โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี | |
---|---|
ตราประจำโรงเรียน เทพศิรินทร์ | |
น สิยา โลกวฑฺฒโน (ไม่ควรเป็นคนรกโลก)
| |
86 ม.2 ซอยอัจฉริยะพัฒนา ถนนกาญจนาภิเษก ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออังกฤษ | Debsirin Nonthaburi School |
อักษรย่อ | ท.ศ.น. (DSN) |
ประเภท | รัฐบาล |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 |
สถาปนา | 19 มกราคม |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2514 |
ภาษา | ภาษาที่โรงเรียนได้จัดสอน |
เพลง | บทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ (อโหกุมาร) |
เว็บไซต์ | www.tsn.ac.th |
โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี (อังกฤษ: Debsirin Nonthaburi School) เป็นโรงเรียนรัฐบาลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (นนทบุรี-พระนครศรีอยุธยา) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ที่ 2 ซอยอัจฉริยะพัฒนา (ถนนกาญจนาภิเษก) ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรีเป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 มีการเรียนการสอนในระบบปกติ, Gifted และ Mini English Program ปัจจุบันเป็นหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนเทพศิรินทร์ 10 แห่ง
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
เดิมชื่อ "โรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคม" เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กประจำตำบล โดยชุมชนในท้องถิ่นได้ริเริ่มขอจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 โดยมี ร้อยเอกสัญญา จูรัตน์ เป็นประธาน และนายวิจิตร แจ่มใส ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นให้การสนับสนุน อีกทั้งได้รับความอนุเคราะห์จากพระมหาแสวง โชติปาโล และพระครูนนทศิริวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดศรีประวัติและวัดศรีเรืองบุญ มอบที่ดินของวัดสร้างโรงเรียนประมาณ 15 ไร่
ขณะนั้นกรมสามัญศึกษาเห็นว่าโรงเรียนมีเนื้อที่จัดตั้งน้อยเกินไป แต่ชุมชนได้พยายามขอจัดตั้ง จนในที่สุดได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งได้ในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2520 โดยชุมชนได้ร่วมกันจัดหาทุนเพื่อสร้างอาคารเรียน ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนการสอน เป็นเงินจำนวน 191,207 บาท และได้นายเดิม โทพิลา ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนศรีบุญยานนท์ มาดำรงครูใหญ่คนแรกในปีการศึกษา 2522 ต่อมากรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอกผ่านโรงเรียน โดยที่อาคารเรียนอยู่ตรงกึ่งกลางแนวถนนที่จะตัดผ่านทางพอดี โรงเรียนจึงได้หาที่จัดสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ ซึ่งเจ้าอาวาสวัดแพรกได้แนะนำที่วัดร้างกลางสวนซึ่งอยู่ห่างแนวถนน 40 เมตรและมีผู้เช่าทำกินเดิมอยู่ 8 ราย แต่ทั้งหมดก็ยินยอมยกที่ดินให้โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ ในการรื้อถอนใช้เวลาทั้งสิ้น 1 เดือน โดยได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการศึกษา ผู้อุปการะโรงเรียน และครู-อาจารย์ โดยได้สร้างเป็นอาคารชั่วคราว 2 หลัง และในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 จึงได้มีการเปิดทำการสอนจนถึงปัจจุบัน
ครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2532 นายประสงค์ ท่าพริก อาจารย์ใหญ่โรงเรียนอดุลศาสนกิจศึกษา รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ดำเนินการการขอเปลี่ยนชื่อใหม่จากโรงเรียนวัฒนโชติศรีบุญญาคมเป็น "โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี" โดยได้รับความยินยอมและสนับสนุนอย่างดีจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ ชุมชน คณะกรรมการศึกษา ครู-อาจารย์ และสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จนเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2536 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นโรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี เป็นโรงเรียนในเครือข่ายเทพศิรินทร์ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้นด้วยกัน 10 แห่ง
คณะสี 5 คณะ[แก้]
- ██ คณะนิภานภดล (สีแสด)
- ██ คณะภาณุรังษี (สีแดง)
- ██ คณะแม้นนฤมิตร (สีม่วง)
- ██ คณะเยาวมาลย์อุทิศ (สีน้ำเงิน)
- ██ คณะปิยราชบพิตร (สีชมพู)
อาคารและสถานที่ทั้งหมด[แก้]
- เรือนรำเพย
- ศาลาหลวงพ่อวัดกลางสวน
- พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
- สนามฟุตซอล
- ลานกีฬาโมลยานุสรณ์
- ร้านค้าสวัสดิการ
- อาคารชั่วคราว
- สระบัว
- โรงฝึกงาน
- อาคารวัฒนโชติศรีบุญญาคม (อาคาร 1) อาคาร 7 ชั้น
ชั้น 1 : ห้องเรียน, ห้องขั้นเทพเป็นหนึ่ง, ร้านถ่ายเอกสาร,สหกรณ์
ชั้น 2 : ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ, ห้องเรียน
ชั้น 3 : ห้องดนตรีไทย, ห้องดนตรีสากล, ห้องนาฏศิลป์, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ, ห้องเรียน
- อาคารนนทศิริวัฒน์ (อาคาร 2) อาคาร 21 ชั้น
ชั้น 1 : ห้องสำนักงานผู้อำนวยการ, ห้องวิชาการ, ห้องธุรการ, ห้องสุขศรีการ, ห้องพัสดุ, ห้องประชุม 72 พรรษาฯ,ห้องทะเบียน
ชั้น 2 : ห้องสมุด, ห้องโสด, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ชั้น 3 : ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศโมลยานุสรณ์, ห้องคอมพิวเตอร์, ห้องพักครูฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา)
ชั้น 4 : ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์)
ชั้น 5 : ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (เคมี)
หน้าอาคาร : ลานม้าหินอ่อน
- อาคารอัจฉริยะประสิทธิ์ (อาคาร 3) อาคาร 5 ชั้น
ชั้น 1 : ห้องประชาสัมพันธ์, ห้องแนะแนว, ห้องศูนย์คณิตศาสตร์
ชั้น 2 : ห้องเรียนพิเศษ MEP, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ชั้น 3 : ห้องเรียนพิเศษ, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้น 4 : ห้องเรียน, ห้องเรียนพิเศษ, ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
ชั้น 5 : ห้องเรียน, ห้องเรียนพิเศษ,
- อาคารเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี (อาคาร 4) อาคาร 4 ชั้น
ชั้น 1 : ศูนย์ภาษาฝรั่งเศส , ห้องเรียน,ห้องพักครูกลุ่มสาระการงานอาชีพ
ชั้น 2 : ห้องเรียน, ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, ห้องคอมพิวเตอร์
ชั้น 3 : ห้องเรียน,
ชั้น 4 : ห้องเรียน, ห้องจริยธรรม
- อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา (อาคาร 5) อาคาร 7 ชั้น
หน้าอาคาร : ลานภมราภิรมย์
ชั้น 1 : ห้องบริการ
ชั้น 2 : ห้องประชุมกษีรทัศน์ ห้องประชุมธงชัย เย็นประเสริฐ
ชั้น 3-7 : ห้องเรียนชั้น ม.1-3 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ภาษาไทย
- อาคารโชติปาโล (หอประชุม) อาคาร 2 ชั้น
ชั้น 1 : โรงอาหาร, ห้องอาหารภิรมย์สโมสร
ชั้น 2 : หอประชุม
ผู้อำนวยการโรงเรียน[แก้]
รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
นายเติม โทพิลา | พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2528 |
นายกุศล ทวีบุตร | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532 |
นายปลองยุทธ อินทพันธุ์ | 1 ตุลาคม 2532 - 28 ตุลาคม 2535 |
นายประสงค์ ท่าพริก | 29 ตุลาคม 2535 - 14 เมษายน 2536 |
นายสินชัย วัฒนพังษ์ | 15 เมษายน 2536 - 31 ตุลาคม 2541 |
นายบรรเจิด ภิรมย์ | 9 ธันวาคม 2541 - 11 ตุลาคม 2544 |
นายปรเมษฐ์ โมลี | 12 ตุลาคม 2544 - 12 มกราคม 2553 |
นายเกษียร มีแต้ม | 24 มีนาคม 2553 - 30 กันยายน 2555 |
นายสมชาย ปิ่นทอง | 11 มิถุนายน 2556 - 30 กันยายน 2561 |
นายเธียรชัย แสงชาตรี [1] | 2 พฤศจิกายน 2561 - ปัจจุบัน |
สถานที่ใกล้เคียง[แก้]
- โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ การประปานครหลวง
- โรงเรียนชาญรัตน์วิทยา
- Plus Mall Bangyai
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′49″N 100°24′50″E / 13.81361°N 100.41377°E
|
|