สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร | |
---|---|
![]() |
|
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2301 |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
ถัดไป | สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ |
ราชวงศ์ | บ้านพลูหลวง |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
พระราชมารดา | กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) |
สวรรคต | พ.ศ. 2339 มัณฑะเลย์ ประเทศพม่า |
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชพงศาวดารพม่าเรียก สุรประทุมราชา)[1] เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 32 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และมีพระสมัญญานามว่า ขุนหลวงหาวัด
เนื้อหา
พระราชประวัติ[แก้]
ก่อนครองราชย์[แก้]
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร มีพระนามเดิมว่าเจ้าฟ้าอุทุมพร ราษฎรเรียกว่าเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ[2] เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อันประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) ในคำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่าพระองค์มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา 7 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าประชาวดี เจ้าฟ้าประภาวดี เจ้าฟ้าพินทวดี เจ้าฟ้ากษัตรีย์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) เจ้าฟ้าจันทรวดี และเจ้าฟ้านุ่ม[3]
เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2276 ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพรพินิต[2] หลังจากเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สวรรคตในปี พ.ศ. 2298 แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมิได้ทรงสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใดขึ้นแทน จนถึงปี พ.ศ. 2300 กรมหมื่นเทพพิพิธจึงปรึกษากับเจ้าพระยาอภัยราชา พระยากลาโหม และพระยาพระคลัง แล้วกราบทูลขอให้สถาปนาเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แม้กรมขุนพรพินิตจะปฏิเสธเพื่อถวายตำแหน่งแด่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า "กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้น มีวิสัยพระทัยปราศจากความเพียร ถ้าให้ดำรงฐานาศักดิ์อุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่ง จะเกิดวิบัติฉิบหายเสีย เห็นแต่กรมขุนพรพินิจ กอปด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาด ควรจะดำรงเศวตรฉัตรรักษาแผ่นดินได้" จึงทรงตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล[4] แต่เจ้าฟ้าอุทุมพรยังคงประทับ ณ พระตำหนักสวนกระต่ายในพระราชวังหลวงดังเดิม[5]
ครองราชย์[แก้]
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคต กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี ได้เตรียมกองกำลังจะก่อกบฏ แต่เมื่อพระเจ้าอุทุมพรทรงส่งพระราชาคณะ 5 รูป คือ พระเทพมุนี พระพุทธโฆษาจารย์ พระธรรมอุดม พระธรรมเจดีย์ และพระเทพกวี ไปเกลี้ยกล่อมก็กลับพระทัยมาถวายสัตย์ แต่หลังจากอัญเชิญพระบรมศพประดิษฐาน ณ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ พระเจ้าอุทุมพรก็ให้วางกำลังดักรอที่พระตำหนักตึก จับเจ้าสามกรมไปสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 6 แล้วตั้งการปราบดาภิเษก ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 7[6] ทรงครองราชย์ได้เพียง 10 วัน ก็ถวายราชสมบัติแด่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ถึงข้างขึ้นเดือน 7 ก็เสด็จด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารคไปผนวชที่วัดเดิม แล้วย้ายไปประทับ ณ วัดประดู่
หลังเสียกรุงศรีอยุธยา[แก้]
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้าอุทุมพร ได้ถูกกวาดต้อนไปที่พม่าพร้อมด้วยเจ้านายและเชลยชาวไทยอื่น ๆ โดยทางพม่าได้ให้สร้างหมู่บ้านอยู่รอบเมืองมัณฑะเลย์ และพระองค์ได้เป็นผู้ให้ปากคำเรื่องประวัติศาสตร์อยุธยาแก่พม่า ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ในปัจจุบัน หมู่บ้านดังกล่าวนี้ก็ยังคงมีอยู่ มีชื่อว่า "เมงตาสึ" แปลว่า "เยี่ยงเจ้าชาย" และก็ยังคงมีหลักฐานปรากฏถึงวัฒนธรรมไทยอยู่ เช่น ประเพณีการขนทรายเข้าวัดในวันสงกรานต์ หรือการตั้งศาลบูชาพ่อปู่ หรือ หัวโขน เป็นต้น แม้ผู้คนในหมู่บ้านนี้จะไม่สามารถพูดไทยหรือมีวัฒนธรรมไทยเหลืออยู่แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นที่รับรู้กันว่าบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นเชลยมาจากไทย ปัจจุบันคนไทยกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า "โยเดีย" (Yodia) ตามพงศาวดารพม่าสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสวรรคตในขณะทรงเป็นบรรพชิต ใน พ.ศ. 2339
สถูปบรรจุพระบรมอัฐิ[แก้]
ปี พ.ศ. 2540 มีข่าวว่าพบพระบรมสถูปบรรจุพระบรมอัฐิของพระเจ้าอุทุมพร บริเวณสุสานล้านช้าง อมรปุระ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ไม่ไกลจากสะพานไม้สักอูเบ็ง ข้อสันนิษฐานเกิดจากการพิจารณารูปพรรณสัณฐานไม่ได้ว่าเป็นแบบมอญ หรือพม่า คนเฒ่าคนแก่ในย่านนั้นก็เรียกสถูปนี้ว่า "โยเดียเซดี" (Yodia Zedi) แปลว่า สถูปอยุธยา แต่ทว่า ข้อห้ามของทางการพม่าที่ไม่ให้ขุดค้นหลักฐานโบราณคดีในสถูป ทำให้กลายเป็นข้อสันนิษฐานที่รอการพิสูจน์ทางโบราณคดี[7] ต่อมา รัฐบาลพม่าได้อนุมัติให้คณะทำงานโครงการขุดค้นทางโบราณคดีของไทยร่วมกับนักโบราณคดีพม่าเข้าพื้นที่บริเวณสุสานเพื่อร่วมกันค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถูปดังกล่าว[8] เมื่อสำรวจพบว่าไม่มีสิ่งใดบรรจุอยู่ในสถูป แต่ไปพบอัฐิธาตุซึ่งบรรจุอยู่ในโกศซึ่งมีลักษณะคล้ายบาตร อยู่บนพานแว่นฟ้าที่บริเวณสถูปตรงข้ามกันกับสถูปที่สันนิษฐานไว้
พงศาวลี[แก้]
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
||||||||||||
|
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
พระราชเทวีสิริกัลยาณี | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
||||||||||||
|
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
พระแสนเมือง | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
||||||||||||
|
พระนางกุสาวดี |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|||||||||
|
ไม่ปรากฎพระนาม | |||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
||||||||||||
|
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
ไม่ปรากฎพระนาม |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
นายจบคชประสิทธิ์ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
|
กรมหลวงพิพิธมนตรี |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|||
|
ไม่ปรากฏนาม สตรีชาวบ้านสมอปรือ |
|
||||||||||||||
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
||||||
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. พระราชพงศาวดารพม่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550, หน้า 1136
- ↑ 2.0 2.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 172
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 624
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 367
- ↑ นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 173
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 370
- ↑ นักวิชาการเสนอย้ายสถูปสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรในพม่าออกจากพื้นที่เดิม
- ↑ พม่าเปิดทางไทยส่งนักโบราณคดี ขุดค้นสถูปพระเจ้าอุทุมพร
- บรรณานุกรม
- พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ (บรรณาธิการ). เล่าเรื่อง...เฉกอะหมัด ต้นสกุลบุนนาค จากเอกสารพิมพ์ดีด ๒๔๘๒. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2553.
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9
- มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา, 2554. 264 หน้า. ISBN 978-616-7308-25-8
- พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. 2455.
- เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)
ดูเพิ่ม[แก้]
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) |
![]() |
![]() พระเจ้ากรุงอยุธยา (ราชวงศ์บ้านพลูหลวง) (พ.ศ. 2301) |
![]() |
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พ.ศ. 2301 - 2310) |
|
|
|