ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nonpawit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nonpawit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 178: บรรทัด 178:
== การพระราชทานปริญญาบัตร ==
== การพระราชทานปริญญาบัตร ==


สถาบันการพลศึกษา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เสด็จแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของสถาบันการพลศึกษา ครั้งแรก (ประจำปีการศึกษา 2548-2551) เมื่อวันพุธที่ [[4 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2552]] ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต [[ถนนอู่ทองใน]] [[แขวงดุสิต]] [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]]
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้[[สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี|สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]] เสด็จแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติครั้งแรก (ประจำปีการศึกษา 2548-2551) ภายใต้นามสถาบันการพลศึกษาในขณะนั้น เมื่อวันพุธที่ [[4 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2552]] ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต [[ถนนอู่ทองใน]] [[แขวงดุสิต]] [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:30, 22 พฤษภาคม 2562

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ประเภทรัฐ
สถาปนา23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี)
อธิการบดีปริวัฒน์ วรรณกลาง
อธิการบดีปริวัฒน์ วรรณกลาง
นายกสภาฯศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม[1]
ที่ตั้ง
154 สนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เว็บไซต์www.ipe.ac.th

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดิมชื่อ วิทยาลัยพลศึกษา ทำหน้าที่ผลิตครู โดยเฉพาะครูสอนพลศึกษาและสุขศึกษา แต่ปัจจุบันได้เพิ่มบทบาทในการผลิตบุคลากรด้านวิชาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และสุขภาพเพิ่มขึ้น ตั้งอยู่เลขที่ 154 สนามกีฬาแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

ประวัติ

ในอดีต กรมพลศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดำเนินการผลิตครูพลศึกษา โดยรับโอนโรงเรียนพลศึกษากลาง มาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 และได้มีการจัดตั้ง “วิทยาลัยพลศึกษา” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) และตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย” ขึ้นในปีการศึกษา 2501 เพื่อดำเนินการสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)

ต่อมาได้ยุบเลิกโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย ในปี พ.ศ. 2512 และได้ขยายหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา แต่ยังคงดำเนินการโดยกรมพลศึกษา และใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา” ในปี พ.ศ. 2514 ได้ยุติการดำเนินการวิทยาลัยพลศึกษาในส่วนกลางและโอนวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา ไปให้วิทยาลัยวิชาการศึกษาดำเนินการต่อไป กรมพลศึกษาได้เปิดดำเนินการผลิตครูพลศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยเริ่มเปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดเชียงใหม่” ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 เปิด “วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม” และมีการเปิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งมีวิทยาลัยพลศึกษารวม 17 แห่ง

เมื่อกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายบรรจุข้าราชการครูจากผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี กรมพลศึกษาจึงหาแนวทางยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาให้สามารถเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี โดยในระยะแรกได้จัดทำโครงการร่วมมือทางวิชาการกับกรมการฝึกหัดครู เป็นสถาบันสมทบของวิทยาลัยครู เพื่อเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 ในขณะเดียวกันก็มีแนวทางที่จะเปิดดำเนินการสอนระดับปริญญาตรีด้วยตนเอง จนได้มีการร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกฐานะวิทยาลัยพลศึกษาขึ้นเป็นสถาบันการศึกษาระดับปริญญา ในปี พ.ศ. 2538 และใช้ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล พ.ศ. ...”

กรมพลศึกษา ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลตามลำดับ พร้อมกับที่กรมอาชีวศึกษาได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และกรมศิลปากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสถาบันพัฒนศิลป์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับ แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการกรมพลศึกษาได้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคลกลับมาพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ไม่สามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ทันเวลา เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรหมดอายุลง จึงต้องนำร่างพระราชบัญญัติสถาบันกาญจนมงคล มาเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนใหม่อีกครั้งหนึ่งภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว

การดำเนินการเพื่อยกฐานะดังกล่าว ได้ดำเนินเรื่อยมากระทั่งสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา ไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา ตอนที่ 13 ก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงนับได้ว่าสถาบันการพลศึกษาได้ก่อกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548

รายนามอธิการบดี

สถาบันการพลศึกษา
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายสมพงษ์ ชาตะวิถี 2 กันยายน พ.ศ. 2548[2] - 1 กันยายน พ.ศ. 2552
17 กันยายน พ.ศ. 2552 - 16 กันยายน พ.ศ. 2556
2. ดร.ปริวัฒน์ วรรณกลาง 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2560
4 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

หลักสูตร

คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
      • โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
      • โปรแกรมวิชาการฝึกสอนกีฬา
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
      • โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
      • โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพเด็ก
      • โปรแกรมวิชาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
    • สาขานันทนาการ
      • โปรแกรมวิชานันทนาการบำบัด
คณะศิลปศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิ
    • สาขาส่ื่อสารเทคโนโลยี
      • โปรแกรมวิชาสื่อสารการกีฬา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
    • สาขาวิชาธุรกิจ
      • โปรแกรมวิชาธุรกิจสุขภาพ
      • โปรแกรมวิชาการจัดการกีฬา
    • สาขาวิชานันทนาการ
      • โปรแกรมวิชาผู้นำนันทนาการ
      • โปรแกรมวิชาการบริหารนันทนาการ
      • โปรแกรมวิชานันทนาการเชิงพาณิชย์และการท่องเที่ยว
คณะศึกษาศาสตร์
  • หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี)
    • สาขาวิชาพลศึกษา
      • โปรแกรมวิชาพลศึกษา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
      • โปรแกรมวิชาพลศึกษาสำหรับคนพิการ (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
    • สาขาวิชาสุขศึกษา
      • โปรแกรมวิชาสุขศึกษา (หลักสูตรปกติและต่อเนื่อง)
    • สาขาวิชานันทนาการ
      • โปรแกรมวิชานันทนาการ

วิทยาเขต

โรงเรียนกีฬา

กีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย

ประวัติการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2518–ปัจจุบัน มีดังนี้[3]

ครั้งที่ ประจำปี เจ้าภาพ พิธีเปิด พิธีปิด สถิติ Ref.
นักกีฬา ชนิดกีฬา
1 2518 จังหวัดมหาสารคาม 4
2 2519 จังหวัดเชียงใหม่ 6
3 2520 กรุงเทพมหานคร 7
4 2521 งดการแข่งขัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8
5 2522 จังหวัดอุดรธานี 9
6 2523 กรุงเทพมหานคร 9
7 2524 กรุงเทพมหานคร 11
8 2525 กรุงเทพมหานคร 11
9 2526 จังหวัดลำปาง 11
10 2527 กรุงเทพมหานคร 15
11 2528 จังหวัดอุดรธานี 15
12 2529 กรุงเทพมหานคร 2 ธันวาคม 9 ธันวาคม 2,500 16
13 2530 กรุงเทพมหานคร 2 ธันวาคม 9 ธันวาคม 1,760 16
14 2531 กรุงเทพมหานคร 1 ธันวาคม 9 ธันวาคม 1,760 13
15 2532 กรุงเทพมหานคร 1 ธันวาคม 10 ธันวาคม 1,800 18
16 2533 กรุงเทพมหานคร 1 ธันวาคม 10 ธันวาคม 2,570 19

การพระราชทานปริญญาบัตร

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติครั้งแรก (ประจำปีการศึกษา 2548-2551) ภายใต้นามสถาบันการพลศึกษาในขณะนั้น เมื่อวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาสถาบันการพลศึกษา [นายวิษณุ เครืองาม]
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา (นายสมพงษ์ ชาตะวิถี)
  3. "ประวัติการจัดการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย". สถาบันการพลศึกษา.

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:สถาบันการพลศึกษา