สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร
ชื่อย่อ | สอก. / VEIA |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี |
สถาปนา | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 |
สังกัดการศึกษา | สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา |
สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร [1] (อังกฤษ: Vocational Education Institution of Agriculture) เกิดจากการรวมตัวของ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยแบ่งจัดตั้งเป็น 4 แห่งใน 4 ภูมิภาค เดิมมีชื่อว่า วิทยาลัยเกษตรกรรม เป็นวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา เกี่ยวกับเกษตรกรรมของประเทศไทย ต่อมาจึงมีการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเป็นหน่วยงานภายใน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และเปิดการสอนทางด้านเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ ในระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
ประวัติ
[แก้]ก่อตั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรม
[แก้]วิทยาลัยเกษตรกรรม จัดตั้งขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างนักเกษตรกรรมที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะด้านทักษะวิชาชีพเกษตร มีการจัดการเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาเกษตรทั่วไป เน้นให้มีความรู้พื้นฐานของเกษตรในด้านต่าง ๆ เช่น พื้นฐานด้านพืช พื้นฐานด้านสัตว์ และพื้นฐานด้านประมง ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีการจัดการเรียนการสอนแยกเป็นประเภทวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาช่างกลเกษตร ประเภทวิชาประมง สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาชาวิชาแปรรูปสัตว์น้ำ สาขาวิชาการจัดการประมง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีทักษะและความชำนาญในวิชาชีพมากยิ่งขึ้น พร้อมออกไปเป็นนักเกษตรที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามา
ยุควิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
วิทยาลัยเกษตรกรรม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2539 ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษา ปี 2538 และ ทำโครงการเกษตรเพื่อชีวิต เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการของนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทุกแห่ง จะเป็นสมาชิก องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) ในแต่ละปีสมาชิกทุกหน่วยจะมีการประชุมวิชาการทั้งระดับ หน่วย เพื่อหาตัวแทนไปแข่งขัน ระดับภาคและระดับชาติ โดยแต่ละวิทยาลัยฯ จะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในระดับชาติจะหมุนเวียนจัดงานทั้ง 4 ภาค โดยเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศีรษะเกษ เป็นครั้งแรก ตามด้วย ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลางตามลำดับ ซึ่งในปีการศึกษา 2552 จะเป็นการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 31 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น และในงานประชุมวิชาการองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ได้รับพระกรุณาจากองค์อุปถัมภ์เสด็จทรงเป็นประธานทรงเปิดงานทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังในให้นักเรียน-นักศึกษาเกษตรมีความภาคภูมิในวิชาชีพเกษตรและสืบทอดพระดำริด้านการเกษตรขององค์อุปถัมภ์ต่อไป
ประเทศไทยมีวิทยาลัยด้านการเกษตรและการประมงที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 47 แห่ง การแบ่งภาคของวิทยาลัยฯ แบ่งเป็น 4 ภาค คือ วิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคเหนือ วิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคกลาง และวิทยาลัยเกษตรสังกัดภาคใต้ ดังนี้
การจัดตั้งเป็น "สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร"
[แก้]ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 "กฎกระทรวง การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อจัดตั้ง "สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร" [1] เป็นการรวมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ให้เป็นหน่วยงานเดียวกัน โดยแยกตามภาค 4 ภาค
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคเหนือ
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคกลาง
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคใต้
การจัดการศึกษา
[แก้]การจัดการศึกษา
การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาในระบบและการศึกษาระบบทวิภาคีใช้ระยะเวลา 2 ปีการศึกษา การจัดภาคเรียนโดยใช้ระบบทวิภาคี โดยกำหนดให้ 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน โดยใน 1 ภาคเรียน ปกติมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 18 สัปดาห์ สำหรับภาคเรียนฤดูร้อน การกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต โดยมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับภาคเรียนปกติหรือตามที่คณะกรรมการประจำหลัก สูตรพิจารณา
ระยะเวลาการศึกษา
- หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ใช้เวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษาแต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษาสำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา หรือใช้เวลาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา สำหรับ การลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
- การขอโอนผลการศึกษา หรือขอประเมินเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษา
องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูถัมภ์ฯ
[แก้]องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย (อกท.) (Future Farmers Organization of Thailand)
- ครั้งที่ 35 วันที่ 15-19 กุมภาพันธ์ 2557 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- ครั้งที่ 36 วันที่ 10-14 กุมภาพันธ์ 2558 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก จังหวัดตาก
- ครั้งที่ 37 วันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2559 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา จังหวัดสงขลา
- ครั้งที่ 38 วันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ 2560 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๖, กฎกระทรวง มาตรา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔๐ ก ประกาศใช้เมื่อ 9 พฤษภาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561.