แจ่มใส ศิลปอาชา
หน้าตา
แจ่มใส ศิลปอาชา | |
---|---|
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 134 วัน) | |
ก่อนหน้า | ภักดิพร สุจริตกุล |
ถัดไป | พันธุ์เครือ ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | แจ่มใส เลขวัต 20 เมษายน พ.ศ. 2477 จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2519–2545) ชาติไทยพัฒนา (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | บรรหาร ศิลปอาชา (2500—2559) |
บุตร | กัญจนา ศิลปอาชา วราวุธ ศิลปอาชา ปาริชาติ ศิลปอาชา |
บุพการี |
|
คุณหญิง แจ่มใส ศิลปอาชา (เกิดวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2477) ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของ นายหงวน เลขวัต และนางทับทิม เลขวัต เป็นบุตรคนสุดท้องมีพี่ชายอีก 1 คน
สมรสกับนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย มีบุตร-ธิดารวม 3 คน เป็นชาย 1 คน คือ วราวุธ ศิลปอาชา (สมรสกับ เก๋ - สุวรรณา ไรวินท์ ทายาทตระกูลไรวินท์ เจ้าของธุรกิจ ซุปไก่ก้อนรีวอง) และเป็นหญิง 2 คน คือ กัญจนา ศิลปอาชา และ น.ส. ปาริชาติ ศิลปอาชา
ประวัติการศึกษา
[แก้]พ.ศ. 2487 : สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคประถมศึกษา จากโรงเรียนผดุงศิลป์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2490 : สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสงวนหญิง เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติการทำงาน
[แก้]- เป็นผู้ก่อตั้งและดำเนินการ มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา
- เป็นกรรมการมูลนิธิต่าง ๆ คือ
- กรรมการมูลนิธิกตเวทิน โดยมี ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ เป็นประธานกรรมการ
- กรรมการมูลนิธิกฤตานุสรณ์ โดยมี คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู เป็นประธานกรรมการ
- กรรมการมูลนิธิอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งคุณหญิงแจ่มใส เป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- จัดสร้างสวนเฉลิมภัทรราชินี บนที่ดินราชพัสดุ อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาศที่มีพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยใช้งบประมาณส่วนตัวทั้งหมด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๘, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | แจ่มใส ศิลปอาชา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ภักดิพร สุจริตกุล | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) |
คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ |