โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ฯ
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป |
โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออังกฤษ | Piyajat Pattana School under Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage |
อักษรย่อ | ป.ช.พ. / P.Y.C. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล ขนาดกลาง |
คติพจน์ | สามฺคคี วุฑฺฒิสาธิกา ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมทำให้สำเร็จความเจริญ |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
ก่อตั้ง | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2532 |
ผู้ก่อตั้ง | สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี |
เขตการศึกษา | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 |
รหัส | 1008500101 (ปัจจุบัน) 08500101 (เดิม) |
จำนวนนักเรียน | 620 คน |
สี | สีม่วง - ขาว |
เพลง | มาร์ชปิยชาติพัฒนา |
เว็บไซต์ | http://www.piyachart.ac.th/ |
โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ฯ | |
---|---|
ที่ทำการ | |
61/3 หมู่ 4 ถนนหน้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ![]() | |
ภาพรวม | |
ผู้บริหารหลัก | 1.นางสาวสุกัญญา เพาะบุญ ผู้อำนวยการ 2.นางณิชกุล วงศ์สุวรรณ ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ 3.นายวิรัตน์ คำมาก ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ 4.นางกัญญาวรรณ์ รุ่งกำจัด ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ 5.นายสุระกิตติ์ สุทธากร ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ |
ต้นสังกัด | กระทรวงศึกษาธิการ |
เว็บไซต์ | |
www.piyachart.ac.th |
โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อังกฤษ: Piyajat Pattana School under Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage) จังหวัดนครนายก จัดตั้งตามดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้บุตร หลานของข้าราชการทหารโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและพื้นที่ใกล้เคียง
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
โรงเรียนปิยชาติพัฒนา เป็นโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2532 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงาน สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ บริเวณสนามหลวง อธิบดีกรมสามัญศึกษา (นายพะนอม แก้วกำเนิด) ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วยในวันนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริกับอธิบดีกรมสามัญศึกษา เรื่องปัญหาการไม่มีที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของบุตรหลานข้าราชการในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รวมทั้งบุตรหลานชาวบ้านในตำบลใกล้เคียง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อีกส่วนหนึ่ง. จากพระราชดำริดังกล่าว กรมสามัญศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและจังหวัดนครนายก จึงร่วมศึกษาข้อมูลนักเรียนที่จะเข้าเรียน การจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างเป็นที่ดินของราชพัสดุในส่วนที่กองทัพบกดูแล อยู่หน้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสภาพเป็นป่าไผ่ค่อนข้างทึบมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 19 หลังคาเรือน มีตลาดนัดชาวบ้านชื่อว่า “ตลาดบุญส่ง” ซึ่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เตรียมแผนย้ายผู้คนเหล่านั้นไม่ให้เกิด ความเดือดร้อน โดยย้ายตลาดและชาวบ้านที่ใช้ที่ดินส่วนนั้นให้ไปอยู่ยัง ที่ดินจัดสรรให้เป็นหมู่บ้านใหม่ ที่ไม่ไกลจากที่เดิมนัก เพื่อเป็นสัดส่วนโดยตั้งชื่อหมู่บ้านที่ย้ายไปนี้ว่า “หมู่บ้านเทพประทาน” เพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งใหม่นี้ วันที่ 6 กันยายน 2532 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะของกรมสามัญศึกษาประกอบด้วยอธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองแผนงาน ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา ผู้อำนวยการกองออกแบบและก่อสร้าง หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์และคณะโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าฯ ที่ห้องประชุมตึกประวัติศาสตร์ ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงแนะนำว่าขอให้เป็นโรงเรียนขนาดกลาง อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น ควรเว้นที่ว่างติดกับทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ไว้ด้วยเพื่อความสวยงามและระบบความปลอดภัยของทหาร คณะผู้ออกแบบจึงได้จัดแบ่งพื้นที่โรงเรียนจำนวน 72 ไร่ ออกเป็น 3 ส่วน โดยกำหนดที่ดินด้านทิศใต้ คือ ส่วนที่มองเห็นก่อนเมื่อมองจาก ถนนสาย จ.ป.ร.- รังสิต เป็นส่วนของสนามกีฬาและบ้านพักครู ส่วนตรงกลางใช้เป็นที่ตั้งอาคารเรียนที่ต่อเชื่อมกันเป็นรูปก้างปลา โดยทางกรมสามัญศึกษากำหนดแผนชั้นเรียนไว้ทั้งสิ้น 42 ห้องเรียน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น 24 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 18 ห้องเรียนและต่อเชื่อมกับหอประชุม พร้อมโรงฝึกงานอีก 3 หลัง 6 หน่วย มีลานเอนกประสงค์อยู่ตรงกลาง ส่วนด้านทิศเหนือติดกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นพื้นที่แปลงเกษตรและแหล่งน้ำโดยการออกแบบของ นายกำธร บุญปาลิต สถาปนิกกองออกแบบกรมสามัญศึกษา
- วันที่ 20 กันยายน 2532 นายโกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ทำหนังสือต่อสำนักราชเลขานุการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เพื่อกราบบังคมทูล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานนามของโรงเรียน
- วันที่ 5 ตุลาคม 2532 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ นายโกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาและคณะพร้อมด้วยคณะนายทหารนำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เข้าเฝ้า ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ เพื่อสรุปข้อมูลรายละเอียดและดำเนินการจัดตั้ง โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ที่หมู่ที่ 4 ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก บริเวณประตูหน้าของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปัจจุบัน
- วันที่ 31 ตุลาคม 2532 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ โดยพลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 23 แห่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาเพิ่ม 1 โรง ในปีการศึกษา 2533 ที่ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า “โรงเรียนปิยชาติพัฒนา”
- วันที่ 26 ธันวาคม 2532 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนปิยชาติพัฒนา
- วันที่ 22 มกราคม 2533 กรมสามัญศึกษาได้มีหนังสือกรมสามัญศึกษาที่ 145/2533 ให้นายสำเนียง พาแพง ผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์สมุทร จังหวัดชลบุรี ซึ่งรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก สังกัดกองการมัธยมศึกษาให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนปิยชาติพัฒนาอีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 9 เมษายน 2533 เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวและโรงอาหารมุงด้วยหญ้าคา
- วันที่ 16 พฤษภาคม 2533 โรงเรียนเปิดทำการสอนเป็นวันแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จตรวจเยี่ยมและทอดพระเนตรการเรียนการสอน ในอาคารชั่วคราวมี นักเรียนเข้าศึกษาจำนวน 300 คน
- วันที่ 5 มกราคม 2534 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล็งเห็นว่า อาคารชั่วคราว ไม่สามารถรักษาหนังสือและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างอาคารชั้นเดียวเรียกว่า “อาคารพระราชทาน” ดำเนินการก่อสร้างโดย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และวิทยาลัยเทคนิคนครนายก
- วันที่ 5 เมษายน 2534 นายก่อ สวัสดิพานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชานุญาตให้โรงเรียนปิยชาติพัฒนา มีตราประจำโรงเรียน และพระราชานุญาตให้โรงเรียนอยู่ในพระราชูปถัมภ์
- วันที่ 10 เมษายน 2534 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับโรงเรียนปิยชาติพัฒนา ไว้ในพระราชูปถัมภ์และพระราชทานตรามงกุฎประจำพระองค์ เป็นตราประจำโรงเรียน ปิยชาติพัฒนา
- วันที่ 26 ธันวาคม 2535 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานมหกรรมผักโรงเรียนภาคตะวันออก ของกรมสามัญศึกษาที่โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องเพลงปิยชาติพัฒนา ในทำนอง สโลว์มาร์ช มอบให้กับโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2536 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเรียนเต็มรูปแบบตามแผนของกรมสามัญศึกษา จำนวน 42 ห้องเรียน
- วันที่ 26 ธันวาคม 2537 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องพิพิธภัณฑ์ประจำโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2538 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ เป็นการส่วนพระองค์
- วันที่ 26 ธันวาคม 2539 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องโสตทัศนศึกษา (ห้องกิตติธเนศวร) และทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
- วันที่ 26 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย สวนพฤกษศาสตร์และทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
- วันที่ 26 ธันวาคม 2541 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรนิทรรศการทางวิชาการและผลงานการดำเนินการของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และประธานชมรม ผู้ปกครอง ครู นักเรียน โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรถตู้เพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน
- วันที่ 31 มีนาคม 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์วิทยบริการปิยชาติ และทอดพระเนตรนิทรรศการทางวิชาการและผลงานการดำเนินงานของโรงเรียน
- วันที่ 26 ธันวาคม 2543 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมนิทรรศการทางวิชาการและผลการดำเนินงานของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 21 ธันวาคม 2544 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และบ้านพักนักเรียนในพระราชานุเคราะห์หลังใหม่
- วันที่ 26 ธันวาคม 2545 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2546 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และทำพิธีเปิดศูนย์ศึกษาการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
- วันที่ 26 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และทำพิธีเปิดสวนเกษตร-ศิลปะ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2550 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2551 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2552 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
- วันที่ 26 ธันวาคม 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]
- ปรัญชาประจำโรงเรียน : "รักศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ"
- คำขวัญประจำโรงเรียน : เด็กดี - ปิยชาติ เด็กฉลาด – ปิยชาติพัฒนา
- สีประจำโรงเรียน :
- สีม่วง หมายถึง สีประจำวันเสาร์ ซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สีขาว หมายถึง คุณธรรม ความบริสุทธิ์ ความสว่าง สงบ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา
- ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นเสลา
- ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน : "การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม"
วิสัยทัศน์ : Vision[แก้]
- โรงเรียนปิยชาติพัฒนา มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพตามมาตรฐานสากล สู่ประชาคมอาเซียนโดยครูมืออาชีพ มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ชุมชนมีส่วนร่วม และสนองงานตามโครงการพระราชดำริ
พันธกิจ : Mission[แก้]
- 1. จัดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายเต็มตามศักยภาพของผู้เรียนเทียบเคียงมาตรฐานสากลสู่ประชาคมอาเซียน
- 2. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- 3. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ สู่ครูมืออาชีพ
- 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
- 5. จัดการศึกษาโดยสนองโครงการพระราชดำริ
เป้าประสงค์ : Goals[แก้]
- 1. ผู้เรียนมีความรู้และทักษะการเรียนรู้ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานและมาตรฐานสากล
- 2. ผู้เรียนมีสมรรถภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
- 3. ผู้เรียนมีค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- 4. ครูมีทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพมุ่งสู่ครูมืออาชีพ
- 5. สถานศึกษามีการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจตามหลักธรรมาภิบาล
- 6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนองโครงการพระราชดำริโดยเน้นทักษะชีวิต
กลยุทธ์[แก้]
- 1. กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพผู้เรียน (เป้าหมายข้อ 1-3)
- 2. กลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะและคุณภาพของครูและบุคลากร (เป้าหมายข้อ 4)
- 3. กลยุทธ์พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษา (เป้าหมายข้อ 5)
- 4. กลยุทธ์สืบสานงานพระราชดำริและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (เป้าหมายข้อ 6)
ข้อมูลบุคลากร[แก้]
ข้อมูลบุคลากรโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2558
- 1. ฝ่ายบริหาร
- - ผู้อำนวยการ 1 คน
- - รองผู้อำนวยการ - คน
- - ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการ 4 คน
- 2. ข้าราชการครู
- - ครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) 41 คน
- - ครูชำนาญการ (ค.ศ.2) 4 คน
- - ครูปฏิบัติการ (ค.ศ.1) 2 คน
- 3. ครูอัตราจ้าง
- - ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2 คน
- - ครธุรการ 1 คน
- 4. ลูกจ้างประจำ 3 คน
- 5. ลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
- รวมบุคลากรทั้งสิ้น 64 คน
หลักสูตร[แก้]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น[แก้]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 มีแผนการศึกษาดังนี้
- ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจของตนเอง และพัฒนา บุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้านการเรียนรู้ และทักษะใน การดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย[แก้]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 มีแผนการศึกษาดังนี้
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน
- วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ - คณิตศาสตร์
- ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น
รายนามผู้บริหารโรงเรียน[แก้]
ลำดับ | ภาพ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|---|
1 | นายสำเนียง พาแพง | พ.ศ. 2533 | |
2 | นายสุรัตน์ ยุทธเสรี | พ.ศ. 2533 - 2535 | |
3 | นางพัลลภา จันทรุจิรากร | พ.ศ. 2535 - 2537 | |
4 | นายเดชา ธรรมศิริ | พ.ศ. 2537 - 2539 | |
5 | ไฟล์:Kamol1.jpg 150px |
นายกมล บุญประเสริฐ | พ.ศ. 2539 - 2540 |
6 | นางสาวศรีวรรณา เขียวลี | พ.ศ. 2540 - 2544 | |
7 | นายบุญธรรม พิมพาภรณ์ | พ.ศ. 2544 - 2546 | |
8 | ไฟล์:Sumonrat.jpg 150px |
นางสุมนรัตน์ อัศตรกุล | พ.ศ. 2546 - 2549 |
9 | ไฟล์:Boss58.jpg 150px |
ว่าที่ร้อยตรีสรยุทธ สืบแสงอินทร์ | พ.ศ. 2549 - 2558 |
10 | นางสาวนิติพร เนติ | พ.ศ. 2558 - 2561 | |
11 | นางสาวสุกัญญา เพาะบุญ | พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน |