ชลอ ธรรมศิริ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชลอ ธรรมศิริ
ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
29 เมษายน พ.ศ. 2520 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
ก่อนหน้า ธรรมนูญ เทียนเงิน
ถัดไป เชาวน์วัศ สุดลาภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 13 มกราคม พ.ศ. 2470
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต 15 มกราคม พ.ศ. 2564 (94 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรค ไม่มีสังกัดพรรค/แต่งตั้ง
คู่สมรส ประนอม ธรรมศิริ
บุตร 3 คน
ศาสนา พุทธ

ชลอ ธรรมศิริ (13 มกราคม พ.ศ. 2470 – 15 มกราคม พ.ศ. 2564) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลำดับที่ 6 โดยเป็นผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2520 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522[1][2] เคยผ่านงานด้านการปกครอง เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2507 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนายอำเภอ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นอธิการบดีวิทยาลัยการปกครอง เป็นรองอธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย อีกทั้งเคยเป็นปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2518 และได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็น “นักพูดดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2520[3]

ชลอ กำลังนั่งเขียนหนังสือ

ประวัติ[แก้]

นายชลอ ธรรมศิริ เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สมรสกับคุณประนอม ธรรมศิริ มีบุตร-ธิดา 3 ท่าน เป็นบุตรชาย 1 ท่าน ธิดา 2 ท่าน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 13

นายชลอ ธรรมศิริ อดีตปลัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564⁣ โดยกำหนดการน้ำหลวงอาบศพ วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.00 น. กำหนดสวดพระอภิธรรม ระหว่างวันที่ 15–21 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 19.00 น. ณ ศาลา 4 วัดธาตุทอง พระอารามหลวง⁣ และกำหนดพระราชทานเพลิงศพ ในวันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 14.00 น. ณ เมรุ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร⁣[4]

งานด้านการปกครอง[แก้]

ผลงานที่สำคัญ[แก้]

  • พ.ศ. 2520 มีส่วนสนับสนุนผลักดันให้มีการจัดทำที่ดินเพื่อสร้างสวนหลวง ร.9[10]
  • เป็นผู้จัดการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • คณะผู้บริหารราชการกรุงเทพมหานครโดยจัดตั้งตำรวจเทศกิจ พ.ศ. 2520[11]

เกียรติยศที่ได้รับ[แก้]

บทประพันธ์[แก้]

  • ผู้จัดทำ และที่ปรึกษานิตยสารธรรมจักษุ[12]

บทความทางการเมือง[แก้]

  • มิใช่เพียงแต่ให้ได้พูด
  • หัวหน้าที่ลูกน้องต้องการ
  • รัฐบาลและ ส.ส.มีความจริงใจที่จะกระจายอำนาจหรือไม่[13]
  • เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชลอ ธรรมศิริ [14]
  • มนุษยสัมพันธ์ในโรงงาน กองฝึกอบรมไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2529 [15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ใครเป็น “ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ” มาแล้วบ้าง?
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-13. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
  4. "อดีตผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 6 "ชลอ ธรรมศิริ" ถึงแก่กรรม". ไทยรัฐ. January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
  5. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  9. ผู้จัดการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  11. คณะผู้บริหารราชการกรุงเทพมหานครโดยจัดตั้งตำรวจเทศกิจ[ลิงก์เสีย]
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  13. รัฐบาลและ ส.ส.มีความจริงใจที่จะกระจายอำนาจหรือไม่[ลิงก์เสีย]
  14. เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชลอ ธรรมศิริ เก็บถาวร 2010-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. มนุษยสัมพันธ์ในโรงงาน กองฝึกอบรมไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๗๓ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓๑, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง หน้า ๒๔๓๗, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐