โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
Traim Udom Suksa School Of The North
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นต.อ. / T.N.
ประเภทโรงเรียนรัฐ สังกัด สพฐ.
คำขวัญความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม
นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญู กตเวทิตา
(ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี)
สถาปนาโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (20 ปี)
ผู้ก่อตั้งนางพรรณี เพ็งเนตร ,นายมนู วัฒนไพบูลย์
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1065360462
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายชัยลักษณ์ รักษา
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน1,394 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565)[1]
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีน ภาษาจีน
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
สี███ สีชมพู
เพลงปิ่นหทัย
เว็บไซต์http://www.tn.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - จามจุรี

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ในรูปแบบสหศึกษา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 289 หมู่ 5 ถนนเอกาทศรถ ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2546

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อ โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 289 หมู่ 5 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้ทำการเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (ต่อมาเป็นกรมสามัญศึกษา) ในขณะนั้นได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนายมานะ เอี่ยมสกุล เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมและได้ปรารภกับ นายมานะ เอี่ยมสกุล ว่าต้องการจะได้ที่ดินประมาณ 200 ไร่ เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชั้นสูงหรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกอีกหนึ่งแห่ง ต่อมานายละเมียน อัมพวะสิริ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในสมัยนั้น ได้ทราบจากนายประเสริฐ สิทธิชัย ผู้จัดการโรงงานพิษณุโลกองค์การทอผ้า ว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงกลาโหมควบคลุมดูแลอยู่ประมาณ 200 ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายมานะ เอี่ยมสกุล ได้แจ้งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาทราบ ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกหนึ่งแห่ง อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้แจ้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทราบว่า กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกบนพื้นที่ดังกล่าวอีกหนึ่งแห่ง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2517 โดยนายประสิทธิ์ มากลิ่น ดำรงตำแหน่งผู้บริหารคนแรกและได้เปิดรับนักเรียน ครั้งแรกระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 186 คน ครูอาจารย์จำนวน 7 คน โดยได้ฝากที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมก่อน ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 2518 นายประสิทธิ์มากลิ่น อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาคนแรก ได้ทำการย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม มาทำการเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน

โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ขยายตัวเพื่อรองรับนักเรียน ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างรวดเร็ว ต่อมากระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการจัดการศึกษาให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน แม้จะอยู่ส่วนใดของประเทศไทยก็ตาม อีกทั้งกรมสามัญศึกษา มีนโยบายที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาและต้องการที่จะมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.สกลนคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ที่ จ.นครศรีธรรมราช และมีดำริที่จะตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่ จ.พิษณุโลก

ในปี พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายจุฬา ทารักษา ได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คือ นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ตอบรับเป็นเบื้องต้น โดยรับโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาเข้าเป็นเครือข่ายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยได้ดำเนินการร่วมกันผ่านกรมสามัญศึกษาเพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ แต่ได้ระงับไปช่วงหนึ่งเพราะผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เกษียณอายุราชการ ต่อมาผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายมนู วัฒนไพบูลย์ ได้รับทราบการขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และได้รับนโยบายของกรมสามัญศึกษาในการประสานงานจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา จังหวัดพิษณุโลก เพราะเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือมีสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันราชภัฏ สถาบันราชมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ปัจจุบัน คือ นางพรรณี เพ็งเนตร เพื่อเข้าเป็นเครือข่ายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ตอบรับไม่ขัดข้องในการขอเป็นเครือข่ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ[2]

แผนการเรียน[แก้]

  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (พิเศษ)
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-สุขภาพ
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-วิศวกรรมศาสตร์
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-อังกฤษ
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-ฝรั่งเศส
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-จีน
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-ญี่ปุ่น
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ภาษาศาสตร์-เกาหลี
  • สาระการเรียนรู้ที่เน้น ศิลปกรรม

อาคารเรียนภายในโรงเรียน[แก้]

  • อาคารอำนวยการ (อาคาร 5)

ชั้นที่ 1 ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องประชุม 1 ห้องเกียรติยศ (ห้องประชุม 2) ห้องประชุม 200 ที่นั่ง (ห้องโสตทัศนศึกษา) ห้องพัสดุ ห้องถ่ายเอกสาร สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา-เตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

ชั้นที่ 2 ห้องท่านผู้อำนวยการ (527) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายจัดการศึกษาและฝ่ายจัดการศึกษา+ฝ่ายรับเข้าศึกษา (521) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนและฝ่ายกิจการนักเรียน (525) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการและฝ่ายอำนวยการ (528) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไปและฝ่ายบริหารทั่วไป (526) ห้องแนะแนวการศึกษา (524) ห้องประกันคุณภาพการศึกษา (523) ห้องทะเบียน-วัดผล (522)

ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 1 (531) ห้องศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ (537) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 533 534 535 536 ห้องเรียนE-Classroom (532) ห้องแสดงผลงานห้องเรียนสีเขียว (538)

  • หอประชุมใหญ่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ

ชั้นที่1 ใต้ถุนโล่ง เป็นโรงอาหาร ห้องอาหารครู

ชั้นที่ 2 หอประชุม 800 ที่นั่ง

  • อาคาร 3 (อาคารม.4)

ชั้นที่ 1 เป็นห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 2 ห้องระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียน 312 313 314 315 316

ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียน 321 322 323 324 325 326 327

  • อาคาร 2 (อาคารม.6)

ชั้นที่1 เป็นห้องระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 (218) ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1-2 (211,212 ตามลำดับ) ห้องเรียน 213 214 215 216 217

ชั้นที่2 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 2 (221) ห้องเรียน 222 223 224 225 226 227 228

ใต้ถุนอาคาร เป็นห้องโภชนาการ ห้องกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ห้องคณะกรรมการสภานักเรียน ห้องอาจารย์ สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

  • อาคาร 4 (อาคารม.5)

ชั้นที่1 เป็นห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (418) ห้อง To Be Number One (417) ห้องเก็บของ (416-417) ห้องระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (411) ห้องนอนเวร ห้องเรียน 412 413 414 415

ชั้นที่2 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 (421) ห้องเรียน 422 423 424 425 426 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาคณิตศาสตร์ (427) ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 1 (428)

ชั้นที่3 ห้องSoundLab (438) ห้องเรียนรวม (431) ห้องเรียน 432 433 434 435 436 437

  • อาคาร 1 (อาคารวิทยาศาสตร์)

ชั้นที่1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (111-112) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา1-2 (113 114 115) ห้องเก็บสารเคมี (117) ห้องปฏิบัติการเคมี1-2 (116 118) ห้องประชุม ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นที่2 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์1-3 (128 127 122ตามลำดับ) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กายภาพ (121) ห้องพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (123-126)

  • อาคาร ศิลปะ เป็นอาคารกลุ่มสาระวิชาศิลปะและการงานอาชีพและเทคโนโลยี

ชั้นที่ 1 ห้องวงโยธวาทิต(ห้องดนตรีสากล) ห้องพักครู

ชั้นที่ 2 ห้องนาฏศิลป์ตะวันตก ห้องนาฏศิลป์ไทย ห้องดนตรีไทย ห้องคหกรรมและงานประดิษฐ

ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการศิลปะ ห้องงานหัตถกรรม

ชั้นที่ 4 ห้องปฏิบัติการงานช่าง

เรือนพยาบาล เป็นสถานที่ให้บริการในด้านยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้นแก่นักเรียนตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณสระว่ายน้ำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ

  • หอสมุดมาลากุล เป็นหอสมุดปรับอากาศขนาดใหญ่และเป็นหอสมุดศูนย์รวมความรู้ของนักเรียน เป็นสถานที่สำคัญ มี คำขวัญ ที่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ประพันธ์ไว้ว่า โรงเรียนของเรามีประวัติงดงามมานานแล้ว และ หวังว่าประวัตินี้จะตกทอดมาถึงพวกเธอ และเธอจะรับไว้มิให้เสื่อมเสีย
  • สระว่ายน้ำจามจุรี เป็นสระว่ายน้ำขนาด 50เมตร เป็นสถานที่เรียนวิชา พลศึกษา และ เป็นสถานที่ออกกำลังกายของครู ผู้ปกครอง นักเรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ และบุคคลทั่วไป
  • ลานจามจุรี
  • สระน้ำคูบัว เป็นสระน้ำโรงเรียน มีบัวหลายสายพันธุ์ เป็นสถานที่สำคัญของโรงเรียน
  • ลานกีฬา
  • สนามวอลเล่บอล 2สนาม
  • สนามตะกร้อ 2สนาม
  • สนามบาสเกสบอล 2สนาม
  • สนามบอลขนาดเล็ก 1สนาม
  • สนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน 1สนาม
  • สนามรักบี้
  • ลานมะฮอกกานี

สิ่งเคารพภายในโรงเรียน[แก้]

  • พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระพรหม
  • พระพุทธชินราชจำลอง
  • ศาลตายาย เจ้าที่

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา
ลำดับ รายนาม ปี ตำแหน่ง
1 นายประสิทธิ์ มากลิ่น พ.ศ. 2517 - 2522 อาจารย์ใหญ่
2 นายวิทูร ญาณสมเด็จ พ.ศ. 2522 อาจารย์ใหญ่
3 นายเรือง ปาเฉย พ.ศ. 2522 - 2528 อาจารย์ใหญ่
4 นายจำรัส ลอยมา พ.ศ. 2528 - 2530 อาจารย์ใหญ่
5 นายฉลอง เกษน้อย พ.ศ. 2530 - 2535 อาจารย์ใหญ่
6 นายธงชัย จักกาบาตร์ พ.ศ. 2535 - 2540 ผู้อำนวยการ
7 นายชูชาติ อุทะโก พ.ศ. 2540 - 2541 ผู้อำนวยการ
8 นายจุฬา ทารักษา พ.ศ. 2541 - 2543 ผู้อำนวยการ
9 นายสุพจน์ จินันทุยา พ.ศ. 2543 - 2545 ผู้อำนวยการ
10 นายมนู วัฒนไพบูลย์ พ.ศ. 2545 - 2546 ผู้อำนวยการ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
ลำดับ รายนาม ปี ตำแหน่ง
1 นายมนู วัฒนไพบูลย์ พ.ศ. 2546 - 2548 ผู้อำนวยการ
2 นายสุพจน์ จินันทุยา พ.ศ. 2548 - 2549 ผู้อำนวยการ
3 นายถวิล ศรีวิชัย พ.ศ. 2550 - 2554 ผู้อำนวยการ
4 นายชูชาติ อุทะโก พ.ศ. 2554 - 2555 ผู้อำนวยการ
5 นางสุเนตร ทองคำพงษ์ พ.ศ. 2555 - 2556 ผู้อำนวยการ
6 นายวิโรจน์ รอดสงฆ์ พ.ศ. 2556 - 2563 ผู้อำนวยการ
7 นายชัยลักษณ์ รักษา พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

โรงเรียนอื่น ๆ ในเครือ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student_select.php?School_ID=1065360462&Edu_year=2565&Area_CODE2= จำนวนนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ
  2. http://www.tn.ac.th/tn60/index.php/2012-11-21-12-54-27/item ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]