อำเภอท่าปลา
อำเภอท่าปลา | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: ธาราเขียวขจี นารีอ่อนหวาน เขื่อนตระการตา ปลาอุดมสมบูรณ์ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 17°47′35″N 100°22′38″E / 17.79306°N 100.37722°E | |
อักษรไทย | อำเภอท่าปลา |
อักษรโรมัน | Amphoe Tha Pla |
จังหวัด | อุตรดิตถ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,366.445 ตร.กม. (527.587 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 43,575 คน |
• ความหนาแน่น | 31.88 คน/ตร.กม. (82.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 53150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5303 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่าปลา หมู่ที่ 1 ตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 53150 |
![]() |
ท่าปลา (คำเมือง: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งอารยธรรมและอดีตดินแดนล้านนาตะวันออก มีพื้นที่ 1,366.445 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 854,028.125 ไร่) ลักษณะส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่อยู่ระหว่างเนินเขาและภูเขา มีอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์อยู่ตอนกลางเป็นพื้นที่แหล่งน้ำ 284.8 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภออยู่ในการดูแลของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน เขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชนน้อยมาก
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอท่าปลาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสูงเม่น อำเภอเมืองแพร่ (จังหวัดแพร่) และอำเภอนาหมื่น (จังหวัดน่าน)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอน้ำปาด
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน และอำเภอเมืองอุตรดิตถ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่)
ประวัติ[แก้]
ชื่อเดิมเรียกว่า "ทับป่า" ขึ้นอยู่กับเมืองน่านในสมัยที่เมืองน่านยังมีเจ้าเมืองเป็นผู้ครองนครน่านเมื่อประมาณร้อยปีเศษ โดยรวมแขวงศีรษะเกษกับแขวงท่าปลาเข้าด้วยกันเป็นเขตน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 จึงแยกมาขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์
ตามตำนาน เคยมีสถานที่ริมแม่น้ำน่าน มีหินใสสีขาวเหมือนตาปลาอยู่ในน้ำลึก เชื่อว่าหินนี้ศักดิ์สิทธิ์มาก ในวันสงกรานต์จะทำพิธีบวงสรวงแล้วจึงจะนำหินไปสกัดและ เรียกบริเวณนี้ว่า "บ่อแก้วตาปลา" ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "แก้วท่าปลา" และหมู่บ้านนี้เรียกต่อมาว่า "บ้านท่าปลา" ซึ่งเป็นคำเมืองหมายถึงรอปลาขึ้นและจับปลานั่นเอง
อำเภอท่าปลาเป็นอำเภอที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้อำเภอใด ๆ มีแม่น้ำน่านไหลผ่านกลางเมื่อโอนมาเป็นเขตการปกครองของจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชาชนมีความ เป็นอยู่ที่สุขสบายอยากจะกินปลาก็หาปลาได้ที่แม่น้ำ ซึ่งมีปลามากมายหลายพันธุ์ อยากกินอาหารป่าก็เข้าป่าล่าสัตว์ซึ่งมีอย่างชุกชุมในป่า เป็นแหล่งที่มีไม้ซึ่งมีค่าทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย เช่น ไม้สักซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก จะเห็นได้ว่าในอดีต ประชาชนบางหมู่บ้านบางตำบลประกอบอาชีพทำไม้
และเมื่อปี พ.ศ. 2513 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทานได้เปิดโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่านและก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ พื้นที่อำเภอบางส่วนกลายเป็นอ่างเก็บน้ำ ราษฎรต้องอพยพออกมาตั้งรกรากถิ่นฐานใหม่บนพื้นที่จัดสรรของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน กรมประชาสงเคราะห์ ที่ว่าการอำเภอท่าปลาซึ่งเดิมตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 3 ตำบลท่าปลา ถูกผลกระทบจากการก่อสร้างตามโครงการฯ จึงได้ปรับย้ายมาตั้งที่ทำการแห่งใหม่อยู่ในเขตหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรของนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่านอยู่จนทุกวันนี้
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองระหว่างอำเภอท่าปลากับอำเภอน้ำปาด โดยโอนตำบลท่าแฝกไปขึ้นกับอำเภอน้ำปาด[1] เนื่องจากราษฎรตำบลท่าแฝก (ซึ่งถูกอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ตัดขาดจากพื้นที่อื่นของอำเภอ) ได้รับความลำบากในการเดินทางไปติดต่อราชการและขอรับบริการต่าง ๆ ที่ตัวอำเภอท่าปลาซึ่งอยู่ห่างออกไป 116 กิโลเมตร ถ้าย้ายไปขึ้นกับอำเภอน้ำปาดซึ่งตัวอำเภอตั้งอยู่ระหว่างทางและมีระยะทางห่างเพียง 59 กิโลเมตร ราษฎรจะได้รับความสะดวกมากกว่า พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน
- วันที่ 4 มิถุนายน 2465 โอนพื้นที่อำเภอท่าปลา จังหวัดน่าน ไปขึ้นกับจังหวัดอุตรดิตถ์[2]
- วันที่ 30 กันยายน 2490 ตั้งตำบลจริม แยกออกจากตำบลท่าปลา[3]
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าปลา[4]
- วันที่ 24 กันยายน 2511 ก่อสร้างเขื่อนผาซ่อม บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด (เขื่อนสิริกิติ์ในปัจจุบัน)[5]
- วันที่ 10 พฤศจิกายน 2513 ยุบสุขาภิบาลท่าปลา เนื่องจากท้องถิ่นภายในเขตสุขาภิบาลดังกล่าวเป็นเขตน้ำท่วมถึง และทางราชการได้อพยพราษฎรในเขตสุขาภิบาลออกไปอยู่ในเขตท้องที่ตำบลอื่น ท้องถิ่นแห่งนี้จึงหมดสภาพอันสมควรที่จะให้มีฐานะเป็นสุขาภิบาล[6]
- วันที่ 13 ธันวาคม 2515 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา[7]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา ในท้องที่บางส่วนของตำบลน้ำหมัน[8]
- วันที่ 21 ธันวาคม 2516 โอนพื้นที่หมู่ 8,9,11 (ในขณะนั้น) ของตำบลหาดล้า และพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าแฝก ไปตั้งเป็นหมู่ที่ 33,34,35,36 ของตำบลน้ำหมัน[9] โอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลจริม ไปตั้งเป็นหมู่ 5,6 ของตำบลท่าแฝก[10] โอนพื้นที่หมู่ 7,8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าปลา ไปตั้งเป็นหมู่ 10,11,12 ของตำบลผาเลือด[11] ทำให้ท้องที่ตำบลหาดล้า ตำบลจริม และตำบลท่าปลา ไม่มีหมู่บ้านเหลืออยู่ จึงหมดความจำเป็นที่จะให้ตั้งเป็นตำบล กระทรวงมหาดไทยจึงให้ยุบตำบลหาดล้า ตำบลจริม และตำบลท่าปลา[12]
- วันที่ 21 ธันวาคม 2516 ตั้งตำบลท่าปลา ตำบลจริม และตำบลหาดล้า แยกออกจากตำบลน้ำหมัน พร้อมโอนสุขาภิบาลท่าปลา ไปขึ้นกับตำบลท่าปลา อีกด้วย[13]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลนางพญา แยกออกจากตำบลท่าปลา[14]
- วันที่ 8 กันยายน 2523 โอนพื้นที่ตำบลร่วมจิต อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ไปขึ้นกับอำเภอท่าปลา[15]
- วันที่ 20 ธันวาคม 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลร่วมจิต ในท้องที่บางส่วนของตำบลร่วมจิต[16]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2528 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 350 วันที่ 13 ธันวาคม 2515 และจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา อีกครั้ง[17]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลท่าปลา และสุขาภิบาลร่วมจิต เป็นเทศบาลตำบลท่าปลา และเทศบาลตำบลร่วมจิต ตามลำดับ
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 โอนพื้นที่ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา ไปขึ้นกับอำเภอน้ำปาด[18]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอท่าปลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 76 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่าปลา | (Tha Pla) | 12 หมู่บ้าน | 5. | น้ำหมัน | (Nam Man) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||||||
2. | หาดล้า | (Hat La) | 9 หมู่บ้าน | 6. | นางพญา | (Nang Phaya) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||||||
3. | ผาเลือด | (Pha Lueat) | 13 หมู่บ้าน | 7. | ร่วมจิต | (Ruam Chit) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||||||||
4. | จริม | (Charim) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอท่าปลาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าปลา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าปลา
- เทศบาลตำบลร่วมจิต ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลร่วมจิต
- เทศบาลตำบลจริม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจริมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าปลา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลท่าปลา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดล้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผาเลือดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำหมันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนางพญา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางพญาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลร่วมจิต (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลร่วมจิต)
ศิลปวัฒนธรรม[แก้]
ชาวอำเภอท่าปลาเป็นชาวไทยวน มีศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม ภาษาพูด อาหาร การแต่งกายแบบล้านนา มี'อักษรธรรมล้านนาใช้อยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ มาจนปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- เขื่อนสิริกิติ์
- อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
- อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
- บ้านท่าเรือ
- น้ำตกวังชมภู
- น้ำตกทรายงาม
- ถ้ำแสนหาร
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอท่าปลากับอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ [1]ประกาศโอนอำเภอท่าปลาจากจังหวัดน่านมาขึ้นจังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตตรดิตถ์
- ↑ [4]พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และอำเภอท่าปลา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ (เพื่อก่อสร้างการชลประทานโครงการแม่น้ำน่าน)
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [6]ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๕๐ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ กำหนดให้ที่ดินของรัฐในท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดตั้งเป็นนิคมสร้างตนเอง]
- ↑ [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [11]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [13]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าปลาและอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ↑ [14]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ กับอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๒๓
- ↑ [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุดรดิตถ์
- ↑ [16]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอท่าปลา และอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๒๘
- ↑ [17]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนเขตอำเภอท่าปลากับอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๕๕๘