กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11 | |
ดำรงตำแหน่ง 19 เมษายน 2535 – 18 เมษายน 2539 (3 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลตรี จำลอง ศรีเมือง |
ถัดไป | พิจิตต รัตตกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2475 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 12 มกราคม พ.ศ. 2553 (78 ปี) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2531–2539) ประชากรไทย (2539–2553) |
คู่สมรส | สุชาดา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา |
บุตร | 3 คน |
อาชีพ |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | 2500 – 2503 |
ยศ | ร้อยเอก |
กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | ไทย |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | |
รางวัล | ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) |
การทำงาน | บริษัท คาซ่า จำกัด |
ผลงานสำคัญ |
|
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (9 มกราคม พ.ศ. 2475 – 12 มกราคม พ.ศ. 2553) เป็นสถาปนิกชาวไทย นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบคาซ่า อาจารย์และอดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คนที่ 4 พ.ศ. 2517–2521)[1], นักแสดง นักบินสมัครเล่น อดีตนักกีฬายิงปืนทีมชาติในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2503 และปี พ.ศ. 2507[2] อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11 และศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ปี พ.ศ. 2550
กฤษฎา เป็นสถาปนิกผู้บุกเบิกงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่คนสำคัญของไทย ด้วยผลงานออกแบบที่เป็นที่รู้จักกันดีเช่น เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ อาคารศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โบสถ์เซเวียร์ เป็นต้น ผลงานของกฤษฎา มักเป็นอาคารเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่และส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]กฤษฎา เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของหม่อมหลวงวงศ์อรุณ อรุณวงษ์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ (อสช 12977) ปริญญาตรีและโททางสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2498, 2499 ได้รับทุนจากรัฐบาลฝรั่งเศส ไปศึกษาด้านสถาปัตยกรรมที่ โรงเรียนวิจิตรศิลป์เอกอลเดโบซาร์ และดูงานสถาปัตยกรรม เป็นเวลา 6 เดือน ในปี พ.ศ. 2503[3] กฤษฎา สมรสกับ สุชาดา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 1 คน
การทำงาน
[แก้]กฤษฎา เคยรับราชการที่กรมยุทธโยธาทหารบกหลังสำเร็จการศึกษา จนถึงยศร้อยเอก แล้วจึงโอนมาเป็นอาจารย์สอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2503–2532) และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม (อาษา) , อดีตอุปนายกของสภาสถาปนิกเอเซีย (ARCASIA) , อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา (พ.ศ. 2533–2535) และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (19 เมษายน 2535 – 18 เมษายน 2539) โดยการสนับสนุนของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อดีตผู้ว่าฯ คนก่อน ได้รับมอบปริญญา สถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปี พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551 จากการเสนอของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.)[4]
กฤษฎา เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท คาซา (CASA) มีผลงานออกแบบอาคารหลายแห่ง ที่มีชื่อเสียง เช่น อาคารใหม่สวนอัมพร[5] อาคารสินธร ถนนวิทยุ[6] อาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาชิดลม สาขาสีลม[7] และสาขาหัวหมาก สำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงเทพ สาขาสีลม[4] ตึกไอบีเอ็ม ถนนพหลโยธิน[6] สำนักงานใหญ่การบินไทย[6] และเมื่อปี 2539 ได้รับเลือกให้เป็นสถาปนิกดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์[8]
ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา เป็นราชบัณฑิตประเภทวิชาสถาปัตยศิลป์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรม สํานักศิลปกรรม ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551[9]
ถึงแก่กรรม
[แก้]กฤษฎา ถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 ที่โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 78 ปี[10] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
ผลงานออกแบบ
[แก้]- อาสนถานแม่พระนิรมล จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. 2503)
- โรงแรมมโนราห์ (พ.ศ. 2506)
- อาคารกรุงเทพสหกล (พ.ศ. 2510)
- อาคารสมาคมนักข่าวไทย (พ.ศ. 2510)
- อาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2510)
- อาคารบรรยายรวมคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2510)
- อาคารสารสิน (พ.ศ. 2511)
- อาคารสวนใหม่อัมพร (พ.ศ. 2511)
- โบสถ์เซเวียร์ (พ.ศ. 2513)
- อาคารเซเวียร์ฮอลล์ (พ.ศ. 2513)
- ห้องสมุด เอ.ยู.เอ. (พ.ศ. 2513)
- ธนาคารไทยทนุ สาขาสีลม (พ.ศ. 2513)
- บ้านศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2514)
- โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ (พ.ศ. 2516)
- ธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่ (พ.ศ. 2517)
- โรงแรมเพลสซิเดนท์ (พ.ศ. 2517)
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลซิดลม (พ.ศ. 2517)
- อาคารสินเอเซีย (พ.ศ. 2517)
- อาคารสินธร (พ.ศ. 2521)
- อาคารศรีวิกรม (พ.ศ. 2522)
- อาคารอมารีแอร์พอร์ต (พ.ศ. 2523)
- ริเวอร์ เฮาส์ คอนโดมิเนียม (พ.ศ. 2524)
- อาคารชาญอิสระ (พ.ศ. 2525)
- อาคารเอส.พี.อินเตอร์ชันแนล (พ.ศ. 2525)
- ศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์ (พ.ศ. 2525)
- อาคารเซ็นทรัลชิดลม ทาวเวอร์ (พ.ศ. 2526)
- อาคารสาธรธานี (พ.ศ. 2526)
- อาคารบ้านโป่ง (พ.ศ. 2526)
- อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (พ.ศ. 2527)
- อาคารเอส.พี. (ไอ.บี.เอ็ม.) (พ.ศ. 2528)
- อาคารสกล (พ.ศ. 2529)
- อาคารบิวตี้ เจมส์ (พ.ศ. 2530)
- ส่วนต่อขยายอาคารสำนักงานใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (พ.ศ. 2531)
- อาคารซี.ที.ไอ.ทาวเวอร์ (พ.ศ. 2531)
- อาคารอาร์.เอส.ทาวเวอร์ (พ.ศ. 2532)
- อาคารหะรินทร (พ.ศ. 2532)
วงการบันเทิง
[แก้]กฤษฎา เป็นนักบินสมัครเล่น เคยมีผลงานเป็นนักแสดงรับเชิญ ในภาพยนตร์เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ (2541) โดยรับบทเป็น พระยาบริรักษ์ประชาราษฎร์ บิดาของ เสือใบ (อำพล ลำพูน) ตัวเอกในเรื่อง และ เรื่องพรางชมพู (2545)[11] แสดงละครโทรทัศน์เทิดพระเกียรติเรื่อง พ่อ ตอน ชีวิตที่พอเพียง (2542) และแสดงละครเวที
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
[แก้]กฤษฎา ได้เข้ารับราชการในกองทัพไทยในปี พ.ศ. 2500 – 2503 และได้เป็นนักกีฬายิงปืนทีมชาติในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี พ.ศ. 2503 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และปี พ.ศ. 2507 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[2]
ยศกองอาสารักษาดินแดน
[แก้]กฤษฎา ได้รับพระราชทานยศนายกองเอกแห่งกองอาสารักษาดินแดน[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[15]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.)[16]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[18]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[19]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ลำดับตอนที่ #38 : ทัวร์กันให้ทั่วจุฬาฯ ตอนที่ 12 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์". Dek-D.com. 3 ตุลาคม 2006.
- ↑ 2.0 2.1 "Krisada Arunwong". Sports Reference. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015.
- ↑ "รอ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา". วารสารข้าราชการกรุงเทพมหานคร. 3 (2): 8–9. เมษายน 1992. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2008. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2008.
- ↑ 4.0 4.1 แพง ชินพงศ์ (17 มกราคม 2008). "วธ.ประกาศ 6 ศิลปินแห่งชาติ ปี 2550 "ร.อ.กฤษฎา-ครูเพลงชื่อดัง" ได้รับรางวัล". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "อาคารใหม่สวนอัมพร". TCDC. 15 มิถุนายน 2010.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Introduction". Casa Company Limited (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2008. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2008.
- ↑ "เซ็นทรัลรีเทล ทุ่มงบกว่า 50 ล้าน ปรับโฉมใหม่เซ็นทรัล-สีลม โดนใจลูกค้าย่านธุรกิจ". ThaiPR.net. 13 กันยายน 2007.
- ↑ ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (18 มกราคม 2008). "อ.กฤษฎา คือ ศิลปินแห่งชาติ ของเราในปี ๒๕๕๐ ครับผม". สมาคมสถาปนิกสยาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มกราคม 2014.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งราชบัณฑิต. เล่ม 125 ตอนพิเศษ 163 ง หน้า 45. วันที่ 10 ตุลาคม 2551.
- ↑ "อดีตผู้ว่าฯกทม."กฤษฎา"เสียชีวิตแล้ว". คมชัดลึกออนไลน์. 13 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2023.
- ↑ "พรางชมพู (2002)". สยามโซน.คอม.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน. เล่ม 110 ตอนที่ 19 ฉบับพิเศษ หน้า 3. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์. เล่ม 108 ตอนที่ 208 ง ฉบับพิเศษ หน้า 1. วันที่ 29 พฤศจิกายน 2534.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์. เล่ม 103 ตอนที่ 213 ง ฉบับพิเศษ หน้า 5. วันที่ 3 ธันวาคม 2529.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑. เล่ม 126 ตอนที่ 2 ข หน้า 122. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า. เล่ม 85 ตอนที่ 44 ง ฉบับพิเศษ หน้า 30. วันที่ 15 พฤษภาคม 2511.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา. เล่ม 99 ตอนที่ 184 ง ฉบับพิเศษ หน้า 3241. วันที่ 17 ธันวาคม 2525.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี. เล่ม 111 ตอนที่ 15 ช หน้า 90. วันที่ 17 สิงหาคม 2537.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ. เล่ม 113 ตอนที่ 12 ข หน้า 64. วันที่ 21 มิถุนายน 2539.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์บริษัท CASA เก็บถาวร 2008-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตรี จำลอง ศรีเมือง | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (19 เมษายน พ.ศ. 2535 – 18 เมษายน พ.ศ. 2539) |
พิจิตต รัตตกุล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2475
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2553
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- สถาปนิกชาวไทย
- ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์
- ราชสกุลอรุณวงศ์
- ณ อยุธยา
- บุคคลจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- ราชบัณฑิต
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- เสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจหลอดเลือด
- พรรคพลังธรรม
- พรรคประชากรไทย
- นักบินทหารชาวไทย
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.อ.จ.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- นักการเมืองไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- สิ่งก่อสร้างโดยกฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
- นักกีฬายิงปืนชาวไทย
- บุคคลจากจังหวัดพระนคร
- ผู้เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1960
- ผู้เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1964
- นักกีฬาโอลิมปิกทีมชาติไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544