วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 | |||||
---|---|---|---|---|---|
| |||||
ห้องประชุมพระจันทรา สัปปายะสภาสถาน | |||||
ภาพรวม | |||||
สภานิติบัญญัติ | วุฒิสภา | ||||
เขตอำนาจ | ประเทศไทย | ||||
ที่ประชุม | สัปปายะสภาสถาน | ||||
วาระ | 10 กรกฎาคม 2567[ก] – ปัจจุบัน (0 ปี 64 วัน) | ||||
การเลือกตั้ง | การเลือกกันเอง | ||||
รัฐบาล | คณะรัฐมนตรีเศรษฐา (จนถึง 14 สิงหาคม 2567) คณะรัฐมนตรีแพทองธาร (ตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2567) | ||||
วุฒิสภา | |||||
สมาชิก | 200 | ||||
ประธาน | มงคล สุระสัจจะ | ||||
รองประธานคนที่ 1 | พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ | ||||
รองประธานคนที่ 2 | บุญส่ง น้อยโสภณ | ||||
พรรคครอง | อิสระ (200) | ||||
สมัยประชุม | |||||
|
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน) เป็นวุฒิสภาไทยที่มีที่มาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นชุดที่ 2 แต่เป็นชุดแรกที่ใช้กระบวนการได้มาตามมาตรา 107 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ทำหน้าที่เป็นสภาสูงของรัฐสภาไทย
วุฒิสภาชุดนี้มีสมาชิกจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของประชาชน 20 กลุ่มอาชีพ ผ่านการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ใน 3 ระดับ
ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ซึ่งมีพลตํารวจโทยุทธนา ไทยภักดี สมาชิกที่อาวุโสสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราว ได้มีการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายกองเอก[1]มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครองเป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นที่ 159 คะแนน[2] ในส่วนของตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ที่ประชุมมีมติเลือกพลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ด้วยคะแนนเสียง 150 เสียง[3] ก่อนจะมีการประท้วงให้นับคะแนนใหม่เนื่องจากอาจจะไม่โปร่งใส แต่สุดท้ายก็ยังเป็นพลเอกเกรียงไกรที่ได้รับคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ทางด้านตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ที่ประชุมมีมติเลือกนายบุญส่ง น้อยโสภณ อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 167 เสียง
ที่มา
[แก้]สมาชิกวุฒิสภาชุดนี้มีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของประชาชนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 20 กลุ่มอาชีพ ผ่านการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ใน 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ (เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567) ระดับจังหวัด (เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567) และระดับประเทศ (เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567) โดยในที่สุดจะได้ผู้ที่ได้รับเลือกกลุ่มละ 10 คน รวม 200 คน และอยู่ในบัญชีสำรองกลุ่มละ 5 คน รวม 100 คน รวมทั้ง 2 ส่วนเป็นกลุ่มละ 15 คน รวมทั้งหมด 300 คน[4]
ข้อวิจารณ์
[แก้]"สว.สีน้ำเงิน"
[แก้]ในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกมานั้น มีกลุ่มหนึ่งที่ถูกกล่าวว่าเป็น สว.สีน้ำเงิน กล่าวคือ เป็น สว. กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคภูมิใจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม[5] ทำให้เกิดความกังวลถึงความเป็นกลางในการทำหน้าที่ ต่อมา อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้แถลงกับสื่อมวลชนว่า ตนเชื่อว่าสีน้ำเงินในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพรรคภูมิใจไทย เพราะสีน้ำเงินตีความไปได้หลายอย่าง เช่น ในธงชาติไทย หมายถึงพระมหากษัตริย์ ตนจึงไม่ทราบว่าใครที่บัญญัติเรื่องของ สว.สีน้ำเงิน แต่ยืนยันได้ว่า พรรคภูมิใจไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการเลือกตั้ง สว. เพราะถูกจำกัดและถูกห้ามโดยกฎหมายอยู่แล้ว[6]
ข้อมูลผู้สมัคร
[แก้]โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw - ไอลอว์) ได้มีการเปิดเผยถึงข้อมูลผู้สมัคร สว. ที่ผ่านการคัดเลือกนั้น มีจำนวนหนึ่งที่แนะนำตัวในใบสมัครไม่เกินสองบรรทัด 7 คน[7] ดังนี้
- ปวีณา สาระรัมย์ สว.กลุ่มอาชีพทำนาและปลูกพืชล้มลุก ระบุอาชีพ เกษตรกรรม เขียนแนะนำตัวแค่ว่า "อาชีพของครอบครัวที่คุ้นเคยกัน คือ การทำนา โดยการเริ่มต้นการเรียนรู้จากพ่อแม่เคยพาทำนามา สมัยก่อนเราใช้แรงงานคนในการปักตำ สมัยนี้ใช้เครื่องจักร"
- จตุพร เรียงเงิน สว.กลุ่มพนักงาน หรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ระบุอาชีพ รับจ้าง เขียนแนะนำตัวว่า "วิ่งน้ำและรับจ้าง"
- วรรษมนต์ คุณแสน สว.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางขนาดย่อม ระบุอาชีพ ช่างเสริมสวย เขียนแนะนำตัวว่า "ทำอาชีพช่างเสริมสวยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี"
- ปราณีต เกรัมย์ สว.กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา ระบุอาชีพ รับจ้าง เขียนแนะตัวว่า “เป็นนักกีฬาฟุตบอล อาวุโส พ.ศ.2527-2547”
- ศุภชัย กิตติภูติกุล สว.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ระบุอาชีพ ผู้สื่อข่าว เขียนแนะนำตัวว่า “ทำงานผู้สื่อข่ายไทยรัฐ 35 ปี”
- คอดียะฮ์ ทรงงาม สว.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ระบุอาชีพ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เขียนแนะนำตัวว่า “ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ อำเภอไชโย”
- วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์ สว.กลุ่มอื่นๆ ระบุอาชีพ ค้าขาย เขียนแนะนำตัวว่า “เคยได้รับคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ระดับจังหวัด สาขานมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว ปี 2554”
และยังพบว่า ประวัติการทำงานของผู้สมัครบางคนไม่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพที่สมัคร[8] เช่น
- สมพาน พละศักดิ์ สว.กลุ่มผู้ประกอบการ เขียนแนะนำตัวว่า "ประกอบอาชีพค้าขายก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ" ซึ่งควรจะอยู่ในกลุ่มเอสเอ็มอี
- แดง กองมา สว.กลุ่มผู้ประกอบการ เขียนแนะนำตัวว่า "ประกอบอาชีพขายหมูและร่วมพัฒนาตลาด" โดยมีเหตุผลเดียวกับสมพาน
- ณรงค์ จิตราช สว.กลุ่มอุตสาหกรรม เขียนแนะนำตัวว่า "มีอาชีพพนักงานหน่วยงานเอกชน" ซึ่งควรจะอยู่ในกลุ่มลูกจ้างและผู้ใช้แรงงาน
- ปุณณภา จินดาพงษ์ สว.กลุ่มอุตสาหกรรม เขียนแนะนำตัวว่า "เคยทำงานบริษัทสุรัตน์การสุรา เป็นตัวแทนขายสุรา และต่อมาได้ไปทำงานโรงโม่สุรัตน์การค้า ผลิตหิน ขายหิน" โดยมีเหตุผลเดียวกับณรงค์
- ชาญชัย ไชยพิศ สว.กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ระบุอาชีพ ข้าราชการบำนาญและแนะนำตัวว่า "รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนและนายกสมาคมผู้บริหารครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ปี 2564-2566" ซึ่งไม่สอดคล้องกับกลุ่มที่ลงสมัคร
- วิชิต สุขกำเนิด สว.กลุ่มป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง เขียนประวัติการทำงานว่า "เป็นผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นผู้ใหญ่บ้าน" ซึ่งไม่สอดคล้องกับกลุ่มที่ลงสมัคร
นอกจากนี้ ผู้สมัคร สว. บางคนที่ได้รับเลือกมา ยังปิดบังประวัติหรือกรอกไม่ครบถ้วน เช่น คอดียะฮ์ ทรงงาม ผู้สมัคร สว.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ซึ่งมีประวัติการทำงานหรือประสบการณ์ในกลุ่มที่สมัคร คือ ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน แต่ภายหลังพบว่ามีตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ทำให้ กกต. มีมติระงับสิทธิสมัครชั่วคราว (ใบส้ม) และให้ผู้สมัครลำดับที่ 11 เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาแทน[9] นั่นคือ ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ ทว่าก็มีการรายงานเรื่องขาดคุณสมบัติของกรพด สืบเนื่องจากเคยต้องคำพิพากษาคดีขัดขวางทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน ขณะไปทำข่าวในพื้นที่บ้านเพ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561[10]
รวมถึง ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ผู้สมัคร สว.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระ ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ในรอบสุดท้ายของระดับประเทศ ยังถูกวิจารณ์ว่ามีประวัติการศึกษาเป็นเท็จ เนื่องจากระบุว่าตนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก California University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐ แต่ภายหลังการตรวจสอบ พบว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ทำหน้าที่เพียงประเมินวุฒิการศึกษาของคนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ และออกวุฒิบัตรเทียบเท่าให้เท่านั้น[11]
รายชื่อสมาชิก
[แก้]รายชื่อสำรอง
[แก้]กลุ่มที่ 1 การบริหารรัฐกิจ
- พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
- ภิญโญ ประกอบผล
- พันเอก ไพบูลย์ พัสดร
- พลเอก นุชิต ศรีบุญส่ง
- สมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ
กลุ่มที่ 2 กฏหมายและกระบวนการยุติธรรม
กลุ่มที่ 3 การศึกษา
กลุ่มที่ 4 สาธารณสุข
- ชัยรัตน์ ธรรมสุภาพงศ์
- ประชา กัญญาประสิทธิ์
- ศรินทร สนธิศิริกฤตย์
- สุชาติ เอื้อพันธุ์พงศ์
- ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย
กลุ่มที่ 5 ชาวนาและเกษตรกรปลูกพืชล้มลุก
กลุ่มที่ 6 ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง
กลุ่มที่ 7 ลูกจ้างและผู้ใช้แรงงาน
กลุ่มที่ 8 สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
กลุ่มที่ 9 เอสเอ็มอี
กลุ่มที่ 10 ผู้ประกอบการ
กลุ่มที่ 11 การท่องเที่ยว
กลุ่มที่ 12 อุตสาหกรรม
กลุ่มที่ 13 วิทยาศาสตร์
- ศิริวรรณ คูอัมพร
- พันตรี นฤต รัตนพิเชฏฐชัย
- ธนวัฒน์ ศรีสุข
- ศรีเมือง เจริญศิริ
- นันทวัฒน์ จรัสโรจน์ธนเดช
กลุ่มที่ 14 สตรี
กลุ่มที่ 15 ผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มชาติพันธุ์
กลุ่มที่ 16 ศิลปะ วัฒนธรรม และนักกีฬา
กลุ่มที่ 17 ประชาสังคม
กลุ่มที่ 18 การสื่อสารมวลชน
กลุ่มที่ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระ
กลุ่มที่ 20 อื่น ๆ
ผู้ดำรงตำแหน่ง
[แก้] ทำเนียบประธานวุฒิสภา ชุดที่ 13 House of the President of the 13th senate. | ||
มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา | ||
พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 |
บุญส่ง น้อยโสภณ รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 | |
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 |
การลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง
[แก้]ตำแหน่ง | ชื่อ | คะแนนเสียง |
---|---|---|
ประธานวุฒิสภา | มงคล สุระสัจจะ | 159 |
นันทนา นันทวโรภาส | 19 | |
เปรมศักดิ์ เพียยุระ | 13 | |
4 | ||
5 | ||
200 | ||
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง | พลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ | 150 |
นพดล อินนา | 27 | |
แล ดิลกวิทยรัตน์ | 15 | |
ปฏิมา จีระแพทย์ | 5 | |
1 | ||
2 | ||
200 | ||
รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง | บุญส่ง น้อยโสภณ | 167 |
อังคณา นีละไพจิตร | 18 | |
พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต | 8 | |
ปฏิมา จีระแพทย์ | 4 | |
2 | ||
0 | ||
199 |
คณะกรรมาธิการ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (มิถุนายน 2024) |
คณะกรรมาธิการสามัญ
[แก้]ชื่อ | ประธาน |
---|---|
คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมลํ้า | |
คณะกรรมาธิการการกีฬา | |
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ | |
คณะกรรมาธิการคมนาคม | |
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง | |
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ | |
คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ | |
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว | |
คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น | |
คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน | |
คณะกรรมาธิการการพลังงาน | |
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน | |
คณะกรรมาธิการการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส | |
คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ | |
คณะกรรมาธิการแรงงาน | |
คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | |
คณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม | |
คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม | |
คณะกรรมาธิการการศึกษา | |
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข | |
คณะกรรมาธิการการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ | |
คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
คณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล | |
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม | |
คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค | |
คณะกรรมาธิการการติดตามการบริหารงบประมาณ | |
คณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ |
คณะกรรมาธิการวิสามัญ
[แก้]ชื่อ | ประธาน |
---|---|
คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 109 ระบุว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๔, ๒ กันยายน ๒๕๔๘
- ↑ ""มงคล สุระสัจจะ"ผงาดนั่ง "ประธานวุฒิสภา" คนใหม่ ด้วยมติสว.ท่วมท้น 159 คะแนน". ฐานเศรษฐกิจ.
- ↑ "เกรียงไกร นั่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ตามโผ ส.ว.สีน้ำเงินโหวตเป๊ะ 150 เสียง รวดเดียวจบ". มติชน.
- ↑ "สมัคร สว. ชุดใหม่ ใครกลุ่มไหนใน 20 กลุ่ม". เดอะสแตนดาร์ด. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สว. 67 : ใครเป็นใคร ที่ถูกเรียกชื่อให้ว่า 'สว. สีน้ำเงิน'". เดอะสแตนดาร์ด. 2024-07-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อนุทิน" ยืนยัน "ภูมิใจไทย" ไม่เกี่ยวข้อง เลือก สว.สีน้ำเงิน ตีความได้หลายอย่าง". ไทยรัฐ. 2024-07-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สว.67: เปิดข้อมูล-ข้อสังเกต 'สว.สีน้ำเงิน' สายบุรีรัมย์-อ่างทอง". iLaw. 2024-06-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สว.67 : กกต. ต้องตรวจสอบผู้ได้รับเลือกที่อาจขาดคุณสมบัติ -สมัครไม่ตรงกลุ่ม". iLaw. 2024-07-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "มติ กกต.ประกาศรับรอง 200 สว. บัญชีสำรอง 99 คน แขวนชื่อกลุ่มสื่อฯ". พีพีทีวี. 2024-07-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "กกต. สั่งสอบ "กรพด" ส.ว.กลุ่ม 18 เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ". mgronline.com. 2024-07-22.
- ↑ "เปิดประวัติ "หมอเกศ" สว.ใหม่ ผจญดราม่า ปมวุฒิการศึกษาจาก ม.ไม่ได้มีการสอน". ไทยรัฐ. 12 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รับรอง 200 สว. สอยร่วง 1 คน คอดียะฮ์ ทรงงาม เสียงตามสายหมู่บ้านแห้ว". อมรินทร์ทีวี. 2024-07-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๑
- ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๖๒
- ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๓
- ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. ๒๕๖๓
- มาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. ๒๕๖๑ (ใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนญแหงราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา ๒๑๙ วรรคสองด้วย)