รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช
มหาราช (อังกฤษ: The Great) เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม
ประวัติ[แก้]
สมัญญานาม "มหาราช" สันนิษฐานว่ามาจาก "มหาราชา" ของเปอร์เซีย โดยสมัญญานาม "มหาราช" นี้ถูกใช้ครั้งแรกโดยกษัตริย์ผู้พิชิต พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย[1]
หลังจากนั้น สมัญญานามดังกล่าวถูกนำไปใช้โดย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอน เมื่อกองทัพของพระองค์ยึดครองจักรวรรดิเปอร์เซีย และฉายานี้ก็ได้กลายเป็นตำแหน่งคู่กายของพระองค์ การอ้างอิงถึงในครั้งแรกในละครของพลอตัสได้สันนิษฐานว่าทุกคนรู้จัก "พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช"[2] อย่างไรก็ตาม ไม่เคยปรากฏหลักฐานก่อนหน้านั้นว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอนเคยได้รับฉายาว่า "มหาราช"
ต่อมา กษัตริย์ของจักรวรรดิซิลูซิดในช่วงต้น ซึ่งเป็นจักรวรรดิที่เกิดขึ้นภายหลังจักรวรรดิเปอร์เซีย ได้ใช้สมัญญานาม "มหาราช" ในพงศาวดารท้องถิ่น แต่กษัตริย์ที่มักจะเป็นที่รู้จักกัน คือ พระเจ้าแอนไทโอคัสมหาราช
ผู้นำและผู้บัญชาการทหารในเวลาต่อมาได้เริ่มใช้สมัญญานาม "มหาราช" ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น แม่ทัพปอมปีย์มหาราชชาวโรมัน ซึ่งใช้เป็นชื่อส่วนตัว ส่วนอีกหลายคนหรือพระองค์ได้รับสมัญญานามนี้ในภายหลัง เมื่อสมัญญานามนั้นได้นำไปใช้ในปัจจุบัน และยังมีผู้ที่ได้รับฉายาที่ให้เกียรตินี้ ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีอำนาจทางการเมือง อย่างเช่น นักปราชญ์ อัลเบอร์ตัส แม็กนัส เป็นต้น
รายพระนาม[แก้]
ต่างประเทศ[แก้]
- พระเจ้าไทกราเนสมหาราช อาร์มีเนีย
- ซาร์กอนมหาราช จักรวรรดิอัคคาเดียน
- ฮัมมูราบีมหาราช บาบิโลเนียเก่า
- อัสเชอร์บานิปาลมหาราช อัสซีเรีย
- เนบูคัสเนสซามหาราช บาบิโลเนียใหม่
- พระเจ้าไซรัสมหาราช เปอร์เซีย
- พระเจ้าซาห์อับบาสที่ 1 เปอร์เซีย
- พระเจ้าดาไรอัสมหาราช เปอร์เซีย
- พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช เปอร์เซีย
- อเล็กซานเดอร์มหาราช มาซิโดเนีย
- สุลัยมานมหาราช ออตโตมัน
- พระเจ้าซาปูร์มหาราช ซัดซานิด
- มิธริเดติสมหาราช ปาร์เทียน
- จักรพรรดิออกัสตัส โรมัน
- จักรพรรดิทราจัน โรมัน
- คอนสแตนตินมหาราช ไบแซนไทน์
- จัสตินเนี่ยนที่ 1 มหาราช ไบแซนไทน์
- พระเจ้าอัลฟอนโซมหาราช สเปน
- พระเจ้าคานูทมหาราช อังกฤษ, เดนมาร์ก, นอร์เวย
- พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช อังกฤษ
- พระเจ้าฟรีดริชมหาราช ปรัสเซีย
- จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1
- แคทเธอรีนมหาราชินี รัสเซีย
- ปีเตอร์มหาราช รัสเซีย
- ฟาโรห์รามเสสที่สอง อียิปต์
- พระเจ้าเซจงมหาราช เกาหลี
- พระเจ้ากวางแกโตมหาราช เกาหลี
- พระเจ้าอวี่ ราชวงศ์เซี่ย จีน
- จิ๋นซีฮ่องเต้ ราชวงศ์ฉิน จีน
- จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น จีน
- จักรพรรดิถังไท่จง ราชวงศ์ถัง จีน
- จักรพรรดิซ่งไท่จู่ ราชวงศ์ซ่งเหนือ จีน
- จักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิง จีน
- จักรพรรดิเฉียนหลง ราชวงศ์ชิง จีน
- เจงกิสข่าน จักรวรรดิมองโกล มองโกเลีย
- จักรพรรดิเมจิ จักรวรรดิญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
- อัคบาร์มหาราช จักรวรรดิโมกุล อินเดีย
- พระเจ้าอโศกมหาราช อินเดีย
- กนิษกะมหาราช อินเดีย
- อาร์หมัดมหาราช อัฟกานิสถาน
- พาคัลมหาราช มายา
- ม็อคเตซูมามหาราช แอซเท็ค
- พาชาคูติมหาราช อินคา
- ชาห์เรซามหาราช[3][4] อิหร่าน
- พระเจ้าคาเมฮาเมฮามหาราช ฮาวาย
ประเทศไทย[แก้]
- พ่อขุนรามคำแหงมหาราช[5]
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช[5]
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช[5]
- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[5]
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[5]
- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช)[5]
- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระปิยมหาราช)[5]
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (สมเด็จพระภัทรมหาราช)[6]
ในดินแดนไทย[แก้]
- พระเจ้าพรหมมหาราช โยนกเชียงแสน
- พญามังรายมหาราช ล้านนา
- พระเจ้าติโลกราช ล้านนา
อาเซียน[แก้]
- พระเจ้าอโนรธามังช่อ ราชวงศ์พุกาม พม่า
- พระเจ้าบุเรงนอง ราชวงศ์ตองอู พม่า
- พระเจ้าอลองพญา ราชวงศ์โก้นบอง พม่า
- พระเจ้าฟ้างุ้ม ราชวงศ์ล้านช้าง ลาว
- สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ราชวงศ์ล้านช้าง ลาว
- พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ราชวงศ์วรมัน กัมพูชา
- พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราชวงศ์วรมัน กัมพูชา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ In a clay cylinder (online). Note that the expression was used in a propagandistic context: the conqueror wants to show he is a normal Babylonian ruler. The first Persian ruler to use the title in an Iranian context was Darius I of Persia (Darius the Great), in the Behistun Inscription (online).
- ↑ Plautus, Mostellaria 775.
- ↑ http://www.iranchamber.com/history/reza_shah/reza_shah.php
- ↑ Iranian parliament named him Rezā Shāh Kabir (Reza Shah the Great) in 1948, after his death. However, this became almost obsolete after the 1979 revolution.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม ๒. (เฉพาะรัชกาลก่อน)
- ↑ พระราชสมัญญานาม “มหาราช”. พระบรมเดชานุภาพแห่งรัชกาลที่ 9.