สุนทร หงส์ลดารมภ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุนทร หงส์ลดารมภ์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน 2520 – 21 ธันวาคม 2521
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
1 พฤษภาคม 2502 – 8 กรกฎาคม 2508
นายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้าโชติ คุณะเกษม
ถัดไปเสริม วินิจฉัยกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
2 มิถุนายน 2509 – 9 กุมภาพันธ์ 2511
ก่อนหน้าพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)
ถัดไปพระยาศรีวิสารวาจา (หุ่น ฮุนตระกูล)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2455
อำเภอพยุหะคีรี เมืองนครสวรรค์
เสียชีวิต16 กันยายน พ.ศ. 2548 (93 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิง ลำเจียก หงส์ลดารมภ์

สุนทร หงส์ลดารมภ์ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2455 – 16 กันยายน พ.ศ. 2548) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ[แก้]

สุนทร หงส์ลดารมภ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2455 ที่อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์[1] เป็นบุตรของนายสองตอง และนางพลอย หงส์ลดารมภ์

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม 8 จากโรงเรียนเทพศิรินทร์[2] และได้รับทุนการศึกษาให้ไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเวย์มัธ ประเทศอังกฤษ ในระดับปริญญาตรี และจบปริญญาโทอักษรศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

การทำงาน[แก้]

สุนทร หงส์ลดารมภ์ ทำงานเป็นอาจารย์สอนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นอาจารย์พิเศษในโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข และโรงเรียนเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2482 ย้ายไปอยู่กรมโฆษณาเป็นหัวหน้าแผนกต่างประเทศและเป็นหัวหน้ากองต่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปรับราชการเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ.ศ. 2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

การเมือง[แก้]

รัฐบาลสฤษดิ์[แก้]

พ.ศ. 2502 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์[3] ก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง[4] ต่อมา พ.ศ. 2506 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง[5] จนกระทั่งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506

รัฐบาลถนอม[แก้]

หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแก่อสัญกรรม พลเอก ถนอม กิตติขจรได้จัดตั้งรัฐบาล โดยนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่ออีกสมัย[6] ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ[7] ก่อนจะลาออกเมื่อ พ.ศ. 2511[8]

รัฐบาลเกรียงศักดิ์[แก้]

ต่อมาใน พ.ศ. 2520 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[9] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521[10]

ครอบครัว[แก้]

สุนทร หงส์ลดารมภ์ สมรสกับท่านผู้หญิง ลำเจียก หงส์ลดารมภ์ (สกุลเดิม:โคบุตร) มีบุตรธิดารวม 6 คน คือ

  1. นายสมคะเน หงส์ลดารมภ์
  2. นายลิขิต หงส์ลดารมภ์
  3. นางกรรณิการ์ อุเทนสุต
  4. นายจีระ หงส์ลดารมภ์
  5. นายสาโรช หงส์ลดารมภ์
  6. นายสัณห์ หงส์ลดารมภ์

สุนทร หงส์ลดารมภ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2548 สิริอายุ 92 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บุคคลสำคัญ :: ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
  2. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ - หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  4. "นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ - กระทรวงการคลัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-09. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
  5. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 29 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรี (ให้นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และตั้งนายเสริม วินิจฉัยกุล ดำรงตำแหน่งแทน)
  8. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 30 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
  10. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 40 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-02.
  11. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายสุนทร หงส์ลดารมภ์ (ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว.) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550 เวลา 17.00 น.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๕๒, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๔
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๑, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  17. รายนามผู้สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๒ จากเว็บไชต์ thaiscout


ก่อนหน้า สุนทร หงส์ลดารมภ์ ถัดไป
สุกิจ นิมมานเหมินท์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(9 กุมภาพันธ์ 2502 – 1 พฤษภาคม 2502)
เกษม ศรีพยัคฆ์
เกษม ศรีพยัคฆ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
(8 กรกฎาคม 2508 – 10 กรกฎาคม 2511)
พจน์ สารสิน
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา
(หุ่น ฮุนตระกูล)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(2 มิถุนายน 2509 – 9 กุมภาพันธ์ 2511)
พันเอก พระยาศรีวิสารวาจา
(หุ่น ฮุนตระกูล)