วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ (อังกฤษ : Buriram College of Agriculture and Technology ) เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
บุรีรัมย์
ชื่อย่อวษท.บร. / BCAT
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
ผู้อำนวยการนายวิทยา พลศรี
ที่ตั้ง
เลขที่ 67 หมู่ 1 ถนนสายบุรีรัมย์ – ประโคนชัย
ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์
จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
เว็บไซต์www.bcat.ac.th

ประวัติ[แก้]

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์[1] แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเป็น "โรงเรียนประถมวิสามัญเกษตรกรรม จังหวัดบุรีรัมย์" เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 โดยใช้เงินสะสมศึกษาพลีและเงินช่วยการประถมศึกษา เปิดสอนระดับประถมวิสามัญเกษตรกรรม (ป.4-ป.5)

ต่อมาปี พ.ศ. 2481 ได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมบุรีรัมย์" เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (แผนกเกษตรกรรม) และเปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกเกษตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2494

พ.ศ. 2519 โรงเรียนฯ ได้รับการยกฐานะให้เป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมบุรีรัมย์" โดยเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกเกษตรกรรม (ปวส.เกษตร) และจัดตั้งไร่ฝึกนักศึกษาเพื่อเป็นแหล่งฝึกงานของนักเรียนนักศึกษาด้วย

พ.ศ. 2520 วิทยาลัยฯ ได้รับผู้ที่จบ ม.ศ. 5 เพื่อเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกเกษตรกรรม  หลักสูตร 1 ปี และโครงการฝึกอาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น, โครงการฝึกอาชีพเกษตรกรรมเคลื่อนที่ ให้แก่เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ด้วย

พ.ศ. 2524 วิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกเกษตรกรรม รับผู้สำเร็จ ม.3   หรือเทียบเท่าหลักสูตร 3 ปี และในปี พ.ศ. 2527 ได้ดำเนินการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)   และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ   (พิเศษ) (ปวช.พิเศษ) ตามโครงการอาชีวศึกษาพัฒนาชนบท

พ.ศ. 2528 วิทยาลัยฯ เปิดดำเนินการศูนย์สาธิตและขยายพันธุ์ไม้ผลที่บริเวณท้ายเขื่อนลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ตามโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ปัจจุบันยกฐานเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง)

พ.ศ. 2537 กระทรวงศึกษาธิการ ให้วิทยาลัยฯ ดำเนินการทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนอีกบทบาทหนึ่งในชื่อ “วิทยาลัยชุมชนศรีบุรีรัมย์” โดยเปิดสอนสาขาวิชานอกภาคเกษตรในระดับ ปวช. และปวส.

พ.ศ. 2539 วิทยาลัยฯ ได้รับการประกาศให้เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์" เปิดสอนในประเภทเกษตรกรรมและบริหารธุรกิจในระดับ ปวช., ปวส.ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาโครงการเกษตรเพื่อชีวิตของนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น

จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 วิทยาลัยฯ ถูกควบรวมตามประกาศกฎกระทรวงเรื่อง "การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" จึงมีผลทำให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ รวมเป็นหน่วยงานหนึ่งของในสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเปิดสอนในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ที่ตั้ง[แก้]

  1. ศูนย์อำนวยการฯ : อยู่ทางทิศใต้ห่างจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์หลังเก่าประมาณ 1 กิโลเมตร ติดกับวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ที่ตั้ง เลขที่ 67 หมู่ 1 ถนนสายบุรีรัมย์ – ประโคนชัย ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 350 ไร่
  2. ไร่ฝึกนักศึกษา 871 ไร่เศษ ตั้งอยู่ที่บ้านสามศิลา ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์อำนวยการฯ ประมาณ 40 กิโลเมตร

 เปิดสอน[แก้]

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้[2]

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาประมง(การเพาะเลี้งสัตว์นำ)
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษต
  • สาขาการเลขานุก่าร
  • สาขาการโรงแรม

หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง[3][แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาการเพาะเลี้งสัตว์นำ
  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษต
  • สาขาการจัดการสำนักงาน
  • สาขาการโรงแรม

หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[4][แก้]

  • ยังไม่มีการเปิดสอนในปัจจุบัน (รอสภาสถาบันอนุมัติหลักสูตร)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.bcat.ac.th เก็บถาวร 2016-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน /ประวัติวิทยาลัยฯ
  2. "หลักสูตรอาชีวศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-10.
  4. ประกาศกฎกระทรวง[ลิงก์เสีย]