โรงเรียนศรีบุณยานนท์

พิกัด: 13°51′26.8″N 100°28′51.0″E / 13.857444°N 100.480833°E / 13.857444; 100.480833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศรีบุณยานนท์)
โรงเรียนศรีบุณยานนท์
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนศรีบุณยานนท์
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°51′26.8″N 100°28′51.0″E / 13.857444°N 100.480833°E / 13.857444; 100.480833
ข้อมูล
ชื่อเดิมโรงเรียนวัดท้ายเมือง
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญวิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
(คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร)
สถาปนา26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 (115 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระครูเดช
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230148
ผู้อำนวยการโรงเรียนนางกุสุมา ยี่ภู่
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนไทย
สี  ม่วง
  ชมพู
เพลง"มาร์ชศรีบุณยานนท์"
ต้นไม้ทองกวาว
เว็บไซต์www.sb.ac.th
ตราประจำโรงเรียน (ต้นฉบับ) รูปทั่งและเข็มหมายถึงการให้นักเรียนใช้ความพยายามในการเล่าเรียน เหมือนการฝนทั่งเป็นเข็ม

โรงเรียนศรีบุณยานนท์ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ในตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนศรีบุณยานนท์เดิมชื่อว่า โรงเรียนวัดท้ายเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ด้วยความริเริ่มของพระครูเดช เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง ร่วมกับพระยาสยามนนทเขตขยัน ปลัดจังหวัดนนทบุรี และเปิดสอนในระดับประถมศึกษา โดยมีครูชอบ มีชูเวท เป็นครูใหญ่

ใน พ.ศ. 2467 ทางราชการได้ยกฐานะโรงเรียนวัดท้ายเมืองขึ้นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดนนทบุรี ใช้อักษรย่อว่า น.บ.1 โรงเรียนเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาจนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 จึงได้สร้างอาคารเรียนถาวรหลังแรกเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพระครูเดช, พระยาศิริชัยบุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี, ขุนศิริแมน จ่าศาลจังหวัดนนทบุรี, ขุนการัญสิกขภาร ธรรมการจังหวัดนนทบุรี และนายซิวซองอ๊วน ศรีบุณเรือง ผู้อำนวยการบริษัทพัฒนาการ เป็นกำลังสำคัญในการจัดหาทุนในครั้งนั้น และในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารถาวรหลังแรกและประทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนศรีบุณยานนท์ โดยมีนามทางราชการว่า โรงเรียนประจำจังหวัดนนทบุรี ศรีบุณยานนท์ และมีครูชื่น นิวาศะบุตร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรก

ปัจจุบันโรงเรียนศรีบุณยานนท์มีอาคารเรียนทั้งหมด 9 อาคาร ซึ่งได้จัดสร้างจากเงินงบประมาณและจากเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และเป็นศูนย์โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) อีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2540 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่[1]

รายชื่อผู้บริหาร[2][แก้]

  1. นายชื่น นิวาศะบุตร พ.ศ. 2459–2496
  2. นายฉัตร อินทรลักษณ์ พ.ศ. 2496–2511
  3. นายพิทยา ไทยวุฒิพงศ์ พ.ศ. 2512–2513
  4. นางบุญช่วย กาญจนอักษร พ.ศ. 2513–2515
  5. นายมนัส บ่างสมบูรณ์ พ.ศ. 2515–2517
  6. นายวิศิษฎ์ ดวงสงค์ พ.ศ. 2517–2518
  7. นางลาวัณย์ ชลาศัยสวัศดิ์ พ.ศ. 2518–2522
  8. นางสมหมาย วัฒนะคีรี พ.ศ. 2522–2527
  9. นายเกษียน ปราถน์วิทยา พ.ศ. 2527–2529
  10. นายสท้าน เฉลยผล พ.ศ. 2529–2532
  11. นายครรชิต ตรานุชรัตน์ พ.ศ. 2532–2533
  12. นายเกษียร ภู่กลาง พ.ศ. 2533–2535
  13. นายระลึก วรรณสิทธ์ พ.ศ. 2535–2537
  14. นายสมศักดิ์ แก้วสถิตย์ พ.ศ. 2537–2538
  15. นางลัดดา พร้อมมูล พ.ศ. 2538–2542
  16. นางปิยนันท์ ภิรมย์ไกรภักดิ์ พ.ศ. 2542–2544
  17. นายเฉลิม กลิ่นกุล พ.ศ. 2544–2551
  18. นางสุนีย์ สอนตระกูล พ.ศ. 2551–2553
  19. นายสมหมาย จันทร์เอี่ยม พ.ศ. 2553–2557
  20. นายโพยม จันทร์น้อย พ.ศ. 2557–2559
  21. นางธราภรณ์ พรหมคช พ.ศ. 2559–2562
  22. ว่าที่ร้อยเอก ณัฐธนพงษ์ ทองพลับ พ.ศ. 2562–2565
  23. นางกรชนก สุตะพาหะ พ.ศ. 2565–2566
  24. นางกุสุมา ยี่ภู่ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • นาย พิเชษฐ นิวาศะบุตร (อดีตผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี)
  • นาย ถนอม เปรมรัศมี (อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
  • พันตำรวจเอก (พิเศษ) เพิ่ม ปวิตตสิริ (อดีตที่ปรึกษากฎหมายสำนักงานเลขานุการกรมตำรวจ)
  • นาย ประจวบ แสงอินทร์ (อดีตผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ)
  • นาย ผวน จารุวรรณ (อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ อดีตสมัชชาแห่งชาติประจำจังหวัดนนทบุรี)
  • นาวาอากาศโท สมพงศ์ นุชหมอน (อดีตผู้อำนวยการองค์การทอผ้า กระทรวงกลาโหม)
  • นาย วิชัย สุขารมณ์ (อดีตรองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ)
  • พันตำรวจโท ภักดิ์ อุ่นใจ (อดีตรองผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จังหวัดอุดรธานี)
  • พลโทเสรี กลีบจันทร์ (อดีตที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด)
  • นาย ศรี นิลแสง (อดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี)
  • พลโทประสาร เปรมสกุล (อดีตราชองครักษ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
  • นาย ณรงค์ กาญจนานนท์ (อดีตรองอธิบดีกรมสามัญศึกษา)
  • จ่าสิบตำรวจ ณรงค์ บุญชื่น (อดีตประธานสภาเทศบาลนครนนทบุรี)
  • นาย ณรงค์ เนตรหิน (อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร)
  • นาย พินิต อารยะศิริ (อดีตเลขาธิการวุฒิสภา)
  • ร้อยโท ปรีชา แจ่มจิรารักษ์ (อดีตอัยการพิเศษสำนักงานอัยการสูงสุด หัวหน้าสำนักงานคดีอาญา)
  • นาย ชิน ประสงค์ (อดีตผู้อำนวยการส่วนประติมากรรม สถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร)
  • นาย เฟื่อง สังข์ปาน (อดีตปลัดจังหวัดนนทบุรี)
  • ดร. ธีรเวทย์ ประมวญรัฐการ (อดีตผู้อำนวยการก่อตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม และอดีตรองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)
  • พลโท ชุมพล เกิดนาค (อดีตผู้บังคับกากองพันทหารสื่อสารที่ 11 และ อดีตผู้บังคับศูนย์โทรคมนาคมกองทัพบก)
  • นาย นันทศักดิ์ พูลสุข (อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง)
  • นาย ณรงค์ จันทนดิษฐ (อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี)
  • นาย อดิศักดิ์ ตันยากุล (รองเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
  • นาย อภิชาต ดำทอง (ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณสภาผู้แทนราษฎร)
  • นาย ชายน้อย จอนแจ้ง (อดีตนายกเทศมนตรี เทศบาลนครนนทบุรี)
  • นาย สุวัฒน์ กลั่นเลี้ยง (ผู้อำนวยการ โรงเรียนวังเจ้าวิทยาคม จ.ตาก)
  • วราภัทร์ เพชรสถิตย์ (นักแสดง)
  • นลินทิพย์ สกุลอ่องอำไพ (นักแสดง)
  • คณพันธ์ ปุ้ยตระกูล (นักแสดง)
  • วีระเทพ ป้อมพันธุ์ (นักฟุตบอลทีมชาติไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. "ประวัติโรงเรียน". www.sb.ac.th.
  2. "ทำเนียบผู้บริหาร". www.sb.ac.th.