อำเภอเนินมะปราง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอเนินมะปราง | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ถิ่นมะปรางหวาน ฐานธรรมะ ถ้ำพระนเรศวร ล้วนพืชพรรณ ตระการภูผา | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 16°34′6″N 100°38′8″E / 16.56833°N 100.63556°E | |
อักษรไทย | อำเภอเนินมะปราง |
อักษรโรมัน | Amphoe Noen Maprang |
จังหวัด | พิษณุโลก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,029.550 ตร.กม. (397.511 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 57,972 คน |
• ความหนาแน่น | 56.30 คน/ตร.กม. (145.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 65190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6509 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเนินมะปราง หมู่ที่ 2 ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 65190 |
![]() |
อำเภอเนินมะปราง เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเนินมะปรางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 68 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาค้อ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และอำเภอวังโป่ง (จังหวัดเพชรบูรณ์)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวังโป่ง (จังหวัดเพชรบูรณ์) อำเภอทับคล้อ และอำเภอวังทรายพูน (จังหวัดพิจิตร)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอวังทรายพูน อำเภอสากเหล็ก (จังหวัดพิจิตร) และอำเภอวังทอง
ประวัติ[แก้]
พื้นที่อำเภอเนินมะปรางเดิมเป็นป่าดงดิบที่เต็มไปด้วยต้นไม้และสัตว์ป่า ห่างไกลจากผู้คน แต่จะมีเพียงผู้มีอาชีพพรานที่เข้ามาล่าสัตว์และหาของป่า มาสร้างกกปางและอาศัยพักแรมชั่วคราวเท่านั้น ต่อมามีกลุ่มคนจากนครไทย ด่านซ้าย และหล่มสัก อพยพย้ายถิ่นฐานเดิมเข้ามาตั้งรกรากบริเวณบ้านชมพู บ้านมุง วังโพรง ไทรย้อย จากนั้นก็ขยับขยายที่ทำกินไปที่วังยาง บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก และเนินมะปราง ในที่สุด โดยตัวอำเภอเนินมะปรางเดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42 ปี ชื่อบ้านเนินมะปราง ขึ้นกับตำบลบ้านมุง อำเภอวังทอง ลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี มีถ้ำอยู่มากมาย จึงเป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีการปลุกระดมมวลชน แทรกซึม บ่อนทำลายความมั่นคง และซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่รวมทั้งสถานที่ราชการอยู่เนือง ๆ ทางราชการจึงได้แยกพื้นที่บางส่วนของอำเภอวังทองตั้งเป็น กิ่งอำเภอเนินมะปราง ขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2519 มีปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอคนแรกชื่อ นายประยูร อินทรทัศน์ และได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเนินมะปราง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2526 มีร้อยตรี สมชาย นวาวัฒน์ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก จัดเป็นอำเภอชั้น 3 และนับเป็นอำเภอที่ 9 ของจังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีถ้ำมากมายให้ทุกท่านได้รับชม เช่น ซากดึกดำบรรพ์ อักษรญี่ปุ่นโบราณ ฯลฯ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเนินมะปรางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 77 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ชมพู | (Chomphu) | 15 หมู่บ้าน | 5. | บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก | (Ban Noi Sum Khilek) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
2. | บ้านมุง | (Ban Mung) | 8 หมู่บ้าน | 6. | เนินมะปราง | (Noen Maprang) | 9 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
3. | ไทรย้อย | (Sai Yoi) | 17 หมู่บ้าน | 7. | วังยาง | (Wang Yang) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||
4. | วังโพรง | (Wang Phrong) | หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเนินมะปรางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเนินมะปราง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเนินมะปราง
- เทศบาลตำบลไทรย้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไทรย้อยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านมุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านมุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชมพู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชมพูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังโพรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังโพรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็กทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเนินมะปราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินมะปราง (นอกเขตเทศบาลตำบลเนินมะปราง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังยางทั้งตำบล
แหล่งท่องเที่ยว[แก้]
ครอบคลุมเนื้อที่ 1,775 ไร่ในท้องที่อำเภอเนินมะปราง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 85 กิโลเมตร การเดินทางเริ่มจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงอำเภอวังทอง ระยะทาง 20 กิโลเมตร แยกขวาไปยังอำเภอสากเหล็กอีก 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1115 อีก 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา (ก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร) มีแยกขวาไปถ้ำผาท่าพลอีก 10 กิโลเมตร เส้นทางบางช่วงเป็นทางลูกรัง ในฤดูฝนควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
พื้นที่บริเวณนี้เป็นภูเขาหินปูน ยอดสูงสุด 236 เมตร มีหน้าผาสูงชันเว้าแหว่งอันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำฝนนับหลายล้านปี เกิดเป็นถ้ำต่าง ๆ มากมายทั่วบริเวณ ได้แก่ ถ้ำนเรศวร ถ้ำเรือ ที่มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ถ้ำลอด ซึ่งสามารถเดินทะลุไปยังอีกด้านหนึ่งของภูเขาได้ นอกจากนี้ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของหอยและปะการัง เนื่องจากบริเวณนี้เคยเป็นท้องทะเลมาก่อน และยังมีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์รูปมือคนบนเพิงผาหิน และอักษรญี่ปุ่นโบราณสลักบนก้อนหิน พรรณไม้และร่องรอยสัตว์ป่าต่าง ๆ ที่มักพบระหว่างทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ เหมาะแก่การทัศนศึกษาเชิงนิเวศ นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขอข้อมูลได้เจ้าหน้าที่เมื่อเดินทางมาถึงยังสำนักงานเขต การเที่ยวชมถ้ำต่าง ๆ ต้องนำไฟฉายติดตัวมาด้วย ในช่วงฤดูฝนถ้ำบางแห่งไม่สามารถเข้าชมได้เนื่องจากมีน้ำท่วมพื้นถ้ำ หากต้องการพักค้างแรมหรือทัศนศึกษาเป็นหมู่คณะ ติดต่อล่วงหน้าได้ที่สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล หมู่ 6 ตำบลบ้านมุง
- ถ้ำพระวังแดง
เป็นถ้ำที่ยาวและใหญ่เชื่อมต่อกันหลายถ้ำ มีความยาวประมาณ 12.5 กิโลเมตร ถือว่าเป็นถ้ำที่ยาวมาก ภายในถ้ำมีห้องโถงขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อยสวยงามและมีลำห้วยอยู่ด้านล่าง ในลำห้วยมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นปลาพันธุ์ใหม่หายาก คือ ปลาค้อถ้ำพระวังแดงหรือปลาไม่มีตา เนื่องจากอาศัยอยู่ในถ้ำเป็นเวลานานจนมีการปรับสภาพให้เหมาะแก่การดำรงชีวิตภายในถ้ำซึ่งไม่มีแสงเพียงพอ ลักษณะลำตัวยาว 15 เซนติเมตร หลังค่อม ริมฝีปากหนา ไม่มีตา แต่เห็นเป็นรอยเล็ก ๆ และมีติ่งหนังด้านหน้า ลำตัวสีชมพูอมเหลือง ปลาอีกพันธุ์หนึ่งที่พบในถ้ำนี้คือ ปลาถ้ำพลวงหรือปลาตาบอดมีลักษณะแตกต่างจากปลาพลวงชนิดอื่น ๆ คือ มีตาเล็กและมีหนังบาง ๆ หุ้มโดยรอบดวงตา ริมฝีปากหนา มีหนวด 2 คู่ หลังโค้งมนมีเกล็ดบางบำตัวสีชมพูจางปนกับสีเทาอ่อน ๆ ยาวประมาณ 40 เซนติเมตร
การเข้าไปเที่ยวชมภายในถ้ำควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงที่ 5) เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายหรือการพลัดหลง
- จุดชมวิวบ้านรักไทย
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอเนินมะปราง ซึ่งบ้านรักไทย เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ ตั้งอยู่ในตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง เป็นหมู่บ้านอันเงียบสงบที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขาและธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ มีโฮมสเตย์แบบเรียบง่ายประมาณ 5-6 แห่ง ตั้งเรียงรายและเห็นวิวทิวเขาสลับกับสวนและไร่นาของชาวบ้าน เป็นวิวภูเขาแบบพาโนรามากว้างไกลสุดตา หากมาเที่ยวในฤดูฝนหรือในฤดูหนาวที่ฝนตกใหม่ๆ ยังสามารถมองเห็นทะเลหมอกสุดอลังการคลอเคลียอยู่ตามไหล่เขา
- แลนด์มาร์คบ้านมุง
้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ที่ตั้งอยู่ ต.บ้านมุง อำเภอเนินมะปราง มีลักษณะภูเขาสลับซับซ้อนอย่างสวยงามเหมือนกุ๊ยหลินที่ประเทศจีน ในฤดูหนาวจะเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวในกลุ่มปั่นจักรยานและกลุ่มที่ชอบตั้งแค้มป์นอน เพราะที่นี่มีทัศนียภาพที่สวยงามและมีอากาศที่เย็นสบายในฤดูหนาว
สถานศึกษารัฐบาล[แก้]
รัฐบาล[แก้]
- โรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39
- โรงเรียนวังโพรงพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39
- โรงเรียนไทรย้อยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39
- โรงเรียนบ้านเนินมะปราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
เอกชน[แก้]
- โรงเรียนเอ.เจ.เนินมะปราง (อาภัสราเจนสคูล)