อำเภอสุขสำราญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอสุขสำราญ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Suk Samran
หมู่เกาะกำ ในท้องที่ตำบลกำพวน อุทยานแห่งชาติแหลมสน
หมู่เกาะกำ ในท้องที่ตำบลกำพวน อุทยานแห่งชาติแหลมสน
คำขวัญ: 
หมู่เกาะกำงามตา เลี้ยงกุ้งปลาหมื่นล้าน แตงโมหวานชั้นดี หาดยาวรีน้ำตกสวย คนร่ำรวยคุณธรรม
แผนที่จังหวัดระนอง เน้นอำเภอสุขสำราญ
แผนที่จังหวัดระนอง เน้นอำเภอสุขสำราญ
พิกัด: 9°20′42″N 98°25′48″E / 9.34500°N 98.43000°E / 9.34500; 98.43000
ประเทศ ไทย
จังหวัดระนอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด395.080 ตร.กม. (152.541 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด14,378 คน
 • ความหนาแน่น36.39 คน/ตร.กม. (94.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 85120
รหัสภูมิศาสตร์8505
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอสุขสำราญ หมู่ที่ 5 ตำบลกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง 85120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สุขสำราญ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดระนอง เป็นหนึ่งในอำเภอสำคัญของจังหวัดระนองในด้านการท่องเที่ยว พื้นที่มีทั้งภูเขาและที่ราบสำหรับทำเกษตรกรรม นับเป็นพื้นที่รอบนอกสุดของจังหวัดระนอง มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา หาดประพาส บ้านทะเลนอก น้ำตกโตนกลอย และหมู่เกาะกำ เกาะค้างคาว เกาะญี่ปุ่น ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน นอกจากจะเป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายแล้ว อำเภอสุขสำราญยังเป็นเขตประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง

หาดในตำบลกำพวน
สถานีวิจัยเพื่อการพัฒนาชายฝั่งอันดามัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำบลกำพวน
ปลาช่อนทรายแก้วหรือปลาเห็ดโคน ที่พบที่ป่าชายเลนบ้านกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอสุขสำราญมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอสุขสำราญเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลกำพวน อำเภอเมืองระนอง ซึ่งกำพวนเป็นหัวเมืองเล็กรอบนอกเมืองหนึ่ง มีการประกาศตั้งเป็นหัวเมือง 12 นักษัตร ในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุ ใน พ.ศ. 1779 โดยเมื่อก่อนนั้นได้มีชาวอาหรับเปอร์เซีย มาตั้งชุมชนอยู่ที่บนควนต้นท่อม (ปัจจุบันเรียกว่า ภูเขาทอง) และควนชี ปัจจุบันอยู่ในเขตบางกล้วยนอก ตำบลนาคา ได้มีการทำลูกปัดและทำทอง นำไปขายตามหัวเมืองต่างๆ เมื่อประมาณ 700 กว่าปีที่แล้ว   สภาพพื้นที่ทางธรรมชาติในอดีตในพื้นที่เป็นชุมชนในปัจจุบัน เมื่ออดีตเป็นทะเล ซึ่งเมื่อชุมชนขยายขึ้นไม่มีพื้นที่ๆจะทำมาหากินที่อยู่อาศัยและประกอบกับมรสุมทางทะเล เมื่ออดีตลำบาก ต่อการตั้งถิ่นฐานให้ถาวร จึงมีการละทิ้งชุมชนไปอยู่ที่ใดไม่ปรากฏเป็นที่ชัดเจน มีผู้เฒ่าบางท่านเล่าว่า ถูกโรคห่าระบาดหนักทำให้ล้มหายตายจากจนหมดชุมชน และตั้งเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2450 โดยขึ้นการปกครองกับอำเภอเขานิเวศน์

พื้นที่ตำบลกำพวนได้ย้ายมาขึ้นการปกครองกับกิ่งอำเภอกะเปอร์ โดยแยกตัวจากอำเภอเขานิเวศน์ จนในปี พ.ศ. 2490 ทางกระทรวงมหาดไทยได้แยกท้องที่หมู่ 5–7 (ในขณะนั้น) ของตำบลกำพวน มาจัดตั้งเป็น ตำบลนาคา[1] ทำให้พื้นที่ด้านใต้กิ่งอำเภอกะเปอร์ มีทั้งหมด 2 ตำบล และในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ทางกระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะกิ่งอำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง ขึ้นเป็น อำเภอกะเปอร์[2] ทำให้พื้นที่ของตำบลกำพวน และตำบลนาคา ย้ายมาขึ้นการปกครองกับอำเภอกะเปอร์

ปี พ.ศ. 2534 ราษฎรในพื้นที่ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่พื้นที่ตำบลกำพวน โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าราษฎรทั้งสองตำบล ได้แก่ ตำบลกำพวน และตำบลนาคา เป็นตำบลที่อยู่ไกลท้องที่ทุรกันดาร และห่างไกลจากตัวอำเภอ เจ้าหน้าที่มีโอกาสตรวจเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรน้อยมาก เพราะทางคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งอาจเป็นการเสียหายในด้านการปกครอง ประกอบกับหมู่บ้านดังกล่าวมีโอกาสที่จะเจริญในอนาคต เพราะราษฎรอาศัยอยู่กันหนาแน่นมาก และมีพื้นที่ทำมาหากินได้ โดยเฉพาะมีทรัพยากรทางธรรมชาติ พอที่จะยกระดับการครองชีพของราษฎรของตำบลกำพวน และตำบลนาคาให้ดียิ่งขึ้น จึงแนะนำประชุมชี้แจงร่วมกับทางอำเภอกะเปอร์ รายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ขอจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่ตำบลกำพวนขึ้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลกำพวน และตำบลนาคา ออกจากการปกครองของอำเภอกะเปอร์ รวมตั้งเป็น กิ่งอำเภอสุขสำราญ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน[3] กำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอกะเปอร์ และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอสุขสำราญ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับภายในวันที่ 8 กันยายน[4] ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จุดเด่น[แก้]

อำเภอสุขสำราญเป็นที่ตั้งของเขตรักษาพันธุ์ป่าคลองนาคา ซึ่งมีพลับพลึงธาร พืชที่มีฉายาว่า "ราชินีแห่งสายน้ำ" ถือได้ว่าเป็นพืชน้ำที่สวยงามและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยพบได้เฉพาะที่จังหวัดระนองตอนล่างและพังงาตอนบน ในจังหวัดระนองพบที่คลองนาคา ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ เป็นพืชเฉพาะถิ่น ไม่พบที่ใหนในโลก ปัจจุบันพบเหลือแค่ร้อยละ 1 เท่านั้น และพบขึ้นอยู่อย่างกระจัดกระจาย จึงได้ขึ้นเป็นบัญชีพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลก (IUCN Redlist)

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอสุขสำราญแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 ตำบล 15 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[5]
1. นาคา Nakha
8
7,478
2. กำพวน Kamphuan
7
7,003

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอสุขสำราญประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่

รายชื่อเกาะในเขตอำเภอสุขสำราญ[แก้]

อำเภอสุขสำราญ เป็นอำเภอที่มีเกาะมากที่สุดอันดับที่ 2 ในจังหวัดระนอง รองลงมาจากอำเภอเมืองระนอง มีมากถึง 12 เกาะจาก 56 เกาะ มีเกาะหลักคือ เกาะกำใหญ่ ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่อันดับที่ 5 ในจังหวัดระนอง มีเนื้อที่ประมาณ 4.008 ตารางกิโลเมตร และเกาะเล็ก ๆ อีก 11 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติแหลมสน และองค์การบริหารส่วนตำบลนาคา ทุกเกาะมีพื้นที่รวมทั้งหมด 7.834 ตารางกิโลเมตร[6]

ลำดับที่ ชื่อเกาะ ตำบล พื้นที่ (ตร.กม.) หน่วยงาน
1 กำหนุ่ย กำพวน 0.021 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
2 ลูกกำออก กำพวน 0.028 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
3 ลูกกำกลาง กำพวน 0.065 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
4 ลูกกำใต้ กำพวน 0.091 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
5 ล้าน กำพวน 0.422 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
6 กำนุ้ย กำพวน 1.518 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
7 กำใหญ่ กำพวน 4.008 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
8 ทับนอ นาคา 0.773 อุทยานแห่งชาติแหลมสน
9 กลาง นาคา 0.031 องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา
10 ลูกกำตก นาคา 0.283 องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา
11 นก นาคา 0.195 องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา
12 ค้างคาว นาคา 0.399 องค์การบริหารส่วนตำบลนาคา

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2021-11-18. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอสังขละบุรี อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าวังผา อำเภอบ้านกรวด อำเภอเด่นชัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอกะเปอร์ อำเภออากาศอำนวย อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอจอมพระ และอำเภอสามโก้ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (49 ก): 565–569. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-18. วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอสุขสำราญ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (53 ง): 20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2535
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  5. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  6. "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดระนอง". สืบค้นเมื่อ June 2, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)