ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายกรัฐมนตรีไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีขึ้นภายหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตาม[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/166.PDF พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558</ref> และภายหลัง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก]]ลงพระปรมาภิไธยใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475]] เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2475]] ก็เปลี่ยนมาเรียก "นายกรัฐมนตรี"<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558</ref> โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีขึ้นภายหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตาม[[พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/166.PDF พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558</ref> และภายหลัง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก]]ลงพระปรมาภิไธยใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475]] เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2475]] ก็เปลี่ยนมาเรียก "นายกรัฐมนตรี"<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/529.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475], ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558</ref> โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย

== การดำรงตำแหน่ง ==
<!--- [[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]]บัญญัติไว้ว่า [[สภาผู้แทนราษฎร]]จะต้องมีมติเห็นชอบให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นตัวแทนหรือหัวหน้า[[พรรคการเมือง]]ที่มี[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ที่ได้รับเลือกมากที่สุดใน[[สภาผู้แทนราษฎร]] แม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม และอาจเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]หรือไม่ก็ได้ตามแต่[[รัฐธรรมนูญ]]ที่มีใช้ผลบังคับอยู่ในขณะนั้น เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้น [[พระมหากษัตริย์ไทย]]จึงจะมี[[พระบรมราชโองการ]]โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป --->

{| class="wikitable"
!ตำแหน่ง!!รายนาม!!กลุ่มการเมือง!!ได้รับเลือกโดย!!เริ่มดำรงตำแหน่ง
|-
|[[รายนามนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย|นายกรัฐมนตรี]]
| [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
|[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]]
| [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]
| 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557
|}


== การปฏิบัติหน้าที่ ==
== การปฏิบัติหน้าที่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:55, 1 ตุลาคม 2560

นายกรัฐมนตรี
แห่งราชอาณาจักรไทย
ธงประจำตำแหน่ง
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ตั้งแต่ 24 สิงหาคม 2557
(รักษาการ: 22 พฤษภาคม 2557 - 24 สิงหาคม 2557)
จวนบ้านพิษณุโลก
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระรวมกันไม่เกิน 8 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระยามโนปกรณนิติธาดา
สถาปนา28 มิถุนายน 2475
เงินตอบแทน125,590 บาท[1][2]
เว็บไซต์thaigov.go.th

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง) ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นมีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[3] และภายหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ก็เปลี่ยนมาเรียก "นายกรัฐมนตรี"[4] โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย

การปฏิบัติหน้าที่

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้นได้กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีว่า "นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"

การรักษาราชการแทน

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน[5]

สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา

สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (เรียงลำดับรองนายกรัฐมนตรี [6])

ตำแหน่ง รายนาม ที่มา เริ่มดำรงตำแหน่ง ควบตำแหน่ง
รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ คสช. 30 สิงหาคม 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร คสช. 30 สิงหาคม 2557
-
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย คสช. 19 สิงหาคม 2558
-
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง คสช. 19 สิงหาคม 2558
-
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ คสช. 19 สิงหาคม 2558
-
วิษณุ เครืองาม คสช. 30 สิงหาคม 2557
-

อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๓๘/บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการการเมือง, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  2. พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๔/บัญชีอัตราตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการการเมือง, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  3. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  5. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
  6. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๖/๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี, สำนักนายกรัฐมนตรี, สืบค้นวันที่ 5 กันยายน 2558

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น