พระมหาธรรมราชาที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหาธรรมราชาที่ 2
พระมหากษัตริย์สุโขทัย[1]
ครองราชย์พ.ศ. 1911–1942[1]
ก่อนหน้าพระมหาธรรมราชาที่ 1
ถัดไปพระมหาธรรมราชาที่ 3
พระราชสมภพพ.ศ. 1901[1]
อาณาจักรสุโขทัย
สวรรคตพ.ศ. 1952[1]
อาณาจักรสุโขทัย
อัครมเหสีสมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
พระราชบุตรสมเด็จรามราชาธิราช
ศรีธรรมาโศกราช
ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระมหาธรรมราชาที่ 1
พระราชมารดาสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา
ศาสนาพุทธ
พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
พ่อขุนบานเมือง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระยาเลอไทย
พระยางั่วนำถุม
พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระมหาธรรมราชาที่ 2
พระมหาธรรมราชาที่ 3
พระมหาธรรมราชาที่ 4

พระมหาธรรมราชาที่ 2 (พ.ศ. 1901–1952)[1] เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยในราชวงศ์พระร่วง[1] ครองราชย์ พ.ศ. 1911–1942 แล้วจึงออกผนวชจนสวรรคตใน พ.ศ. 1952[1] โม พรมบุญ

พระราชประวัติ[แก้]

พระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 ประสูติใน พ.ศ. 1901[1] และครองราชสมบัติใน พ.ศ. 1911[1] เป็นพระราชโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) กับสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา ได้ศึกษาจนจบศิลปศาสตร์ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา ทรงขยายพระราชอาณาเขตไปอย่างกว้างขวาง[2]

พระอัครมเหสีของพระองค์คือสมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ มีพระราชโอรสด้วยกัน 2 พระองค์ พระองค์ใหญ่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จรามราชาธิราช ส่วนพระองค์รองมีพระนามว่าศรีธรรมาโศกราช[3]

ใน พ.ศ. 1912 พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงส่งพระมหาสุมนเถระไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่อาณาจักรล้านนาตามที่พญากือนาทรงขอมา[4] ถึง พ.ศ. 1921 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายสุโขทัยต้านทานไม่ได้ พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมออกจากเมืองมาถวายบังคม[5] สมเด็จพระบรมราชาธิราชโปรดให้ครองกรุงสุโขทัยต่อไปในฐานะประเทศราช ถึง พ.ศ. 1931 จึงกลับเป็นเอกราชได้ และขยายอาณาเขตกว้างขวางขึ้นดังปรากฏว่าใน พ.ศ. 1939 อาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตครอบคลุมถึงน่าน หลวงพระบาง นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ เชียงแสน เป็นต้น[1]

ต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 ออกผนวชที่ทุ่งชัย[6] พระราชเทวีจึงสำเร็จราชการแทนและเตรียมจะให้พระรามราชาธิราชขึ้นครองราชย์ แต่ในปี พ.ศ. 1943 พญาไสยลือไทยก็ได้ชิงปราบดาภิเษกเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 3 เสียก่อน หลังจากนั้น พระมหาพญาลือไทย ครองสมณเพศ จนถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ. 1952[1]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 37)
  2. "จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ ๒". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 1942. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "จารึกวัดบูรพาราม ด้านที่ ๑". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011, p. 38)
  5. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 44
  6. "จารึกวัดอโสการาม ด้านที่ 1". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 1942. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
บรรณานุกรม
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. ISBN 9786167308258.
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9

ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า พระมหาธรรมราชาที่ 2 ถัดไป
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) พระมหากษัตริย์ไทย
(พ.ศ. 1911–1942)
พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไทย)