วิชาชีพเกษตร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วิชาชีพเกษตร เป็นหลักหลักการปฏิบัติงานเกษตร เน้นทักษะด้านการเกษตรกรรม การเลือกใช้และดูแลเครื่องมืออุปกรณ์การเกษตรตามหลักการและกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสม สร้างให้นักเกษตรมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพด้านการเกษตร สร้างกิจนิสัยในการทำงานด้วยความรับผิดชอบ รอบคอบ ขยันและอดทน มีความเข้าใจหลักการปฏิบัติงานเกษตรในฟาร์ม ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติงานเกษตรตามหลักการและกระบวนการ
วิชาชีพเกษตรเป็นหลักการจัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยเกษตรกรรมที่ฝึกให้มีความรู้ ความเข้าใจเกษตรกรรมสาขาทั่วไป เมื่อก้าวเข้าสู่ระดับสูง จะเน้นทักษะวิชาชีพเกษตรที่มุ่งให้มีการปฏิบัติจริงมากขึ้นให้เกิดทักษะและความชำนาญ วิชาชีพเกษตรมีการส่งเสริมในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน เช่น วิชาชีพพืชศาสตร์ วิชาชีพสัตวศาสตร์ วิชาชีพประมง วิชาชีพเกษตรทั่วไป เป็นต้น
วิชาชีพพืชศาสตร์
[แก้]เน้นเรื่องการฝึกทักษะด้านพืช ซึ่งประกอบด้วย พืชสวน พืชไร่ ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กลางแจ้ง การจัดและตกแต่งสวนเบื้องต้น การปลูกพืชไฮโดรโพนิกส์ เป็นการสร้างทักษะด้านการดูแลรักษา การจัดการเก็บเกี่ยวพืชประเภทต่าง ๆ การกำจัดวัชพืช การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช การดูแลบำรุงรักษาดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
วิชาชีพสัตวศาสตร์
[แก้]เน้นเรื่องการฝึกทักษะการผลิตโคเนื้อ การผลิตโคนม การผสมเทียมสัตว์ หลักการเลี้ยงสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ อาหารและการให้อาหารสัตว์ โภชนการสัตว์ โรคและการสุขาภิบาลสัตว์ กายวิภาคสัตว์ มาตรฐานอาหาร ผลิตภัณฑ์นม
วิชาชีพประมง
[แก้]เน้นการฝึกทักษะด้านการประมงเบื้องต้น การเพาะและอนุบาลสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม โรคและศัตรูสัตว์น้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การขบายพันธุ์ไม้น้ำ แพลงก์ตอน อาหารสัตว์น้ำ บ่อและการสร้างบ่อ
วิชาชีพเกษตรมีการเปิดสอนในวิทยาลัยเกษตรกรรม
-
ดูงานกล้วยไม้
-
ฝึกงานกล้วยไม้
-
ฝึกทักษะวิชาชีพประมง
-
ฝึกทักษะพืชไร่
-
ฝึกทักษะสุกร]]