะฝนทิ้งช่วงในราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และจะตกใหม่ในช่วงเดือนกันยายน เป็นเหตุให้การเพาะปลูกมักประสบปัญหาฝนแล้งอยู่เป็นประจำ

ทรัพยากร[แก้]

อาชีพหลักของชาวชุมแพคือการทำนาข้าว

อำเภอชุมแพมีทรัพยากรที่สำคัญทางธรรมชาติ ดังนี้ ดิน ลักษณะของดินเป็นดินร่วน เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวนแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่สำคัญของอำเภอชุมแพคือ ลำน้ำเชิญ เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรในอำเภอชุมแพและอำเภอใกล้เคียง ชาวอำเภอชุมแพได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำเชิญที่บ้านดอนหัน ซึ่งเป็นเขื่อนที่เอื้อประโยชน์ให้ชาวชุมแพด้านการเกษตรและสาธารณูปโภค ป่าไม้ อำเภอชุมแพมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงลานที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงทั้งทางตรงและทางอ้อม สัตว์ ประชากรในอำเภอนิยมเลี้ยงสุกร โค กระบือ ไว้บริโภคและจำหน่าย บางครอบครัวยังได้ยึดเป็นอาชีพหลัก

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

เมืองโบราณโนนเมือง[แก้]

ภาชนะดินเผาที่ขุดค้นพบในบริเวณเมืองโบราณสมัยทวาราวดี

ตั้งอยู่บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 4 ตำบลชุมแพ โนนเมืองเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น เมืองชั้นในรูปทรงค่อนข้างกลม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 420 เมตร เมืองชั้นนอกทรงยาวรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 600 เมตร หรือมีเนื้อที่ประมาณ 216 ไร่ เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ในปี พ.ศ. 2513 หน่วยศิลปากรที่ 7 ได้สำรวจพบเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ดำเนินการขุดตรวจ ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ (อายุประมาณ 2,500-2,000 ปี) ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ เครื่องใช้ กระดูกสัตว์ จำนวน 13 หลุม จึงได้ทำหลังคาคลุมไว้ เพื่อแสดงในลักษณะพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้ง ให้ผู้สนใจได้เข้าชม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพ ไปทางชุมชนนาโพธิ์ (ผ่านโรงเรียนชุมชนชุมแพ) - บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร หรือไปทางชุมชนพรานราษฎร์-บ้านโนนเมือง ประมาณ 5 กิโลเมตร (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น โทรศัพท์ 0-4324-2129, 0-4333-7629 ได้รับงบประมาณปรับปรุงจากปี 2546-2549 ประมาณ 30 ล้านบาท

ผาพระนอน (พระปางไสยาสน์)[แก้]

ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเวียง บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 8 ตำบลหนองไผ่ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ศิลปสมัยทวาราวดีที่งดงาม สลักอยู่บนหน้าผายาวกว่า 3.75 เมตร หันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก และหันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ นอนตะแคงพระเศียรหนุนแนบกับลำแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์เป็นท่านอนแบบเก่าที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอชุมแพไปตามถนนมลิวรรณ (ชุมแพ - ขอนแก่น) แยกซ้ายบ้านโนนสะอาด-วัดผาพระนอนพัฒนาราม ประมาณ 6-7 กิโลเมตร (รถยนต์ถึง) เดินเท้าขึ้นเขาภูเวียงต่อระยะเดินเท้าประมาณ 2-3 กิโลเมตร ความสูงจากพื้นดินประมาณ 450 เมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง บนผาพระนอนจะมองเห็นทิวทัศนียภาพเมืองชุมแพที่สวยงามมาก จะมีงานนมัสการในวันตรุษสงกรานต์ทุกปี

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน[แก้]

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ตั้งอยู่ที่ ที่ทำการอุทยานบ้านซำผักหนาม หมู่ที่ 12 ตำบลนาหนองทุ่ม " อุทยานแห่งชาติภูผาม่านมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 72 ( เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2543) มีเนื้อที่ประมาณ 350 กม.2 หรือประมาณ 218,750 ไร่ มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่งโดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก เป็นแหล่งต้นกำเนิด " ลำน้ำพอง " ที่ทำการอุทยานฯ ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกรับรองนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอุทยานแห่งชาติ และเป็นอุทยาน ฯ นำร่อง 1 ใน 8 แห่ง ทั่วประเทศไทย มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เรือนรับรอง ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องประชุมสัมมนา บริเวณจัดแคมป์ไฟ กางเต๊นท์นอน ที่สะดวกสบาย มีทิวทัศน์สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างดียิ่งห่างจากอำเภอชุมแพไปทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย) เลี้ยวซ้ายมือที่หลักกิโลเมตร ที่ 112 อีก 5 กิโลเมตร ถึงที่ตั้งที่ทำการ ระยะทาง 35 กิโลเมตร (สนใจสั่งจองที่พักหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ที่ทำการอุทยานฯ โทรศัพท์ 0 - 4324 - 9050

ถ้ำปู่หลุบ[แก้]

อยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย) ห่างจากอำเภอชุมแพประมาณ 35 กิโลเมตร ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยเป็นห้อง ๆ นับได้ 5 ห้อง มีเกล็ดแวววาว ระยิบระยับสวยงาม และมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ด้านหน้าถ้ำมีศาลปู่หลุบเป็นที่เคารพสักการบูชาของผู้คนที่ผ่านไป - มา

วนอุทยานถ้ำผาพวง[แก้]

อยู่ในเขตตำบลนาหนองทุ่ม จากอำเภอชุมแพไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (ชุมแพ - เลย) ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทางแยกขวามือเข้าสู่ถ้ำอีกประมาณ 5 กิโลเมตร (เป็นทางดินและทางเดินป่า) เดิมเรียกว่า " ถ้ำร้อยพวง "เป็นถ้ำบนภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีเสาหินเกิดจากหินย้อยลงมาลักษณะเป็นพวง จากเพดานถ้ำดูสวยและแปลกตา ปากถ้ำอยู่สูงและทะลุออกไปบนยอดเขาสามารถมองเห็นทัศนียภาพรอบๆ ได้สวยงามยิ่ง

ผานกเค้า[แก้]

เป็นภูเขาสูงตระหง่านอยู่ริมน้ำพองในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อำเภอชุมแพ อยู่ห่างจากอำเภอชุมแพ ประมาณ 40 กิโลเมตร ตามถนนมลิวรรณ ลักษณะของผานกเค้าเป็นภูเขาหินสีดำ บางส่วนกะเทาะออกเป็นเนื้อหินสีส้ม มองเห็นลักษณะคล้ายนกเค้าที่กางปีกออกสองข้างถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของอำเภอชุมแพ

สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของประชาชน[แก้]

  • ขนมจีน

ขนมจีน ทำจากข้าวจ้าว กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลไชยสอ

  • ขนมจีนอบแห้ง

ขนมจีนอบแห้ง(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ

  • ข้าวหลาม

ผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม รสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่ใส่สารกันบูด เป็นการนำข้าวสารและส่วนประกอบการทำข้าวหลามมาผสมตามสูตรและขั้นตอน หวาน มัน อร่อย กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลหนองไผ่

  • ตะกร้าไม้ไผ่

แข็งแรง ทนทาน รูปทรงสวยงาม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลนาเพียง

  • น้ำผลไม้พร้อมดื่ม

น้ำฝรั่ง น้ำกระเจี๊ยบ ไวน์กระเจี๊ยบ ข้าวหมาก มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลนาหนองทุ่ม

  • ผลิตภัณฑ์จากกระบอกไม้ไผ่

ทำจากไม้ไผ่นำมาดัดแปลงเป็นแก้วน้ำ เหยือกน้ำ กระปุกออมสิน ที่เสียบปากกา แจกัน กาน้ำ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนสะอาด

  • ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนสะอาด

  • ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่,ต้นหมาก

ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่,ต้นหมาก(สินค้าพื้นเมือง) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ

  • ผ้าทอด้วยกี่กระตุก

มีหลายประเภท มีทั้ง ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าขิด ผ้าลายยกดอก ฯลฯ มีความปราณีต สวยงาม กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลโนนหัน

  • ผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ

ผลิตภัณฑ์จากฝ้ายมาทอเป็นผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลชุมแพ

  • ผ้ามัดหมี่ธรรมชาติ

ผ้ามัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ, ผ้าพื้นย้อมสีธรรมชาติ, ผ้าลายสก๊อตย้อมสีธรรมชาติ กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลหนองเสาเล้า

  • สุ่มไก่

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้ไผ่จักสานทั้งหมด มีความแข็งแรง ใช้งานได้นาน กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอชุมแพ โดยเฉพาะตำบลวังหินลาด

การศึกษา[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

" โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 รวม 61 แห่ง " โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 6 แห่ง " บุคลากรทางการศึกษา ครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 - ครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 280 คน - ครูโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 220 คน - ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 170 คน " โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 แห่ง เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 " โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองชุมแพ 1 แห่ง คือ โรงเรียนเทศบาล 1(สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) " วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคชุมแพ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) " โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2 แห่ง คือ โรงเรียนโนนหันวิทยายน และ โรงเรียนมัธยมหนองเขียด สถานศึกษาที่สำคัญได้แก่

สถานพยาบาล[แก้]

มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการดังนี้

  • โรงพยาบาล ขนาด 400 เตียง จำนวน 1 แห่ง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 7 แห่ง
  • สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 10 แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่สำคัญ[แก้]

  1. อ่างเก็บน้ำหัวภูชน ตั้งอยู่บ้านขามป้อม หมู่ที่ 4 ตำบลขัวเรียง
  2. อ่างเก็บน้ำภูนกยูง ตั้งอยู่บ้านนาดี หมู่ที่ 9 ตำบลวังหินลาด
  3. กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 8 (ค่าย ร.8 พัน.2)
  4. เขื่อนทดน้ำเชิญ กรมชลประทาน ตั้งอยู่ที่บ้านดอนหัน หมู่ที่ 9 ตำบลชุมแพ ห่างจากอำเภอชุมแพ ประมาณ 8 กิโลเมตร
  5. สวนสาธารณะหน้าอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองชุมแพ
  6. สวนสาธารณะโสกน้ำใส ใจกลางเมืองชุมแพ
  7. สวนสาธารณะหนองอีเลิง
  8. สวนสุขภาพหนองใส
  9. สวนสุขภาพ เทศบาลตำบลหนองไผ่
  10. สวนสาธารณะหนองคะเน
  11. สวนสาธารณะโนนแหลมทอง

สถานที่ราชการและหน่วยงานสำคัญ[แก้]

ศาลเจ้าและสถานธรรมในพื้นที่[แก้]

  • พุทธสมาคมเผยแผ่คุณธรรม"เต็กก่า"จีแชเกาะ
  • ศาลเจ้าจอมชุมแพ (ปึงเถ้ากง)
  • มูลนิธิชุมแพการกุศล"เต็กก่า"จีฮั่วเกาะ
  • ชมรมศิษย์พระอรหันต์จี้กง (กู้ภัยเมืองชุมแพ) (ชุมแพฮุกถ่งซิมฉื่อเสี่ยงตั๊ว)
  • ศาลเจ้าปึงเถ้ากง โนนหัน
  • ศาลเจ้านาจาซาไท้จื้อ (หน่าจาซัวตั๊ว) โคกสูง
  • ศาลเจ้าโพธิธรรมคุณธรรมสถาน (อิมเต็กตึ้ง)
  • ศาลเจ้าภาวนาพุทธโพธิธรรมสถาน (ไต่เสี่ยฮุกตั้ว)
  • คริสตจักรชุมแพ (หนองใส)
  • คริสตจักรร่มเกล้าชุมแพ

วัดราษฏร์ในอำเภอชุมแพ[แก้]

วัดราษฏร์มหานิกาย[แก้]

วัดโพธิ์ธาตุ (วัดประจำอำเภอชุมแพ)

วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย[แก้]

วัดราษฏร์มหายานนิกาย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งอำเภอชุมแพและยุบอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (41 ง): 2423. 3 สิงหาคม 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-09-05.
  2. http://www.ichumphae.com/description.aspx?q_sec=76075851
  3. http://www.oknation.net/blog/panuwat838084/2010/05/07/entry-1
  4. http://webboard.mthai.com/5/2005-12-13/176255.html[ลิงก์เสีย]
  5. ปัดฝุ่นตั้ง “จ.ชุมแพ” หวัง “เกียรติสุรนนท์”ครองเมือง[ลิงก์เสีย]
  6. กรมการปกครอง สยบข่าวลือ ตั้ง 5 จังหวัดใหม่ในภาคอีสาน
  7. [1]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโคกสูงสัมพันธ์ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]