บุษยา มาทแล็ง
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
บุษยา มาทแล็ง ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
ปลัดกระทรวงต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2559 – 1 ตุลาคม 2563 | |
กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 ธันวาคม พ.ศ. 2502 |
คู่สมรส | โลร็องท์ ชิลส์ มาทแล็ง |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมิชิแกน |
บุษยา มาทแล็ง (เกิด 15 ธันวาคม 2502) เป็นหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้าออกประเทศและการดูแลคนไทยในต่างประเทศ[1] หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[2] กรรมการในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ[3] กรรมการในคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ[4] กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ[5] กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[6]กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กรรมการสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์[7] ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ ในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[8]กรรมการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[9]กรรมการในคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ[10]กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการเปลียนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ[11]กรรมการในคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า[12]กรรมการในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ
ในวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบริหารเศรษฐกิจภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) [13]
อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและอดีตผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประวัติ[แก้]
นางบุษยา เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2502 สมรสกับ นาย โลร็องท์ ชิลส์ มาทแล็ง
นางบุษยาจบการศึกษาจาก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาภาษาฝรั่งเศส เกียรตินิยมอันดับที่ 1 และเหรียญทอง จากนั้นจึงไปศึกษาต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์และเอเชียศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน จากนั้นจึงเดินทางกลับประเทศไทยและเข้ารับราชการที่ กระทรวงการต่างประเทศ
รับราชการ[แก้]
นางบุษยารับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ขณะอายุได้ 27 ปีในตำแหน่งนายเวร (ผู้ช่วยเลขานุการ) ประจำกองยุโรป กรมการเมือง หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ
จนกระทั่งวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2539 นางบุษยาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตามคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 1547/2539 [14] และเมื่อ พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ พ.ศ. 2550 อัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2553 ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมยุโรป พ.ศ. 2555 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล และ พ.ศ. 2556 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 นางบุษบา ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรสเปน ควบตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชรัฐอันดอร์รา[15]ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรเบลเยียม [16] วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ราชอาณาจักรเบลเยียม ควบตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรปและประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป อีกตำแหน่งหนึ่ง[17]
ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งให้นางบุษยาซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำกรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยี่ยมให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศแทนนายอภิชาติ ชินวรรโณ ที่เกษียณอายุราชการโดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยให้มีผลในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 [18]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[19]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[20]
- พ.ศ. 2554 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[21]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 6/2563
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/271/T_0026.PDF
- ↑ https://www.ipthailand.go.th/images/633/law_info2540.pdf
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0160.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0017.PDF
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/027/2.PDF
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/259/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/271/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/175/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/071/T_0104.PDF
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 13 สิงหาคม 2563
- ↑ คำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 1547/2539 เรื่อง แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอน 85 ง หน้า 143 22 ตุลาคม พ.ศ. 2539
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/070/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/001/11.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/055/2.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๑, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒๐, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
- บทความที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บทความทั้งหมดที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- เอกอัครราชทูตไทย
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา