ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น
สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อย่อวษท.ขก. / KKCAT
คติพจน์พิทักษ์สิ่งแวดล้อม เพรียบพร้อมคุณธรรม
เลิศล้ำวิชาการ นำงานสู่ประชา
ประเภทรัฐบาล - วิทยาลัย
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาปนา2 มกราคม พ.ศ. 2519 (48 ปี)
ที่ตั้ง
ที่ตั้งหลัก
เลขที่ 176 หมู่ที่ 7 ถนนแจ้งสนิท ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น 40160
ศูนย์การเรียนหนองเรือ
อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 40210
เว็บไซต์www.kkcat.ac.th

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen College of Agriculture and Technology) เป็นวิทยาลัยด้านการเกษตร สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)[1]

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น[2] แรกก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2519 มีฐานะเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมขอนแก่น" ในพื้นที่สาธารณะ ป่าไม้บ้านโนนขี้เหล็ก ถนนแจ้งสนิท ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น บนพื้นที่ทั้งหมด 1,629 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา

  • ต่อมาปี พ.ศ. 2521 โรงเรียนฯ ได้เปิดทำการเรียนกาสอนรุ่นแรกในหลักสูตรที่เปิดสอน คือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเกษตร (ปวช.เกษตรกรรม)
  • พ.ศ. 2524 โรงเรียนฯ ได้รับคำสั่งจากกรมอาชีวศึกษายกฐานะเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมขอนแก่น" พร้อมทั้งได้อนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเกษตรกรรม (ปวส.เกษตรกรรม) เพิ่มอีก 1 ระดับ
  • พ.ศ. 2525 วิทยาลัยฯ ได้เปิดหลักสูตรพิเศษสาหรับอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมสำหรับเกษตรกร (ระยะสั้น) ในพื้นที่โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.) และพื้นที่เป้าหมายเขตจังหวัดขอนแก่นเป็นปีแรก โดยการนำเกษตรกรในหมู่บ้านเข้ามาฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมพื้นฐานเป็นระยะเวลา 7 วัน อบรมปีละประมาณ 10 รุ่น รุ่นละ 30–35 คน
  • พ.ศ. 2526 วิทยาลัยฯ ได้เปิดหลักสูตรเพื่ออบรมวิชาชีพเกษตรกรรมสาหรับเกษตรกรเคลื่อนที่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยอบรมเกษตรกรในหมู่บ้าน ปีละประมาณ 750 คน ในระยะเวลาอบรม 3 วัน
  • พ.ศ. 2527 วิทยาลัยฯ เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคเกษตรกรรม (ปวท.เกษตรกรรม) ซึ่งได้ทำการเรียนการสอนใน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาโคนม
  • พ.ศ. 2530 วิทยาลัยฯ เปิดสอนหลักสูตรโครงการอาชีวศึกษาเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบท (อศ.กช.) โดยรับเยาวชนที่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 9 (ปศ.9) ที่มีอายุระหว่าง 15 – 20 ปี มาศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบเป็นเวลาประมาณ 5 ปี ได้วุฒิ (ปวช.พิเศษ)
  • พ.ศ. 2536 วิทยาลัยฯ ได้รับคำสั่งจากกระทรวงศึกษาธิการให้รับผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าศึกษาต่อหลักสูตร ปวส. ประเภทวิชาเกษตรกรรมเป็นปีแรก โดยใช้เวลาในการศึกษา 2 ปี

ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในกรมอาชีวศึกษา และกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ (ขณะนั้น) จำนวน 77 แห่งทั่วประเทศ และในส่วนของจังหวัดขอนแก่นได้ประกาศจัดตั้ง วิทยาลัยชุมชนภายในวิทยาลัยเกษตรกรรมขอนแก่น มีชื่อว่า "วิทยาลัยชุมชนแก่นนคร” โดยเปิดสอนในประเภทวิชาอื่น ๆ นอกจากที่วิทยาลัยฯ เปิดทำการสอนมาก่อนนั้นเช่น ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมเกษตรและพาณชิยกรรม ในหลักสูตรระดับ ปวช. และในหลักสูตรระดับ ปวส. ประเภทบริหารธุรกิจ

  • พ.ศ. 2539 นายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้มีนโยบายปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต โดยรับผู้จบการศึกษาชั้น ม.3 จากโรงเรียนขยายโอกาสตามโครงการทางการศึกษาของสานักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) เข้าเรียนหลักสูตร ปวช.เกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรและเทคโนโลยี โดยยกเว้นค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตรที่เรียน 3 ปี ลักษณะเป็นนักเรียนประจำจัดที่พักอาศัยให้และได้รับเงินอุดหนุนคนละ 5,000 บาทต่อปี และหลังจากนั้นไม่นานวิทยาลัยเกษตรกรรมขอนแก่นและวิทยาลัยชุมชนแก่นนคร ได้ควบรวมกันจากประกาศกฎกระทรวงให้รวมกันและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น"
  • พ.ศ. 2541 วิทยาลัยฯ ได้ทำความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในโครงการแลกเปลี่ยนครูและนักศึกษาเพื่อไปศึกษาดูงานที่จังหวัดกุนม่า ประเทศญี่ปุ่น โดยมีครู 1 คนและนักศึกษา 3 คน เป็ระยะเวลา 1 ปี
  • พ.ศ. 2542 วิทยาลัยฯ ได้ทำความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศอิสราเอล เพื่อจัดส่งนักศึกษาไปศึกษาดูงานในระบบทวิภาคีพื้นที่เขตอาราวา ประเทศอิสราเอล จำนวนปีละ 40 คน เป็ยระยะเวลา 1 ปี
  • พ.ศ. 2545 วิทยาลัยฯ ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เปิดหลักสูตรรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) วิชาเอกโคเนื้อ-โคนม และในปีพ.ศ. 2548 ได้รับอนุมัติเปิดหลักสูตรรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) เพิ่มอีก 1 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกธุรกิจเกษตร
  • พ.ศ. 2548 วิทยาลัยฯ ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษารับรางวัลพระราชทานระดับอาชีวศึกษา(ขนาดใหญ่) และได้ทำความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคอาชีวเกษตรยูนนาน (Yunnan Agricultural Vocational Technical College) ประเทศจีน เพื่อส่งนักศึกษาและครูจำนวน 20 คนไปศึกษาดูงานในระยะเวลา 5 เดือน จนถึงปัจจุบันมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแล้ว 57 คนและครูจานวน 4 คน
  • พ.ศ. 2551 วิทยาลัยฯ ได้ทำความร่วมมือกับโรงเรียนสอนภาษานานาชาติเคว้ลท์ (QELT) ประเทศออสเตรเลีย เพื่อส่งนักศึกษาไปศึกษาและทำงานเป็นระยะเวลา 2 ปีๆ ละ 25 คน
  • พ.ศ. 2553 วิทยาลัยฯ ได้ทำความร่วมมือการฝึกทักษะการปฏิบัติงานระหว่างสถานประกอบการในประเทศบรูไน เป็นระยะเวลา 1 ปีโดยมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 4 คน
  • พ.ศ. 2555 วิทยาลัยฯ ได้ทำข้อตกลงในการจัดการอาชีวศึกษาระหว่างสถานประกอบการกับวิทยาลัย ฯ จำนวน 5 แห่งเพื่อจัดส่งนักศึกษาเข้าร่วมฝึกประสบการณ์วิชาชีพใสถานประกอบการณ์ยั้ยๆ และยังได้ทำความร่วมมือการจัดการศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยยงเจียง เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน เพื่อแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างไทย-จีน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • พ.ศ. 2555 วิทยาลัยฯ ได้ทำความร่วมมือการจัดการศึกษากับมหาวิทยาลัยเกษตรกรรมและป่าไม้ แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว เพื่อทำการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างไทย-ลาว เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 จนกระทั่ง พ.ศ. 2557 วิทยาลัยฯ ถูกควบรวมตามประกาศกฎกระทรวงเรื่อง "การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร พ.ศ. 2556" จึงมีผลทำให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น รวมเป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทำการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เปิดสอน

[แก้]

ปัจจุบันทำการเรียนการสอน ดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ

[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.3 เรียนต่อ 3 ปี

  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ศูนย์การเรียนหนองเรือ)
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการบัญชี (ศูนย์การเรียนหนองเรือ)

หลักสูตรปรกาศนียบีตรวิชาชีพชั้นสูง

[แก้]

รับนักเรียนจบ ม.6 หรือ ปวช. เรียนต่อ 2 ปี

  • สาขาวิชาพืชศาสตร์
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชาช่างกลเกษตร
  • สาขาวิชาประมง (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ศูนย์การเรียนหนองเรือ)
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการบัญชี (ศูนย์การเรียนหนองเรือ)

หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

[แก้]
  1. เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)

รับนักศึกษาจบ ปวส.เกษตรศาสตร์หรือพืชศาสตร์

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เกี่ยวกับวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2017-04-07.
  2. http://www.kkcat.ac.th/ เก็บถาวร 2017-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประวัติวิทยาลัย