รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 | |
---|---|
![]() พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ผู้ตรา | สภาผู้แทนราษฎร |
ผู้ลงนาม | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
วันลงนาม | 10 ธันวาคม 2475 |
ผู้ลงนามรับรอง | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ประธานคณะกรรมการราษฎร) |
วันลงนามรับรอง | 10 ธันวาคม 2475 |
วันประกาศ | 10 ธันวาคม 2475 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49/หน้า 529/10 ธันวาคม 2475) |
วันเริ่มใช้ | 10 ธันวาคม 2475 |
ท้องที่ใช้ | ![]() |
การร่าง | |
ชื่อร่าง | ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม |
ผู้ยกร่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
การแก้ไขเพิ่มเติม | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ประกาศและใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
การแก้ไขเพิ่มเติม[แก้]
มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมี นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ไปด้วย
ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล ซึ่งเสนอโดยขุนบุรัสการกิตติคดี (เหมือน บุรัสการ) ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี โดยการสนับสนุนของรัฐบาล ซึ่งมี นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อันมีผลให้บทเฉพาะกาลซึ่งควรจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 10 ธันวาคม 2485 เป็นอย่างช้า ยืดเวลาออกไปอีก 10 ปี แก่นแท้ของการเสนอยึดบทเฉพาะกาลก็คือ การคงอยู่ต่อไปอีกของสมาชิกประเภทที่ 2 อันมาจากการแต่งตั้ง
ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามข้อเสนอของรัฐบาล ซึ่งมี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ยังผลให้สามารถขยายเวลาอยู่ในตำแหน่งผู้แทนราษฎรออกไปอีกคราวละ 2 ปี
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิซอร์ซมีเอกสารต้นฉบับในเรื่องนี้: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 |