อำเภอนครไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอนครไทย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Nakhon Thai
คำขวัญ: 
พ่อขุนบางกลางหาวจ้าวนคร ดินแดนอนุสรณ์ภูร่องกล้า จำปาขาวสวยสุดสะดุดตา ประเพณีปวงข้าปักธงชัย
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอนครไทย
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอนครไทย
พิกัด: 17°6′1″N 100°50′16″E / 17.10028°N 100.83778°E / 17.10028; 100.83778
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิษณุโลก
พื้นที่
 • ทั้งหมด2,220.374 ตร.กม. (857.291 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด85,979 คน
 • ความหนาแน่น38.72 คน/ตร.กม. (100.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 65120
รหัสภูมิศาสตร์6502
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนครไทย ถนนอุดรดำริห์ ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก 65120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
หมู่บ้านนครชุม ตำบลนครชุม

นครไทย เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด

ลานหินปุ่ม อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ลานหินแตก อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
น้ำตกหมันแดง อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ผาชูธง อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
โรงเรียนการเมืองการทหาร อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ถนนบริเวณภูหินร่องกล้า

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอนครไทยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

ขอมเป็นชนชั้นปกครองเมืองของชาวไทยต่างๆ อยู่ก่อน ต่อมาพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นคนแรกที่รวบรวมเมืองแถบลุ่มแม่น้ำยมแม่น้ำน่าน จัดตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ต่อมาถูกขอมสบาดโขลญลำพงยึดอำนาจได้เป็นผู้ปกครองอาณาจักรสุโขทัย ขอมจึงกลับมามีอำนาจอีก ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองบางยาง คือ นครไทยปัจจุบัน จึงมือร่วมกับพ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุม) เจ้าเมืองลุ่ม เมืองหล่มเก่าในปัจจุบัน ยกทัพไปชิงเอาคืน โดยพ่อขุนบางกลางหาวไปตีเมืองศรีสัชนาลัย พ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ชัยชนะทั้งสองเมือง พ่อขุนผาเมืองยกเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนบางกลางหาวก็ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย ใน พ.ศ. 1792 เฉลิมพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

มีหลักฐานที่สำคัญคือ ณ วัดกลางศรีพุทธาราม ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนครไทย ประมาณ 500 เมตร มีต้นจำปาขาวใหญ่อยู่ต้นหนึ่งมีความ เชื่อกันว่ามีอายุมานานพร้อมกับ พ่อขุนบางกลางหาว เริ่มสร้างเมืองบางยาง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า มีอายุประมาณ 700 ปีเศษ หลักฐานที่สำคัญ ว่าเมืองบางยางได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครไทย" มีปรากฏอยู่ ต้นจำปาขาว ในพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐว่า ศักราช 839 ระกา (พ.ศ. 2020) แรกตั้งเมือง นครไทย พ.ศ. 2020 นี้เป็นระยะที่อยู่ในรัชสมัยของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็น นักอักษรศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ ซึ่งได้จัดการปกครองบริเวณหัวเมืองต่างๆ นอกเมืองหลวงให้เป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน เพื่อให้ง่ายแก่การปกครองควบคุม ตรวจตรา จึงได้ยกฐานะเมืองบางยาง เป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครอง แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "เมืองนครไทย" เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ ซึ่งพระองค์ทรงเปลี่ยนมาแล้ว เช่นเมืองสองแคว เป็นเมืองพิษณุโลก เมืองสระหลวงเป็นเมืองพระจิตร และเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น นับแต่ พ.ศ. 2020 เป็นต้นมา

เมืองนครไทยก็มีฐานะเป็นเมืองที่มีเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการเมือง ปกครองเรื่อยมาถึง พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ลดฐานะเมืองนครไทยมาเป็น "อำเภอเมืองนครไทย" แล้วแต่งตั้งนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง นายอำเภอคนแรก คือ หลวงพิทักษ์กิจบุรเทศ (เป๋า บุญรัตนพันธ์) และเปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองนครไทย เป็น"อำเภอนครไทย" เมื่อ พ.ศ. 2481 เพื่อให้เหมาะสมกับการเรียกชื่อตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน[1]

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็น อำเภอเมืองนครไทย[2]
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2474 โอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านปากยาง (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านกลาง ไปขึ้นกับตำบลแก่งโสภา[3]
  • วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2475 แยกพื้นที่หมู่ 2,3,4,5,6,8,10 ตำบลแก่งโสภา ตั้งขึ้นเป็นตำบลป่าคาย[4] และโอนพื้นที่ตำบลแก่งโสภา และตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองนครไทย ไปขึ้นกับอำเภอป่าหมาก ท้องที่จังหวัดเดียวกัน
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เป็น อำเภอนครไทย[5]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลป่าแดง แยกออกจากตำบลชาติตระการ[6]
  • วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลนครไทย ในท้องที่บางส่วนของตำบลนครไทย[7]
  • วันที่ 13 พฤษภาคม 2512 แยกพื้นที่ตำบลชาติตระการ และตำบลป่าแดง ของอำเภอนครไทย ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอชาติตระการ[8] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอนครไทย
  • วันที่ 6 ตุลาคม 2513 ตั้งตำบลบ้านแยง แยกออกจากตำบลหนองกะท้าว ตั้งตำบลบ่อโพธิ์ แยกออกจากตำบลเนินเพิ่ม ตั้งตำบลบ้านดง แยกออกจากตำบลป่าแดง ตั้งตำบลสวนเมี่ยง แยกออกจากตำบลป่าแดง[9]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลป่าแดง ในท้องที่บางส่วนของตำบลป่าแดง[10]
  • วันที่ 28 มีนาคม 2517 ยกฐานะกิ่งอำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย เป็น อำเภอชาติตระการ[11]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลน้ำกุ่ม แยกออกจากตำบลนครชุม[12]
  • วันที่ 13 มีนาคม 2522 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครไทย[13] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 22 พฤษภาคม 2524 ตั้งตำบลยางโกลน แยกออกจากตำบลนาบัว[14]
  • วันที่ 15 กันยายน 2532 ตั้งตำบลบ้านพร้าว แยกออกจากตำบลนครไทย[15]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลห้วยเฮี้ย แยกออกจากตำบลบ้านแยง[16]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนครไทย เป็นเทศบาลตำบลนครไทย[17] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอนครไทยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 142 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นครไทย (Nakhon Thai) 13 หมู่บ้าน 7. น้ำกุ่ม (Nam Kum) 7 หมู่บ้าน
2. หนองกะท้าว (Nong Kathao) 27 หมู่บ้าน 8. ยางโกลน (Yang Klon) 10 หมู่บ้าน
3. บ้านแยง (Ban Yaeng) 13 หมู่บ้าน 9. บ่อโพธิ์ (Bo Pho) 14 หมู่บ้าน
4. เนินเพิ่ม (Noen Phoem) 17 หมู่บ้าน 10. บ้านพร้าว (Ban Phrao) 10 หมู่บ้าน
5. นาบัว (Na Bua) 15 หมู่บ้าน 11. ห้วยเฮี้ย (Huai Hia) 10 หมู่บ้าน
6. นครชุม (Nakhon Chum) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอนครไทยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนครไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครไทยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านแยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแยงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะท้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกะท้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเนินเพิ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเนินเพิ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนครชุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำกุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำกุ่มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางโกลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางโกลนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านพร้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเฮี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเฮี้ยทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติความเป็นมาอำเภอนครไทย - ประวัติเมืองนครไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  3. "ประกาศ งดเก็บเงินค่านาฟางลอยหมู่บ้านที่ ๓ บ้านปากยาง ตำบลบ้านกลาง ซึ่งโอนรวมตำบลแก่งโสภา อำเภอนครไทย และกำหนดอัตราเงินค่านาฟางลอย ในตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 420–421. November 29, 1931.
  4. "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลทับยายเชียง ซึ่งแยกมาจากตำบลมะต้องและตำบลวงฆ้อง อำเภอพรมพิม กับตำบลป่าคาย ซึ่งแยกมาจากตำบลแก่งโสภา อำเภอเมืองนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 659–660. February 19, 1932.
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–666. November 14, 1938. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 37-38. January 26, 1957.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (42 ง): 1696. May 13, 1969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครไทย และกิ่งอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (92 ง): 2920–2927. October 6, 1970.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป่าแดง กิ่งอำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (78 ง): 2015–2016. July 20, 1971.
  11. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาวง อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอนตาล อำเภอชาติตระการ อำเภอภูเรือ อำเภอเคียนซา อำเภอน้ำโสม อำเภอหนองวัวซอ และอำเภอน้ำยืน พ.ศ. ๒๕๑๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (54 ง): (ฉบับพิเศษ) 30-33. March 28, 1974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (116 ง): (ฉบับพิเศษ) 8-10. July 5, 1974.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (33 ง): 1087–1088. March 13, 1979.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (71 ง): 1364–1366. May 22, 1981.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอบางระกำ และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (154 ง): (ฉบับพิเศษ) 36-46. September 15, 1989.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 14-16. November 8, 1993.
  17. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.