ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครอุดรธานี

พิกัด: 17°25′0″N 102°45′00″E / 17.41667°N 102.75000°E / 17.41667; 102.75000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทศบาลเมืองอุดรธานี)
เทศบาลนครอุดรธานี
(จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา) สวนสาธารณะหนองประจักษ์, ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี, พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี, วงเวียนหอนาฬิกา
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครอุดรธานี
ตรา
สมญา: 
อุดร
คำขวัญ: 
เทศบาลนครอุดรธานี ศูนย์กลางการพัฒนา เมืองน่าอยู่คู่ธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ เสริมสร้างสมานฉันท์
แผนที่
ทน.อุดรธานีตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรธานี
ทน.อุดรธานี
ทน.อุดรธานี
ที่ตั้งของเทศบาลนครอุดรธานี
ทน.อุดรธานีตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.อุดรธานี
ทน.อุดรธานี
ทน.อุดรธานี (ประเทศไทย)
พิกัด: 17°25′0″N 102°45′00″E / 17.41667°N 102.75000°E / 17.41667; 102.75000
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุดรธานี
อำเภอเมืองอุดรธานี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีธนดร พุทธรักษ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด47.70 ตร.กม. (18.42 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)
 • ทั้งหมด130,457 คน
 • ความหนาแน่น2,797.25 คน/ตร.กม. (7,244.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03410102
สนามบินท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
ที่อยู่
สำนักงาน
เทศบาลนครอุดรธานี เลขที่ 1 ถนนอธิบดี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
โทรศัพท์0 4232 5176 85
โทรสาร0 4232 6456
เว็บไซต์udoncity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครอุดรธานี เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เป็นเมืองศูนย์กลางหน่วยงานราชการภูมิภาค การค้า การพาณิชย์ การขนส่งทางบก และอากาศ และอุตสาหกรรมของจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีพื้นที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมตำบลหมากแข้งทั้งตำบล มีประชากรใน พ.ศ. 2561 จำนวน 130,457 คน

ประวัติ

[แก้]

พื้นที่เมืองอุดรธานีในปัจจุบันเดิมคือบ้านเดื่อหมากแข้ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางบัญชาการของมณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดรในอดีต

พื้นที่เมืองอุดรธานีได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองอุดรธานี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2479[1] เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2479 มีพื้นที่ 5.60 ตารางกิโลเมตร ขยายเขตครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2495 มีพื้นที่ 8.30 ตารางกิโลเมตร[2] ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร[3] และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครอุดรธานี ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครอุดรธานี พ.ศ. 2538 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

เทศบาลนครอุดรธานี ตั้งอยู่ในเขตของอำเภอเมืองอุดรธานี ครอบคลุมพื้นที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 562 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ตัดผ่าน สภาพพื้นที่ภายในตัวเมืองเป็นแอ่ง ลาดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ มีทางน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 2 สาย คือ ห้วยหมากแข้งและห้วยมั่ง ห้วยทั้งสองนี้เป็นเส้นทางระบายน้ำธรรมชาติออกจากตัวเมือง นอกจากนี้ในเทศบาลนครอุดรธานี ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง สำหรับใช้ในการผลิตน้ำประปา และเป็นแหล่งน้ำสำรองน้ำใช้ คือ หนองประจักษ์ศิลปาคม และหนองสิม

เทศบาลนครอุดรธานี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

ภูมิอากาศ

[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศของเทศบาลนครอุดรธานี ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศแห้งและเย็นจากทะเลมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ทำให้มีฝนตกทั่วไป

ข้อมูลภูมิอากาศของอุดรธานี
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.4
(97.5)
38.3
(100.9)
41.0
(105.8)
41.8
(107.2)
40.9
(105.6)
39.6
(103.3)
37.2
(99)
36.2
(97.2)
35.5
(95.9)
35.8
(96.4)
34.9
(94.8)
34.8
(94.6)
41.8
(107.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.2
(84.6)
31.6
(88.9)
34.2
(93.6)
35.4
(95.7)
33.7
(92.7)
32.5
(90.5)
32.2
(90)
31.5
(88.7)
31.3
(88.3)
31.1
(88)
30.1
(86.2)
28.7
(83.7)
31.79
(89.23)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 22.2
(72)
24.7
(76.5)
27.6
(81.7)
29.3
(84.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.9
(82.2)
27.5
(81.5)
27.2
(81)
26.7
(80.1)
24.6
(76.3)
22.1
(71.8)
26.38
(79.48)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.8
(60.4)
18.6
(65.5)
21.7
(71.1)
24.1
(75.4)
24.7
(76.5)
25.0
(77)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.1
(75.4)
22.9
(73.2)
19.8
(67.6)
16.2
(61.2)
21.84
(71.32)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 4.5
(40.1)
9.4
(48.9)
10.0
(50)
16.0
(60.8)
18.8
(65.8)
21.5
(70.7)
20.4
(68.7)
21.0
(69.8)
20.5
(68.9)
16.4
(61.5)
8.4
(47.1)
6.2
(43.2)
4.5
(40.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6
(0.24)
19
(0.75)
36
(1.42)
83
(3.27)
220
(8.66)
231
(9.09)
222
(8.74)
276
(10.87)
254
(10)
84
(3.31)
9
(0.35)
3
(0.12)
1,443
(56.81)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 2 3 6 14 15 15 17 15 7 1 0 96
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[5]

เขตการปกครอง

[แก้]
ประชากรเทศบาลนครอุดรธานีแบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2536 80,426—    
2537 (ทม.อุดรธานี) 151,209+88.0%
2539 159,595+5.5%
2542 156,933−1.7%
2545 154,412−1.6%
2548 143,389−7.1%
2551 141,259−1.5%
2554 135,963−3.7%
2557 133,429−1.9%
2560 130,274−2.4%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เทศบาลนครอุดรธานีมีเนื้อที่ 47.70 ตารางกิโลเมตร มีเขตเทศบาลครอบคลุมพื้นที่ 1 ตำบลของอำเภอเมืองอุดรธานี ได้แก่ ตำบลหมากแข้ง ประกอบด้วย 105 ชุมชน ดังนี้

ชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี (ตำบลหมากแข้ง)
ชุมชนเขต 1
(21 ชุมชน)
  1. โพธิ์ทอง
  2. หนองเตาเหล็ก 1
  3. พละบุดีศรีอุดร
  4. หนองเตาเหล็ก 3
  5. คลองเจริญ 1
  6. คลองเจริญ 2
  7. โพธิ์สว่าง 1
  8. โพธิ์สว่าง 2
  9. โพธิ์สว่าง 3
  10. โพธิสมภรณ์
  11. หนองนาเกลือ
  12. โนนอุทุมพร
  13. โนนพิบูลย์ 1
  14. โนนพิบูลย์ 2
  15. โนนวัฒนา
  16. บ้านโนน
  17. เบญจางค์
  18. บ้านห้วย 3
  19. มิตรประชา
  20. พิชัยรักษ์
  21. ท.6 โนนนิเวศน์
ชุมชนเขต 2
(23 ชุมชน)
  1. เวียงพิงค์
  2. มธุรส
  3. บ้านเหล่า 1
  4. บ้านเหล่า 2
  5. บ้านเหล่า 3
  6. บ้านเดื่อ 1
  7. บ้านเดื่อ 2
  8. บ้านเดื่อ 3
  9. เทศบาล 9
  10. รถไฟ
  11. ทุ่งมั่ง
  12. ทุ่งสว่างตะวันตก
  13. ทุ่งสว่างตะวันออก 1
  14. ทุ่งสว่างตะวันออก 2
  15. ทองใหญ่
  16. หนองเหล็ก 1
  17. หนองเหล็ก 2
  18. หนองบัว 1
  19. หนองบัว 2
  20. ชลประทาน
  21. แจ่มศิริ
  22. บ้านห้วย 1
  23. เวียงพิงค์ 2
ชุมชนเขต 3
(34 ชุมชน)
  1. หนองบัว 3
  2. หนองบัว 4
  3. หนองบัว 5
  4. หนองบัว 6
  5. หนองบัว 7
  6. หนองตุ 1
  7. หนองตุ 2
  8. หนองตุ 3
  9. เก่าจาน 1
  10. เก่าจาน 2
  11. เก่าจาน 3
  12. เก่าจาน 4
  13. เก่าจาน 5
  14. เก่าจาน 6
  15. เก่าจาน 7
  16. เมืองทอง
  17. เมืองทอง 2
  18. บ้านม่วง 1
  19. บ้านม่วง 2
  20. สามัคคี
  21. สามัคคี 2
  22. โพธิวราราม
  23. สร้างแก้ว 1
  24. สร้างแก้ว 2
  25. สร้างแก้ว 3
  26. ทองคำอุทิศ 1
  27. ทองคำอุทิศ 2
  28. ศรีพินิจ
  29. โนนยาง 1
  30. ศรีเจริญสุข
  31. หนองขอนกว้าง 1
  32. หนองขอนกว้าง 2
  33. หนองขอนกว้าง 3
  34. มั่นคงเพชรธนา
ชุมชนเขต 4
(27 ชุมชน)
  1. ศรีชมชื่น 1
  2. ศรีชมชื่น 2
  3. ศรีชมชื่น 3
  4. บ้านจิก
  5. พาสุขมั่นคง
  6. ดอนอุดม 1
  7. ดอนอุดม 2
  8. ดอนอุดม 3
  9. ดอนอุดม 4
  10. ดอนอุดม 5
  11. โนนยาง 2
  12. ดงวัด
  13. หนองใหญ่
  14. บ้านช้าง 1
  15. บ้านช้าง 2
  16. โพนบก
  17. นาดี
  18. หนองหิน
  19. ศรีสุข
  20. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 1
  21. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 2
  22. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 3
  23. ค่ายประจักษ์ศิลปาคม 4
  24. กองบิน 23 ยั่งยืน 1
  25. กองบิน 23 ยั่งยืน 2
  26. กองบิน 23 ยั่งยืน 3
  27. โนนทัน

ทำเนียบนายกเทศมนตรี

[แก้]
ลำดับ รายชื่อ ชื่อตำแหน่ง ช่วงเวลา
1. นายฤทธิรงค์ กาญจนแก้ว นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2533
พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2541
2. นายสวัสดิ์ พรหมมินทร์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี พ.ศ 2541
3. นายจันทบาล อายุวัฒน์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี พ.ศ 2547
4. นายณณชัย (หาญชัย) ฑีฆธนานนท์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551
5. นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2564
6. ดร.ธนดร พุทธรักษ์ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน

สถานศึกษา

[แก้]
สถาบันอุดมศึกษา
สถาบันอาชีวศึกษา

สาธารณสุข

[แก้]

เศรษฐกิจ

[แก้]

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ 94,000 บาท เป็นอันดับ 3 ของภาคอีสาน รองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่น และเป็นอันดับ 25 ของประเทศ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 75,000 บาท สูงกว่าภาคอีสานเฉลี่ยที่ 48,000 ต่อคนต่อปี โดยจีดีพีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวของการค้า การลงทุน การผลิต และการบริการ[6]

โครงสร้างเศรษฐกิจสำคัญของอุดรธานี คือ การค้าปลีก-ส่ง, เกษตรกรรม, การบริการ, อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม โดยมีนิคมอุตสาหกรรมอันดับที่ 56 ของประเทศ และมีสนามบินศักยภาพสูง มีเที่ยวบินขึ้นลงรับส่งผู้โดยสารมากที่สุดในภาคอีสาน ถือว่าเป็นฐานการคมนาคมขนส่งออกทางอากาศ เชื่อมโยงไปสู่กลุ่มประเทศอินโดจีนและเป็นจุดแรกในการกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคใกล้เคียงและประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นศูนย์กลางของการเงินและการค้ากับประเทศลาว ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม

ย่านการค้าที่สำคัญ

[แก้]
  • ย่านถนนทองใหญ่–ถนนประจักษ์ศิลปาคม เป็นจุดบรรจบของถนนสำคัญสองสาย และยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมสำคัญของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่ 1 และสถานีรถไฟอุดรธานี ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร หลายประเภทอยู่ด้วยกัน และยังเป็นจุดนัดพบปะสังสรรค์ของชาวอุดร ซึ่งมีห้างสรรพสินค้าจำนวนมากตั้งอยู่
  • ย่านถนนนิตโย หรือ ถนนโพศรี ทางหลวงหมายเลข 22 หรือถนนนิตโย เป็นถนนที่เป็นเส้นทางหลักเชื่อมต่อกับจังหวัดสกลนคร แต่ช่วงที่อยู่ในเขตตัวเมืองอุดรธานี จะเรียกว่า ถนนโพศรี และเชื่อมต่อกับย่านธุรกิจที่สำคัญอีกหลายย่าน จึงเป็นถนนที่มีห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านค้าต่าง ๆ รวมทั้งตลาดขนาดใหญ่ตั้งอยู่
  • ย่านวงเวียนห้าแยกน้ำพุ ห้าแยกน้ำพุ เป็นจุดบรรจบของถนนสายสำคัญของจังหวัดอุดรธานี ซึ่งได้รับการวางผังเมืองไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่อดีต และเป็นสัญลักษณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เมืองอุดรธานี นับตั้งแต่เมื่อเริ่มมีการก่อตั้งเมืองอุดรธานีขึ้นมา ทำให้บริเวณห้าแยกน้ำพุเป็นย่านกานค้าเก่าแก่ที่มีร้านค้าต่าง ๆ มากมายรวมอยู่ในย่านนี้ นอกจากนี้ยังเป็นย่านธุกิจค้าส่งเสื้อผ้าที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ย่านวงเวียนหอนาฬิกาหรือสี่แยกคอกวัว
  • ย่านวงเวียนหอนาฬิกา วงเวียนหอนาฬิกาหรือสี่แยกคอกวัว เป็นหนึ่งในวงเวียนสำคัญของเมืองอุดรธานี ซึ่งเป็นจุดตัดของถนนอุดรดุษฎีและถนนประจักษ์ศิลปาคม เป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองอุดรธานีมาตั้งแต่อดีตที่เชื่อมไปยังย่านอื่น ๆ ของตัวเมือง
  • ย่านถนนมิตรภาพ (ถนนเลี่ยงเมืองช่วงอุดรธานี–หนองคาย) เป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองไปยังชานเมือง เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดข้างเคียง และประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้มีห้างสรรพสินค้าและร้านค้ามากมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัสดุก่อสร้างและเครื่องเรือน และค้าส่ง ค้าปลีกสินค้าแฟชั่น
  • ย่านถนนมิตรภาพ (ถนนเลี่ยงเมืองช่วงอุดรธานี–ขอนแก่น) เป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองไปยังชานเมือง เป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่อมต่อไปยังจังหวัดข้างเคียง
  • ย่านถนนบุญยาหาร (ถนนเลี่ยงเมืองช่วงอุดรธานี–หนองบัวลำภู) เป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ ที่เกิดจากการขยายตัวของตัวเมืองไปยังชานเมือง ซึ่งมีหมู่บ้านจัดสรรจำนวนมากตั้งอยู่ เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังสนามบินนานาชาติอุดรธานีซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ถนนสายนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที่สอง ตลอดจนสามารถเชื่อมต่อไปยังจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดเลย ทำให้มีห้างค้าปลีกค้าส่งจำนวนมากตั้งอยู่

การขนส่ง

[แก้]

เทศบาลนครอุดรธานีมีเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศที่สามารถเดินทางได้สะดวก ทั้งในรูปแบบของการเดินทางของประชาชนและการขนส่งสินค้า

สถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานีแห่งที 1 สังกัด เทศบาลนครอุดรธานี

ทางราง

[แก้]
สถานีรถไฟอุดรธานี ศูนย์กลางการขนส่งระบบรางในภาคอีสานตอนบน

สถานีรถไฟอุดรธานี ตั้งอยู่ที่ถนนทองใหญ่ สำหรับทางรถไฟมีหลายขบวนด้วยกันและมีปลายทางที่จังหวัดอุดรธานีโดยตรง และขบวนรถที่ผ่านต่อไปยังจังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์ให้บริการทุกวัน อาทิเช่น สายกรุงเทพ–หนองคาย, กรุงเทพ–อุดรธานี, กรุงเทพ–เวียงจันทน์, อุดรธานี–เวียงจันทน์, นครราชสีมา–หนองคาย, นครราชสีมา–อุดรธานี และในช่วงเทศกาลอย่างสงกรานต์และปีใหม่ จะมีการเปิดเดินรถสายกรุงเทพ–อุดรธานี เพิ่มเติม

ทางถนน

[แก้]
รถสองแถวสีเขียวในนครอุดรธานี

ทางหลวงแผ่นดินที่ผ่านภายในเขตเทศบาลและบริเวณรอบนอกเขตเทศบาล มีดังนี้

สถานีขนส่งผู้โดยสารในเทศบาลนครอุดรธานี มี 1 แห่ง ได้แก่

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 1 ตั้งอยู่ที่ถนนสายอุทิศ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

สถานีขนส่งผู้โดยสารนอกเขตเทศบาลนครอุดรธานีในเทศบาลเมืองหนองสำโรง มี 1 แห่ง ได้แก่

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

ทางอากาศ

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ท่าอากาศยานประจำจังหวัดอุดรธานี

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เป็นท่าอากาศยานประจำจังหวัดอุดรธานี มีสายการบินที่ให้บริการ ได้แก่ การบินไทยสมายล์, นกแอร์, ไทยแอร์เอเชีย, ไทยไลออนแอร์, บางกอกแอร์เวย์

สถานที่สำคัญ

[แก้]
สวนสาธารณะหนองประจักษ์
สวนสาธารณะ
  • สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า หนองนาเกลือ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานีได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดสวยงามมาก ทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะ มีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนไปพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะมีพระตำหนักหนองประจักษ์ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
  • สวนสาธารณะหนองสิม เป็นสวนสาธารณะในย่านชุมชนที่จะให้บริการแก่ประชาชนสำหรับเป็นสถานที่ใช้ในการออกกำลังกาย พักผ่อน ซึ้งภายในได้มีการจัดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • สวนสาธารณะหนองบัว เป็นสวนสาธารณะสำหรับใช้ออกกำลังกายจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เป็นสถานที่พบปะพูดคุยกัน ภายในจัดเป็นสวนหย่อมปลูกต้นไม้ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม อีกทั้งยังมีการจัดแสดงน้ำพุให้ได้ชมกันอีกด้วย และรอบสวนสาธารณะหนองบัวยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดอุดรธานีตั้งอยู่ด้วย นั่นก็คือ ศาลเจ้าปู่ย่า จังหวัดอุดรธานี
  • ทุ่งศรีเมือง
ศาลหลักเมืองจังหวัดอุดรธานี

วัฒนธรรม

[แก้]
เทศกาล
  • งานทุ่งศรีเมือง และงานโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิดจังหวัดอุดรธานี จัดระหว่างวันที่ 1–15 ธันวาคม ของทุกปี
  • งานฉลองเจ้าปู่ - เจ้าย่า อำเภอเมืองอุดรธานี จัดทุกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี
  • งานถนนอาหาร สงกรานต์เมืองอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี ระหว่างวันที่ 10–16 เมษายน ของทุกปี
  • งานวันคล้ายวันสถาปนาการก่อตั้งเมืองอุดรธานี วันที่ 18 มกราคม ของทุกปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พุทธศักราช ๒๔๗๙
  2. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๔๙๕
  3. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๖
  4. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๓๘
  5. "Climate Normals for Udon Thani". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. http://www.thairath.co.th/content/457432

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]