ข้ามไปเนื้อหา

เกรียงไกร ศรีรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรียงไกร ศรีรักษ์
รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(0 ปี 70 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ บุญส่ง น้อยโสภณ
ก่อนหน้าพลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มบริหารรัฐกิจ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน​ พ.ศ. 2566
แม่ทัพภาคที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองอิสระ
คู่สมรสดร.คนึงนิตย์ ศรีรักษ์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบก
ยศ พลเอก
บังคับบัญชากองพลทหารราบที่ 5
กองทัพภาคที่ 4
ผ่านศึกความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ (25 มีนาคม พ.ศ. 2506) เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 เป็นสมาชิกวุฒิสภา[1] อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และเป็นอดีตประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2]

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์[3] เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2506 ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์[3] สมรสกับ ดร.คนึงนิตย์ ศรีรักษ์ อดีตอุปนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก

มีบุตรชายชื่อ นาย เก่งกาจ ศรีรักษ์

การศึกษา

[แก้]

พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์[3] จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 22 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 33 รุ่นเดียวกับ พล.อ. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ อดีต ผบ.ทบ.

หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 61 ร่วมรุ่นกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล[4]

การทำงาน

[แก้]

ราชการทหาร

[แก้]

พล.อ. เกรียงไกร เริ่มรับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 25 จังหวัดสุราษฎร์ธานี[3]

เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531[4] กรมทหารพรานที่ 42 (จู่โจม) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจกวาดล้างทำลายที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา ตามแผนยุทธการทักษิณของกองกำลังผสมเฉพาะกิจไทย ซึ่งกรมทหารพรานที่ 42 (จู่โจม) ได้มอบหมายภารกิจดังกล่าวให้กองร้อยทหารพรานที่ 4203 มี ร.ท. เกรียงไกร ศรีรักษ์ เป็นผู้บังคับกองร้อย

เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531[4] กองร้อยทหารพรานที่ 4203 สมทบด้วยชุด ช.ตรวจค้น เข้าทำการลาดตระเวนพิสูจน์ทราบตรวจค้น ค้นหา กวาดล้าง ทำลาย ที่ตั้งและแหล่งกำลังของโจรจีนคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ ต.ธารน้ำทิพย์ อ.เบตง จ.ยะลา จนกระทั่งเมื่อเวลา 13.20 น. ขณะทำการลาดตระเวนเข้าใกล้ที่หมายได้ถูกกองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์ซุ่มยิง ร.ท. เกรียงไกร ศรีรักษ์ ผู้บังคับกองร้อย จึงได้สั่งการให้หน่วยดำเนินกลยุทธ์ยิงโต้ตอบ จนกระทั่งโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ล่าถอย ร.ท. เกรียงไกร ศรีรักษ์ จึงได้นำกำลังไล่ติดตามโจรจีนคอมมิวนิสต์กลุ่มดังกล่าวไป จนเกิดการปะทะกันอีกหลายครั้ง และสามารถยึดทำลายค่ายพักโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้

จากนั้นชีวิตราชการเติบโตอยู่ในกองทัพภาคที่ 4 มาโดยตลอด เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้[3]

ด้านการเมือง

[แก้]

ภายหลังเกษียณอายุราชการในปลายปี 2566 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น มีคำสั่งแต่งตั้ง พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ เป็นประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2]

พล.อ. เกรียงไกร ศรีรักษ์ ได้ลงสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ในกลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง โดยได้รับเลือกมาเป็นลำดับที่ 1[5]

ต่อมาได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง[6][7]

อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก

[แก้]

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เกิดอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ยูเอช-60 แบล็กฮอว์ก หรือฮ.ท.60 หมายเลข 0003 ตกที่ อ.เทพา จ.สงขลา มีผู้บาดเจ็บ 7 คนซึ่งมีพล.ท. เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาค 4 ในขณะนั้น ได้รับบาดเจ็บกระดูกสะโพกขวาหัก มีเลือดออกภายใน[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พล.อ.เกรียงไกร" รับเป็น สว.ทหาร ถนัดงานความมั่นคง
  2. 2.0 2.1 ‘อนุทิน’ เซ็นตั้ง ‘บิ๊กเกรียง’ อดีตแม่ทัพกระดูกเหล็ก เป็น ปธ.ที่ปรึกษามท. 1
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 เปิดประวัติ “แม่ทัพเกรียง” นายพลสายบู๊
  4. 4.0 4.1 4.2 เปิดประวัติ พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4 เจ้าของฉายา ‘นักรบกล้าใต้สุดสยาม’
  5. ราชกิจจาฯ ประกาศผลเลือก สว. 200 คน บัญชีสำรอง 99 คน
  6. เกรียงไกร นั่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ตามโผ ส.ว.สีน้ำเงินโหวตเป๊ะ 150 เสียง รวดเดียวจบ
  7. สว.น้ำเงินยึดสภาสูง เคาะ“มงคล”นั่งประธานวุฒิสภา “เกรียงไกร-บุญส่ง”รอง
  8. ด่วน! เฮลิคอปเตอร์ตก "แม่ทัพภาค 4" บาดเจ็บ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓๐, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๙๗, ๘ กันยายน ๒๕๕๓