พระมหาธรรมราชาที่ 4
พระมหาธรรมราชา | |
---|---|
พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง | |
ผู้ครองเมืองพิษณุโลก | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 1962 - 1981 |
ราชาภิเษก | พ.ศ. 1962 |
ก่อนหน้า | เจ้าสามพระยา |
ถัดไป | สมเด็จพระราเมศวรเจ้า |
พระราชบุตร | พระยายุทธิษฐิระ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์พระร่วง |
พระราชบิดา | พระมหาธรรมราชา |
พระราชมารดา | แม่นางษาขา |
สวรรคต | พ.ศ. 1981 |
พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือ บรมปาล หรือ พระยาบาลเมือง เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาพระองค์หนึ่ง[ก] ได้ครองเมืองพิษณุโลกในระหว่างปี พ.ศ. 1962-1981 นับเป็นพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระร่วงที่ได้ครองเมืองพิษณุโลก[1]
พระราชประวัติ[แก้]
พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง | |
---|---|
![]() | พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ |
![]() | พ่อขุนบานเมือง |
![]() | พ่อขุนรามคำแหง |
![]() | พระยาเลอไทย |
![]() | พระยางั่วนำถุม |
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ | |
![]() | พระมหาธรรมราชาที่ ๒ |
![]() | พระมหาธรรมราชาที่ ๓ |
![]() | พระมหาธรรมราชาที่ ๔ |
พระยาบาลเมืองเป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชากับแม่นางษาขา มีพระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งเป็นพระราชเทวีในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2[2]
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าเมื่อพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกสวรรคตในปี พ.ศ. 1962 หัวเมืองเหนือเกิดจลาจลเพราะพระยาบาลเมืองและพระยารามแห่งสุโขทัยแย่งชิงอำนาจกัน สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาจึงเสด็จมาเมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทั้งพระยาบาลเมืองและพระยารามทรงทราบก็เสด็จออกมาถวายบังคม เมื่อสมเด็จพระอินทราชาเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงโปรดให้เจ้าสามพระยามาครองกรุงพิษณุโลก[3]
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีก หมายเลข 2/ก 104 ระบุว่าเมื่อเจ้าสามพระยาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ขณะนั้นพระยาบาลเมืองเจ้าเมืองพิษณุโลกได้ลงมาเข้าเฝ้า จึงพระราชทานสุพรรณบัฏเครื่องราชูปโภคและเฉลิมพระนามเป็นมหาธรรมราชาธิราช มีการมหรสพเฉลิมฉลองที่เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยารามราช พระยาเชลียง และพระยาแสนสอยดาว มาช่วยงานด้วย[2]
การสวรรคตและสิ้นสุดอาณาจักรสุโขทัย[แก้]
พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าพระราชโอรสไปครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 1981[4] จึงสันนิษฐานว่าพระมหาธรรมราชาที่ 4 อาจสวรรคตในปีนี้ นับแต่นั้นราชวงศ์สุพรรณภูมิก็ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาอีกหลายสมัยและอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยาก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[5]
หมายเหตุ[แก้]
ก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 3[6] แต่ประเสริฐ ณ นคร สันนิษฐานว่าเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 2[1]
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 43
- ↑ 2.0 2.1 ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์, หน้า 175-176
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 50
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 395
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 69
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1, หน้า 214
- บรรณานุกรม
- วินัย พงศ์ศรีเพียร, บรรณาธิการ. ความยอกย้อนของประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย, 2539. 329 หน้า. ISBN 978-777-1-97-7
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2534. 370 หน้า. ISBN 978-417-144-8
ก่อนหน้า | พระมหาธรรมราชาที่ 4 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าสามพระยา | ![]() |
ผู้ครองเมืองพิษณุโลก (พ.ศ. 1967 - พ.ศ. 1981) |
![]() |
สมเด็จพระราเมศวรเจ้า |
|