ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Delicious (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
|signature = Signature of King Vajiravudh.svg
|signature = Signature of King Vajiravudh.svg
}}
}}
'''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว''' หรือ '''พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว''' (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 6 ใน[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
'''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว''' หรือ '''พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว''' (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 6 ใน[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระ[[ราชวงศ์จักรี]]พระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนา[[โรงเรียนมหาดเล็กหลวง]] หรือ[[วชิราวุธวิทยาลัย]]ในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระ[[ราชวงศ์จักรี]]พระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนา[[โรงเรียนมหาดเล็กหลวง]] หรือ[[วชิราวุธวิทยาลัย]]ในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:00, 1 สิงหาคม 2561

พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม[1]
ครองราชย์23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (15 ปี 34 วัน)
ราชาภิเษก11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถัดไปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชสมภพ1 มกราคม พ.ศ. 2423
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร ประเทศสยาม
สวรรคต26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (45 พรรษา)
พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
พระมเหสี
วัดประจำรัชกาล
ทรงสร้างวชิราวุธวิทยาลัยแทนวัดประจำรัชกาล[2]
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ลายพระอภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย[3]

ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก[4]

พระราชประวัติ

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นองค์ที่ 2 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน[5] มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430)
  2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468)
  3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430)
  4. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463)
  5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430)
  6. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467)
  7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466)
  8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)
ไฟล์:กรมขุนเทพทวาราวดี.jpg
ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมขุนเทพทวารวดี

แม้ตอนประสูติ พระราชชนนียังดำรงพระยศเป็น พระราชเทวีอยู่ ยังมิได้ดำรงพระยศ พระอัครมเหสี แต่ตามขัตติยราชประเพณีในรัชกาลที่ 5 พระราชโอรสธิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อมทุกพระองค์ พระอิสริยยศเดิมของพระองค์ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชั้นทูลกระหม่อม เมื่อพระชนมพรรษาเจริญครบเดือน สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ สถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ แต่ยังมิได้พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียกว่า "ลูกโต" พระประยูรญาติในพระราชสำนักดำเนินรอยตามพระบรมราชอัธยาศัยเรียกพระองค์ท่านว่า "ทูลกระหม่อมโต"[6]

ต่อมาในวันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2431 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2432) ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช จุฬาลงกรณ์นารถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ บรมมกุฏสุริยสันตติวงษ อดิสัยพงษวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศวิมลรัตน ทฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร ทรงศักดินา 50000 ตามอย่างเจ้าฟ้าต่างกรม และทรงตั้งเจ้ากรมเป็นกรมขุนเทพทวาราวดี รับพระเกียรติยศเป็นที่สองรองจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร[7][8]

การศึกษา

ฉายพระรูปร่วมกับพระราชบิดาและพระราชมารดา ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร

ในขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง โดยมีหม่อมเจ้าประภากร มาลากุล พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรภาษาไทย ส่วนวิชาภาษาอังกฤษนั้นทรงศึกษากับนายโรเบิร์ต มอแรนต์ (Robert Morant)[9] ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2436 พระชนมายุได้ 12 พรรษาเศษ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเก ล้าฯ ให้เสด็จออกไปทรงศึกษาต่อ ณ อังกฤษ ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ ณ อังกฤษ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมชนกนาถจึงโปรดฯให้สถาปนาเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารสืบแทนสมเด็จพระเชษฐา[10][11]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาวิชาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษหลายแขนง ทางทหารทรงสำเร็จการศึกษาจากแซนเฮิสต์แล้วเข้ารับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม ทางด้านพลเรือนทรงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์และกฎหมาย ที่วิทยาลัยไครสต์เชิร์ช มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ระหว่างปี พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444[12] แต่เนื่องด้วยทรงพระประชวรด้วยพระโรคอันตะ (ไส้ติ่ง) อักเสบ มีพระอาการมากต้องเข้ารับการผ่าตัดทันที ทำให้ทรงพลาดโอกาสที่ได้รับปริญญา ระหว่างการศึกษาในต่างประเทศ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยเสด็จในฐานะผู้แทนพระองค์ไปในงานพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ทั้งในประเทศอังกฤษและประเทศใกล้เคียง เสด็จนิวัตพระนครตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถโดยเสด็จผ่านสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ถึงกรุงเทพมหานครเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2445[13]

การผนวช

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 เวลาเช้า 3 โมงเศษ ทรงผนวชเป็นครั้งที่ 3 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ถึงเวลาบ่าย 4 โมงเย็น ได้ทรงทำทัฬหีกรรม ณ พระพุทธรัตนสถาน กับพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์พระองค์เดิม ผนวชแล้วประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[14] ถึงวันที่ 11 ธันวาคม ศกนั้น จึงทรงลาผนวช แล้วปฏิญาณพระองค์ถึงไตรสรณคมน์และรับศีล ยังทรงประทับในวัดบวรนิเวศวิหารต่อจนเช้าวันที่ 15 ธันวาคม จึงเสด็จฯ กลับ[15]

ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินยุโรปครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจในราชกิจที่จะรักษาพระนครไว้แด่พระองค์ เป็นการรับสนองพระเดชพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระบรมชนกนาถในหน้าที่อันสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่ง และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเป็นที่สุดด้วยระหว่างทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์นี้ ทรงรับเป็นประธานการจัดสร้างพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งงานสำคัญบรรลุโดยพระราชประสงค์อย่างดี[16]

การขึ้นครองราชย์

เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตลงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทั้ง ๆ ที่พระองค์นั้นได้รับการสถาปนาตั้งไว้ในพระรัชทายาทสืบพระราชสันตติวงศ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 แต่ก็ทรงเศร้าสลด ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะแลกสิริราชสมบัติสำหรับพระองค์เองกับการสูญเสียพระชนมชีพของสมเด็จพระบรมชนกนาถ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) แท้ ๆ ทูลเชิญเสด็จลงที่ห้องแป๊ะเต๋งบนชั้น 2 พระที่นั่งอัมพรสถาน และท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ผู้ใหญ่ องคมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่ชุมนุมอยู่ พระปิตุลาได้คุกพระชงฆ์ลงกับพื้นกราบถวายบังคมอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และทันใดทุกท่านที่ชุมนุมอยู่ที่นั้น ก็ได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคมทั่วกัน[17] และในคืนนั้นได้มีประกาศภาษาไทยให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม จึงให้ออกพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[18]

ในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 จึงรับบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อดิศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทรสูรสันตติวงษวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน์อัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว"[19]

ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ทรงเห็นชอบกับคำกราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีให้เฉลิมพระปรมาภิไธย "สมเด็จพระรามาธิบดี" แทนคำว่า "สมเด็จพระปรเมนทร" จึงมีพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว"[20] และเมื่อยกรามาธิบดีเป็นคำนำพระปรมาภิไธยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้นเรศรามาธิบดี เป็นนเรศราธิบดี แทน[21]

กบฏ ร.ศ. 130

คณะกบฏ ร.ศ. 130

หลังจากทรงครองราชสมบัติได้ 2 ปี ได้เกิดเหตุนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ [22] ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์, ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์, ร.ต.จรูญ ษตะเมษ, ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์, ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ, ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร, ร.ต.เขียน อุทัยกุล

โดยคณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[23] ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ เดิมคณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์[24]

นำสยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

พ.ศ. 2457 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เริ่มปะทุขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว ทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิด พระองค์ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลในการให้ประเทศสยามประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร[25] เพราะถ้าฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ จะมีผลดีในการที่ประเทศไทยจะเรียกร้องสิทธิต่างๆ เช่น ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมที่ทำไว้กับนานาประเทศ จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยประกาศกระแสพระบรมราชโองการประณามว่า

"เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายละเมิดเมตตาธรรมของมวลมนุษย์ มิได้มีความนับถือต่อประเทศเล็ก ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นผู้ก่อกวนความสุขของโลก"

ซึ่งเหตุการณ์ก็เป็นดังที่พระองค์ทรงคาดไว้ คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ การตัดสินพระทัยของพระองค์ในครั้งนั้น ปรากฏว่าได้รับการคัดค้านจากประชาชนทั่วไป[26] เนื่องจากในสมัยนั้นมีคนสยามไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมนีเป็นจำนวนมาก จึงนิยมและเคารพเยอรมนีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเยอรมนีไม่เคยสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้สยามมาก่อน[27]

พระชนมชีพหลังสงครามโลก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัวทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับพระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม[28] โดยเฉพาะศิลปการแสดง จนนับได้ว่ารัชสมัยของพระองค์เป็นยุคทองของศิลปะด้านการแสดง ทั้งแบบจารีตคือ โขน ละครนอก ละครใน และละครแบบใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลของประเทศตะวันตก อันได้แก่ ละครร้อง ละครพูด ละครดึกดำบรรพ์ ความสนพระทัยของพระองค์ต่องานแสดงนั้น มิใช่เพียงแต่การทอดพระเนตรดังเช่นรัชกาลที่ผ่านมา แต่ได้มีส่วนพระราชนิพนธ์บทละครทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศรวมประมาณ 180 เรื่อง ทรงควบคุมการแสดง และทรงแสดงร่วมด้วย[29]

นอกจากนี้สิ่งที่พระองค์สนพระทัยอย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งคือกองเสือป่า ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีกระแสพระบรมราชโองการให้จัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมราษฎรที่มีคุณภาพ มีวินัย เคารพกฎหมายบ้านเมือง มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และส่งเสริมความสามัคคี[30]

ในช่วงปลายรัชกาลทรงใช้เวลาส่วนพระองค์ไปกับการพระราชนิพนธ์บทละคร และบทความเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ พระองค์ได้ออกหนังสือข่าวของ "ดุสิตธานี" ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ คือ ดุสิตสมัย รายวัน และดุสิตสมิธ ราย 3 เดือน ซึ่งได้รับความนิยมมาก มีทั้งเรื่องการเมือง เรื่องตลกขบขัน เบ็ดเตล็ด และกวีนิพนธ์ ลักษณะเด่นคือมีการ์ตูนล้อการเมือง[31] หนังสือพิมพ์เป็นเวทีแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและสนามสำหรับแสดงโวหาร พระราชนิพนธ์ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ได้แก่ "โคลนติดล้อ"[32] เป็นการเขียนถึงสังคม ความเป็นอยู่ และการเมืองของไทย

การสวรรคต

ไฟล์:พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.gif
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรพระโรคพระโลหิตเป็นพิษในพระอุทรตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 โดยทรงได้เสวยพระกระยาหารผิดสำแดงและทรงพระบังคน มีมดมาเกาะพระบังคนหมอจึงสรุปว่า มีเบาหวานแทรกซ้อนแต่พระอาการก็ทรงกับทรุด จนเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลา 1 นาฬิกา 45 นาที[33] โดยได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทรวมพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา และเสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ 15 พรรษา แต่รัชกาลที่ 7 มีพระราชประสงค์กำหนดวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6 เป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน และถือว่าวันพระมหาธีรราชเจ้าตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน[34] ส่วนพระบรมราชสรีรางคารได้เชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเชิญไปประดิษฐาน ณ พระปฤศฤๅงค์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ส่วนพระบรมอัฐิส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมานองค์กลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และ อีกส่วนหนึ่งเชิญไปประดิษฐาน ณ พระวิมานพระอัฐิ วังรื่นฤดี[35] ของ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียว

ชีวิตส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ยังการหมายหมั้นจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ให้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณา (พระองค์หญิงกลาง) พระธิดาองค์กลางในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ ถึงกับมีการหมายหมั้นว่าพระองค์เจ้าหญิงนี้จะได้เป็นสมเด็จพระราชินีในอนาคต แต่หลังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศก็มิได้สนพระทัยในพระองค์เจ้าหญิงนัก[36]

ต่อมาเมื่อพระองค์ได้เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ. 2453 หลังจากนั้นอีกหลายปีพระองค์ได้พบกับหม่อมเจ้าวรรณวิมล วรวรรณ (ท่านหญิงเตอะ) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรกที่ห้องทรงไพ่บริดจ์ในงานประกวดภาพเขียน ณ โรงละครวังพญาไท ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2463 พระองค์โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของพระธิดาในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ โดยพระนามของหม่อมเจ้าวรรณวิมล เปลี่ยนเป็น หม่อมเจ้าวัลลภาเทวี พร้อมกับขนิษฐาอีก 4 พระองค์ ที่รวมไปถึงหม่อมเจ้าวรรณพิมล วรวรรณ (ท่านหญิงติ๋ว) ก็ได้รับพระราชทานนามเป็น หม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ และต่อมาในวันที่ 9 พฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการสถาปนาหม่อมเจ้าวัลลภาเทวี วรวรรณ ขึ้นเป็น พระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี[37] แต่ด้วยมีเหตุพระราชอัธยาศัยไม่ต้องกัน จึงมีพระบรมราชโองการถอนหมั้นลงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2464 และโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี[38]

สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา

ก่อนการถอนหมั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อภิเษกสมรสกับนางสาวประไพ สุจริตกุล เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2464 และได้มีราชทินนามเป็น พระอินทราณี[39] ต่อมาเมื่อวันที่ 4 เมษายนปีเดียวกันนั้นเอง พระองค์ก็ได้สถาปนาหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ วรวรรณ พระขนิษฐาของอดีตพระวรกัญญาปทานขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ[40] พร้อมกับทรงหมั้น และมีพระราชวินิจฉัยว่าจะได้ทรงทำการราชาภิเษกสมรสในภายหน้า[41] และวันที่ 27 ตุลาคม ของปีนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับนางสาวเปรื่อง สุจริตกุล พี่สาวของพระอินทราณี[42] และอดีตนางสนองพระโอษฐ์ในอดีตพระวรกัญญาปทาน[43] ได้รับการแต่งตั้งมีราชทินนามเป็น พระสุจริตสุดา[44] แต่ก็มิได้ตั้งครรภ์ตามพระราชประสงค์

ด้วยเหตุที่พระอินทราณีได้ตั้งครรภ์ จึงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรราชชายาเธอ[45] และพระบรมราชินี[46] ตามลำดับ แต่ในปลายปีเดียวกันนั้นก็ได้สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น พระนางเธอลักษมีลาวัณ[47] แต่ทั้งสองพระองค์มิได้อภิเษกสมรสหรือมีโอรสธิดาด้วยกัน ท้ายที่สุดจึงตัดสินพระทัยแยกกันอยู่

แต่ภายหลังสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินีได้ทรงแท้งพระครรภ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงล้มเหลวต่อการมีพระราชโอรสสืบราชบัลลังก์ จนในปี พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนานางสาวสุวัทนา อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นเจ้าจอมสุวัทนา[48] ต่อมาเมื่อวันที่ กันยายน พ.ศ. 2468 ได้มีการเขียนพระราชพินัยกรรมขึ้น โดยได้เขียนไว้ว่าว่าห้ามนำพระอัฐิของพระองค์ตั้งคู่กับพระอัฐิของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี หากจะตั้งก็ให้ตั้งคู่กับสุวัทนา เพราะทรงยกย่องว่าเป็น "เมียดีจริงๆ" และยังเป็นที่ทรงหวังว่าจะมีพระราชโอรสสืบไปได้[49] และด้วยเกิดเหตุหลายประการเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี อันมีเรื่องการตกพระครรภ์หลายครั้ง เป็นเหตุผลประการหนึ่ง จึงมีการลดพระอิสริยยศของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี ลงเป็นพระวรราชชายาแทน เมื่อวันที่ 20 กันยายน[50][51] ต่อมาในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการสถาปนาเจ้าจอมสุวัทนาซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าจะประสูติกาลพระบุตรในไม่ช้า ขึ้นเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อ "...ผดุงพระราชอิศริยยศแห่งพระกุมารที่จะมีพระประสูติการในเบื้องหน้า"[52]

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพระราชธิดา

แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักและมีพระอาการรุนแรงขึ้น ในยามนั้นพระองค์ประทับ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีประทับ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ซึ่งติดกับพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เพื่อทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งพระนางเจ้าสุวัทนา มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิงในวันที่ 24 พฤศจิกายน จากนั้นในเวลาบ่าย เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ได้เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ” เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว มีพระราชดำรัสว่า “ก็ดีเหมือนกัน”[53] จนรุ่งขึ้นในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน เจ้าพระยารามราฆพ เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถผู้ทรงพระประชวรหนักบนพระแท่น เมื่อทอดพระเนตรแล้ว ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้เนื่องจากขณะนั้นมีพระอาการประชวรอยู่ในขั้นวิกฤต เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต[53]

ส่วนพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2468[54] โดยมีสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ทรงพระเมตตาเอาพระราชหฤทัยใส่ดูแลทั้งด้านพระอนามัยและความเป็นอยู่มาโดยตลอด ด้วยเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระประชวรหนักนั้น ได้มีพระราชดำรัสกับสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าว่า “ขอฝากลูกด้วย” สมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉาเจ้ายังได้มีพระราชกระแสถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “เจ้าฟ้านี่ ฉันตายก็นอนตาไม่หลับ พระมงกุฎฝากฝังเอาไว้”[53] ต่อมาเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา พร้อมด้วยพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้เสด็จฯ ไปประทับที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480[55] จนในปี พ.ศ. 2501 ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ นิวัติกลับประเทศไทยเป็นการถาวรและประทับที่วังรื่นฤดีร่วมกัน[55] ท้ายที่สุด สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีได้สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา[56] ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุได้ 85 พรรษา[57]

พระราชสันตติวงศ์

พระมเหสี และพระสนม

พระราชโอรสและพระราชธิดา

พระราชกรณียกิจ

พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรก สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2485 ที่สวนลุมพินี

ด้านการศึกษา

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนาม โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2448[58] ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของเชียงใหม่ และพระราชทานนาม โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งก่อตั้งโดยคณะมิชชันนารีอเมริกา ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วย[59] เห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ "ลิลิตพายัพ"[59] ทั้งนี้ เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย[59]

พระองค์ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย[60]) ทั้งยังทรงสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ปัจจุบัน คือ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย[61][62]

ด้านการเศรษฐกิจ

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น ทรงจัดตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานคล้ายกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจในปัจจุบัน และใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ ธนาคารสยามกัมมาจล ทุนจำกัด (ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ซึ่งมีปัญหาการเงิน ทำให้ธนาคารของคนไทยแห่งนี้ดำรงอยู่มาได้

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในราชสำนักของพระองค์ค่อนข้างฟุ่มเฟือย[63] กระทรวงพระคลังมหาสมบัติต้องถวายเงินเพิ่มขึ้นมากในพระคลังข้างที่ ทั้งนี้เพราะเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหมกมุ่นอยู่กับแต่ศิลปะวิทยาการ ทำให้การคลังของประเทศอ่อนแอ รายจ่ายของแผ่นดินมีสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงในตอนปลายรัชกาล[63] ไปจนถึงในรัชกาลถัดไป

ด้านสังคม

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย ทรงทดลองตั้ง "เมืองมัง"[64] หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง "ดุสิตธานี"[65] ในพระราชวังดุสิต (ต่อมาทรงย้ายไปที่พระราชวังพญาไท) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวชิรพยาบาลเมื่อ พ.ศ. 2455 และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อ พ.ศ. 2457[66] ทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2465 เพื่อผลิตวัคซีนและเซรุ่ม เป็นประโยชน์ทั้งแก่ประชาชนชาวไทยและประเทศใกล้เคียงอีกด้วย[67] ทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ในปี พ.ศ. 2460 ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพี่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น[68]

พระองค์ทรงยกเลิกบ่อนการพนัน หวย ก.ข. และลดการค้าฝิ่น ซึ่งเป็นอบายมุขมอมเมาประชาชน แม้ว่าจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลแหล่งหนึ่งก็ตาม[69] ทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่น ๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455[70] และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,464 นามสกุล ทรงประกาศให้มีการใช้พุทธศักราชแทนรัตนโกสินทร์ศก เพราะทรงมีพระราชดำริว่าการใช้รัตนโกสินทร์ศกมีข้อบกพร่องตรง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มใช้พุทธศักราช เป็นศักราชในทางราชการมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456[71] นอกจากนี้ทรงให้เปลี่ยนการนับเวลามาเรียกว่านาฬิกาและนับเวลาทางราชการใหม่ให้สอดคล้องกับธรรมเนียมสากลนิยม โดยให้ถือเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นวันรุ่งขึ้นหรือวันใหม่ ซึ่งจากเดิมประเทศไทยนับเวลาตอนกลางวันเป็นโมง ตอนกลางคืนเป็นทุ่ม[72]

เมื่อรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองอุทัยธานี ซึ่งขณะนั้นประสบเหตุอุทกภัยและทอดพระเนตรเห็นธงช้างของราษฎรซึ่งตั้งใจรอรับเสด็จไว้ถูกติดกลับหัว พระองค์จึงมีพระราชดำริว่า ธงชาติต้องมีรูปแบบที่สมมาตรเพื่อไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติอีกครั้ง โดยเปลี่ยนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบยาวสีแดง 3 แถบ สลับกับแถบสีขาว 2 แถบ ซึ่งเหมือนกับธงชาติไทยในปัจจุบัน แต่มีเพียงสีแดงสีเดียว ซึ่งธงนี้เรียกว่า ธงแดงขาว 5 ริ้ว (ชื่อในเอกสารราชการเรียกว่า ธงค้าขาย) [73] พ.ศ. 2460 แถบสีแดงที่ตรงกลางธงค้าขายได้เปลี่ยนเป็น สีน้ำเงินขาบ หรือสีน้ำเงินเข้มเจือม่วงดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[74] เหตุที่รัชกาลที่ 6 ทรงเลือกสีนี้เพราะสีขาบเป็นสีประจำพระองค์ที่โปรดมาก เนื่องจากเป็นสีประจำวันพระราชสมภพคือวันเสาร์ ตามคติโหราศาสตร์ไทย[75] ธงชาติแบบใหม่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า "ธงไตรรงค์" ในปีพ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้านามกำหนดให้ใช้คำนำหน้านามอย่างอารยประเทศ นั่นคือ ให้มีคำว่า เด็กชาย เด็กหญิง นาย นาง และนางสาวนำหน้าชื่อ[76]

ด้านศิลปวัฒนธรรม

ทรงตั้งกรมมหรสพ เพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง[77] นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบอาคารสมัยใหม่เป็นแบบทรงไทย เช่น ตึกอักษรศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารเรียนหลังแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาคารโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสรย[78] สำหรับในด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. 2465 ขึ้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนศิลปะการแสดงโขนด้วยการพระราชนิพนธ์บท ทรงควบคุมการจัดแสดงและฝึกซ้อมด้วยพระองค์เอง และทรงโปรดให้ครูโขนละครจากคณะของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ฝึกหัดคณะโขของพระองค์ ด้านการละครทรงนำแบบอย่างมาเผยแพร่ ทั้งบทละคร วีธีแสดง การวางตัวละครบนเวที การเปล่งเสียงพูด พระองค์ทรงมีบทบาททั้งการพระราชนิพนธ์บทละคร ทรงควบคุมการแสดงและทรงแสดงร่วม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องประกอบเนื้อเรื่อง ทั้งทำนองเพลงไทยและเพลงสากล นอกจากนี้ยังทรงโปรดฯให้มีการสอนและฝึกซ้อมดนตรีไทยควบคู่ไปกับการเรียนการสอนวิชาสามัญ[79]

ด้านการต่างประเทศ

ขณะดำรงพระยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ในระหว่างปิดภาคเรียนขณะทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส[80] และเสด็จทอดพระเนตรกิจการทหารของประเทศในภาคพื้นยุโรปเป็นเนืองนิจ ในปีพ.ศ. 2445 ขณะทรงพระชนมายุ 22 พรรษา หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแล้ว พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปจนถึงประเทศอียิปต์ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี จากนั้นประทับอยู่ในกรุงลอนดอนระยะหนึ่งเพื่อเตรียมพระองค์นิวัตประเทศไทย[81]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460[82] โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ในการแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต สนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สนธิสัญญาจำกัดอำนาจกลางประเทศไทย[83]

พระบรมราชานุสรณ์

พระบรมราชานุสาวรีย์

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า

ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เช่น

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนลุมพินี

เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างด้วยพระราชทรัพย์พระราชทานจากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี โดยพระราชทานพระอนุญาตให้หักเงินรายได้ของพระองค์ 2 ใน 3 จากรายได้ทั้งหมด และพระราชทรัพย์พระราชทานของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งพระราชทานสมทบอีกส่วนหนึ่ง โดยส่วนที่เหลือรัฐบาลเป็นผู้อนุมัติงบจัดสร้าง สร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน ทั้งนี้ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ และพระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จมาทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี ณ สวนลุมพินีแห่งนี้[84]

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จมาทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี [85]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วชิราวุธวิทยาลัย

เริ่มจัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2505 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้เสด็จมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีประดิษฐานพระบรมรูป ณ พระบรมราชานุสรณ์หน้าหอประชุมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ที่หน้าหอประชุม เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2508 พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จมาทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี [86]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ พระราชวังสนามจันทร์

เป็นพระบรมรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่ง ฉลองพระองค์ชุดเสือป่าราบหลวงอย่างเก่าแบบทรงม้า เป็นฝีมือของช่างจากกรมศิลปากร ส่วนราชการจังหวัดฯ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้กลางพระราชวังสนามจันทร์ หลังเทวาลัยคเณศร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2525[87][88]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ พระราชวังพญาไท

เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในภายหลัง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อสำริดทรงยืนตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารเทียบรถพระทีนั่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่หล่อขึ้นขนาดเท่าองค์จริงทรงเครื่องยศจอมพลทหารบกประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี[89]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ กรมการรักษาดินแดน

เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นภายหลัง ประดิษฐานอยู่กลางวงเวียนภายในกรมการรักษาดินแดน พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จมาทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิทหมายเลข 3 กิโลเมตรที่ 6 ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2544 โดยพลเรือโทสุทัศน์ ขยิ่ม ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ร่วมกับข้าราชการ ประชาชน และผู้มีจิตศรัทธาจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชสักการะ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงพระราชทานที่ดินทรงสงวน บริเวณอำเภอสัตหีบ ที่กองทัพเรือใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ โดยกองทัพเรือจะจัดพิธีวางพวงมาลาทุกวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี[90]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

ประดิษฐานบนแท่นหน้าตึกยุพราช โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2557 เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยศยศเป็น สมเด็จพระยุพราชในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย" ซึ่งมีความหมายว่า "โรงเรียนของสมเด็จพระยุพราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร)"[91]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน

ประดิษฐานบริเวณ หน้าอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน จัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ทรงพระราชทานกำเนิดธนาคารออมสิน พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าสถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จมาทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี [92]

พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ค่ายหลวงบ้านไร่

ตั้งอยู่ ณ ค่ายหลวงบ้านไร่ ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีพิธีวางศิลาพระฤกษ์พระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 เนื่องจากค่ายหลวงบ้านไร่ เคยเป็นค่ายฝึกซ้อมรบเสือป่า ซึ่งเป็นตันกำเนิดของกิจการลูกเสือ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และทางราชการเห็นว่าสถานที่แห่งนี้มีความสำคัญจึงได้สร้างพระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านไร่แห่งนี้[93]

วชิราวุธวิทยาลัย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2453 เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือนพระอารามหลวงประจำรัชกาล และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง"[94] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป[95]

พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 และชั้น 3 อาคารราชวัลลภ ภายในกรมการรักษาดินแดน ตรงข้ามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ถนนเจริญกรุง จัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ชุดฉลองพระองค์ พระมาลา รองพระบาท อาวุธต่างๆ ในสมัยนั้น และประวัติความเป็นมาของกองกิจการเสือป่าซึ่งทรงก่อตั้งและพัฒนามาเป็นนักศึกษาวิชาทหารรักษาดินแดนในปัจจุบัน[96]

หอวชิราวุธานุสรณ์

ก่อตั้งโดย หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล โดยถวายให้ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงรับเป็นองค์ประธาน สร้างขึ้นเพื่อฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 100 ปีของพระบาทสมเด็จพระมุงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2524 ตั้งอยู่ในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร เป็นอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ อยู่ทิศเหนือของอาคารหอสมุดแห่งชาติ ชิดกับรั้วบริเวณท่าสุกรีซึ่งเคยเป็นที่ประทับแรม ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหลายครั้งหลายหน สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงประกอบพิธีวางศิลาพระฤกษ์ในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ครบ 8 รอบ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2520[97]

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

  • อาคารมหาวชิราวุธ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาคารมหาวชิราวุธ วชิรพยาบาล
  • อาคารเทพวารวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อาคารวชิรมงกุฎ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อาคารวชิรมงกุฎ วชิราวุธวิทยาลัย
  • ประตูอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้า/เพคะ
พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 6

พระราชอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (25 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
  • พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระวชิระ ซึ่งมาจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "มหาวชิราวุธ" ซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นศาตราวุธของพระอินทร์ พระราชลัญจกรพระวชิระนั้น เป็นตรางา รูปรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. มีรูปวชิราวุธเปล่งรัศมีที่ยอด ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง[98]

พระพุทธรูปประจำพระองค์

พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร รัชกาลที่ 6
พระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 6
  • พระพุทธรูปประจำพระชนมวาร เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก 7 เศียร ประทับใต้ต้นจิก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453 สร้างด้วย ทองคำลงยาประดับอัญมณี ความสูงถึงยอดต้นจิก 20.70 เซนติเมตร ประดิษฐาน ณ.หอพระ วิมานองค์ขวา พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท[99]
  • พระพุทธรูปประจำรัชกาล สร้างราว พ.ศ. 2468-2475 หน้าตักกว้าง 7.5 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 12 ซ.ม. สูงรวมฉัตร 39 ซ.ม. สร้างด้วยทองคำ ภายใต้ฉัตรปรุทอง 3 ชั้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระยศทหารและกองเสือป่า

  • พ.ศ. 2454: จอมพล จอมพลเรือ นายกองใหญ่แห่งกองเสือป่า[106][107][108][109][110]

พระราชสมัญญานาม

  • พระบิดาแห่งการลูกเสือไทย[111][112]
  • พระบิดาแห่งฟุตบอลไทย[113]

พงศาวลี

เชิงอรรถ


อ้างอิง

  1. "สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 158. 13 สิงหาคม ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. การก่อพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
  3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๖)
  4. ยูเนสโก ยกย่อง 20 บุคคลสำคัญของโลก
  5. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหามงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 17
  6. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 18
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศการรับพระสุพรรณบัตร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ, เล่ม ๕, ตอน ๕๐, ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๔๔๐
  8. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 19
  9. สุกัญญา ตีระวนิช. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการหนังสือพิมพ์ --: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์ กรุงเทพฯ, ISBN 974-7442-60-4
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๑๑, ตอน ๔๓, ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗, หน้า ๓๔๖
  11. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 20
  12. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 39
  13. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 21
  14. "การทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฐราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (22): 352–356. 28 สิงหาคม 2447. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ข่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทรงลาผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (39): 697–698. 25 ธันวาคม 2447. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 22
  17. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง, หน้า 23
  18. ""สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ในประวัติต้นรัชกาลที่ 6". ศิลปวัฒนธรรม. 2 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชพิธีบรมราชาภิเศก เฉลิมพระราชมณเฑียร, เล่ม 27, ตอนพิเศษ 0 ง, 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453, หน้า 41-42
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม 33, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม 33, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 219
  22. ณัฐนันท์ สอนพรินทร์. เจาะลึก สมาคมลับ กับการปฏิวัติโลก. กรุงเทพ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, พ.ศ. 2550. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7489-88-0
  23. ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
  24. เพลิง ภูผา. ย้อนรอยขบวนการยึดอำนาจ ปฏิวัติเมืองไทย. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เครือเถา, พ.ศ. 2550. 232 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8337-16-6
  25. การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในสมัยรัชกาลที่ 6, เรียกดูเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560
  26. เพราะเหตุใดไทยถึงเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1, เรียกดูเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560
  27. เล็ก พงษ์สมัครไทย, วาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ จอมพล สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ, นิตยสารต่วยตูนพิเศษ ฉบับที่ 395 เดือนมกราคม 2551 หน้า 91-98
  28. ชานันท์ ยอดหงษ์. นายใน สมัยรัชกาลที่ 6. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2560. 294 หน้า. หน้า หน้าที่ 96. ISBN 978-974-02-1088-7
  29. ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ 6
  30. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการป้องกันประเทศ. หอมรดกไทย กระทรวงกลาโหม.
  31. ประวัติหนังสือพิมพ์ไทย | หนังสือพิมพ์, เรียกดูเมื่อ 26 พฤษภาคม 2560
  32. โคลนติดล้อ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว
  33. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  34. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต, เล่ม 42, ตอน 0 ง, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2468, หน้า 2703
  35. ""วังรื่นฤดี" จุดเริ่มต้นของงานสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทย" (Press release). แนวหน้า. 7 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. หอมติดกระดาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:มติชน , 2553. หน้า 177
  37. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระวรกัญญาปทาน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี, เล่ม ๓๗, ตอน ๐ ก, ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๒๘๖
  38. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกการพระราชพิธีหมั้น, เล่ม ๓๗, ตอน ๐ ก, ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๓, หน้า ๔๓๕
  39. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน, เล่ม ๓๘, ตอน ง, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๓๐๒๑
  40. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาหม่อมเจ้าหญิงลักษมีลาวัณขึ้นเป็นพระองค์เจ้า, เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ก, ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๑
  41. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ, เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ก, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๒๐๕
  42. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 211
  43. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 212
  44. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน, เล่ม ๓๘, ตอน ง, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๒๑๓๒
  45. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี, เล่ม ๓๙, ตอน ๐ ก, ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕, หน้า ๕๖
  46. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระอิสริยยศ พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิศจี เป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี, เล่ม ๓๙, ตอน ๐ก, ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕, หน้า ๕๓๙
  47. พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณเป็นพระนางเธอ
  48. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 205
  49. บันทึกเรื่องพระราชพินัยกรรมรัชกาลที่ ๖ "ฉบับเต็ม"
  50. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 189
  51. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ว่าด้วยการที่จะออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๑๕๙
  52. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี, เล่ม ๔๒, ตอน ๐ ก, ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๘, หน้า ๑๙๑
  53. 53.0 53.1 53.2 เฉลิมพระชนมายุ 84 พรรษา สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
  54. ราชกิจจานุเบกษา, การสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่เจ้าฟ้าพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ที่ในพระบรมมหาราชวัง, เล่ม 42, ตอน 0 ง, 10 มกราคม พ.ศ. 2468, หน้า 3094
  55. 55.0 55.1 กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๑-๗. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2552, หน้า 234
  56. ข่าวสิ้นพระชนม์จาก F.M.100.5 NewsNetwork ทางทวิตเตอร์
  57. แถลงการณ์สำนักพระราชวัง “เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ” สิ้นพระชนม์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นข้อมูลวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
  58. ประวัติโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  59. 59.0 59.1 59.2 ปรินส์ รอยแยลส์ ความหมายลึกซึ้งกว่า 100 ปี. ผู้จัดการ 360°. สืบค้น 6-12-2553.
  60. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ วางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ก, ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๙๕
  61. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ประวัติจุฬาฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 26 มีนาคม 2550. http://www.chula.ac.th/about/history (7 กรกฎาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  62. ราชกิจจานุเบกษา. “พระบรมราโชวาท ในการพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๓.” เว็บไซต์ Ratchakitcha. 25 ตุลาคม 2473. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/2803.PDF (1 พฤษภาคม 2560 ที่เข้าถึง)
  63. 63.0 63.1 Wendell Blanchard (1974). Thailand, Its People, Its Society, Its Culture.
  64. สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า: พระราชกรณียกิจ, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  65. จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. เกิดวังปารุสก์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ River Books, 2493. หน้า หน้าที่ 56. ISBN 974-8225-22-4
  66. ราชกิจจานุเบกษา, การเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, เล่มที่ 31, หน้า 560,วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457.
  67. ประวัติสถานเสาวภา, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  68. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๔ / เรื่องที่ ๗ รถไฟ / ประวัติการรถไฟในประเทศไทย, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  69. "ร.๖ จ้างรัฐบาลให้เลิกมอมเมาประชาชน" (Press release). ผู้จัดการ. 23 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พุทธศักราช ๒๔๕๖, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ก, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๓
  71. แรกใช้พุทธศักราชในสยาม - หอจดหมายเหตุ อัคร สังฆมณฑล กรุงเทพฯ, เรียกดูเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560
  72. ไทยเริ่มนับเวลาแบบสากลครั้งแรกเมื่อใด จาก Mcot
  73. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ พุทธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๓๘ (พระบรมราชโองการนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2459 ซึ่งถ้านับตามปฏิทินปัจจุบันแล้วจะตรงกับ พ.ศ. 2460)
  74. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐, เล่ม ๓๔, ตอน ๐ก, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐, หน้า ๔๓๖
  75. อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น พระราชกรณียกิจสำคัญในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม ๖ องค์การค้าคุรุสภา ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์, ๒๕๑๒ เรื่อง "เหตุที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนธงชาติ". (บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ "วชิราวุธานุสรณ์ ๒๔๙๖" พิมพ์ที่โรงพิมพ์รวมมิตรไทยเมื่อ พ.ศ. 2496)
  76. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๖)
  77. โขนสมัยรัตนโกสินทร์ - กรมศิลปากร, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  78. ร้อยเรื่องเมืองไทย: วรรณคดีสโมสร, บุคคลสำคัญของโลกชาวไทย, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  79. วัฒนธรรมตามแบบตะวันตกสมัยรัชกาลที่ 6, วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557
  80. ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 (ปกแข็ง). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, 2555. หน้า หน้าที่ 76. ISBN 9789740210054
  81. ราม วชิราวุธ. ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 (ปกแข็ง). กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, 2555. หน้า หน้าที่ 80. ISBN 9789740210054
  82. "ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1" (Press release). Eduzones. 7 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  83. ตรี อมาตยกุล, อนุสาวรีย์วีรชนไทย, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ, 2520, หน้า 58-60
  84. เตรียมปรับปรุงภูมิทัศน์ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.6‏ สวนลุมฯ ผู้จัดการออนไลน์, เรียกดูเมื่อ 30 พฤษภาคม 2560
  85. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (23 พฤศจิกายน 2530). สูจิบัตรเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2530. สูจิบัตร , หน้า 1-39.
  86. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วชิราวุธวิทยาลัย, เรียกดูเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560
  87. กรมศิลป์ฯเร่งบูรณะพระที่นั่ง'ปาฏิหาริย์ทัศไนย'สมัย ร.6, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
  88. กรมศิลป์บูรณะพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยสมัย ร.6 อายุ 99 ปี, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
  89. สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล,พระราชวังพญาไท ตอน : พระที่นั่งพิมานจักรี จาก เว็บไซต์สนุกดอตคอม
  90. "กองทัพเรือวางพวงมาลารัชกาลที่ 6 เนื่องวันคล้ายวันสวรรคต" (Press release). ไทยรัฐ. 25 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  91. ประวัติโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย, เรียกดูเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560
  92. พิธีเจริญพระพุทธมนต์เนื่องในงานฉลอง 50 ปี แห่งการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน ถนนพหลโยธิน
  93. พระบรมราชาอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค่ายหลวงบ้านไร่), เรียกดูเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560
  94. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ย้ายโรงเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ง, ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๕
  95. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ วางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง, เล่ม ๔๓, ตอน ๐ก, ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๙๕
  96. พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทไทย, เรียกดูเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560
  97. ประวัติความเป็นมา | หอวชิราวุธานุสรณ์, เรียกดูเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560
  98. สนเทศน่ารู้  : พระราชลัญจกรประจำรัชกาล, สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  99. "พระพุทธรูป ประจำพระชนมวาร" (Press release). ข่าวสด. 25 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2560. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  100. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๐, ตอน ๒๗, ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๔๔๕
  101. The London Gazette, [1]
  102. ราชกิจจานุเบกษา, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประเทศอิตาลี], เล่ม ๑๙, ตอน ๒๒, ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๕, หน้า ๔๔๙
  103. ราชกิจจานุเบกษา, พระเจ้าแผ่นดินกรุงสเปญพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์แก่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๑๙, ตอน ๑๐,๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕, หน้า ๑๖๖
  104. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จเมืองปารีศ, เล่ม ๑๙, ตอน ๔๓, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๕, หน้า ๘๓๓
  105. ราชกิจจานุเบกษา, อรรคราชทูตเยอรมันเฝ้า ทูลเกล้าถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อรรคราชทูตอิตาลี แลราชทูตเบลเยียม เฝ้าทูลเกล้า ฯ ถวายพระราชสาส์น, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๒๑๕๙
  106. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/1945.PDF
  107. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/1946.PDF
  108. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/1951.PDF
  109. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/1953.PDF
  110. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/A/21.PDF
  111. http://www.mahachaicabletv.com/106-%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
  112. http://www.lib.ru.ac.th/journal/royal6.html
  113. https://www.fourfourtwo.com/th/features/phiphithphanthkhnafutblaehngsyaam-nusrnsthaan-100-piithiimchaatiaithy

บรรณานุกรม

  • สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้ากรุงสยาม (บางตอน) และพระราชนิพนธ์อันเป็นสุดที่รัก เรื่อง พระนล คำหลวง -- : สำนักพิมพ์จดหมายเหตุ, ISBN 974-91328-6-3
  • รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2460, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2461 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2461, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2462 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2462, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2463 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2463, โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง, พ.ศ. 2464 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2464, โรงพิมพ์กรมรถไฟแผ่นดิน, พ.ศ. 2465 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • รายงานประจำปี กรมรถไฟหลวง พ.ศ. 2467, , โรงพิมพ์กรมรถไฟแผ่นดิน, พ.ศ. 2468 (เก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • เพื่อระฦกถึงพระคุณพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พ.ศ. 2480
  • ที่ระลึกสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ สวนลุมพินี พ.ศ. 2468 โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2550 (Reprint จากฉบับพิมพ์โรงพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ พ.ศ. 2470)
  • จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาคต้น พิมพ์โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพ 2537
  • จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับปี ค.ศ. 1925 (เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, ประวัติต้นรัชกาลที่ 6, สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2545
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, จดหมายเหตุรายวัน ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นปีที่ ๑๔ ในรัชกาล, มานวสาร ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม
(23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(27 มีนาคม พ.ศ. 2449 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450)
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
สยามมกุฎราชกุมาร
(4 มกราคม พ.ศ. 2437 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร